ขยายผลปฏิรูปเรียนพุทธใช้สติ-สมาธิเป็นฐาน
สติเป็นตัวสร้างกำแพงป้องกันกิเลส รักษาจิต สติสมาธิทำให้จิตมีความสงบ เด็กมีความนุ่มนวล จึงมีวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมให้เกิด 5 ประการคือ สติ เมตตา สุจริต เคารพ สัจจะ ให้เกิดความเหมาะสมกับเด็กแต่ละช่วงชั้น http://winne.ws/n26892
วันที่ 18 กุภาพันธ์ พ.ศ.2563 พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณาาชวิทยาลัย(มจร) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนการสอนพระพุทธศาสนา และรองประธานคณะกรรมการปฏิรูปการสอนพระพุทธศาสนาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำโครงสร้างรายวิชาพระพุทธศาสนาและกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีสติและสมาธิเป็นฐาน ภาคเรียนที่1 และ 2 ชั้นป.2 ป.3 ป.5 ป.6 และ ม.3 ระหว่างวันที่ 17-19 ก.พ.ที่โรงแรมรอแยลรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร
พระมหาหรรษาได้บรรยายพิเศษถึงที่มากรอบคิดการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้ที่มีสติและสมาธิเป็นฐาน เส้นทางการเรียนรู้ (Mindstone) แห่งการเรียนรู้ที่มีสติและสมาธิเป็นฐานและ (Timeline) การทำงาน การปฏิรูปการเรียนการสอนพระพุทธศาสนาในสถานศึกษาโดยมีสตสมาธิเป็นฐานนั้น ได้เริ่มดำเนินการแล้วในระดับป.1 ป.4 ม.1และม.4 การประชุมครั้งนี้ เพื่อออกแบบหลักสูตรในชั้นป.2 ป.3 ป.5 ป.6 และ ม.3 ซึ่งจะเริ่มในปีการศึกษาต่อไป
พระมหาหรรษา กล่าวต่อไปว่า การออกแบบหลักสูตต้องคำนึงในยุคดิจิทัลลักษณะ "เร็ว แรง ไว" เพราะเด็กเป็นยุคดิจิทัล คนจัดหลักสูตรต้องเข้าใจความเป็นดิจิทัล การออกแบบหลักสูตรจะต้องสอดรับกับเด็กในยุคปัจจุบันที่สุด สติและสมาธิจึงต้องเป็นฐานของทุกวิชาที่เด็กเรียน ต้องมีการบูรณาการ จะต้องเปลี่ยนชีวิตเด็กทั้งชีวิต สติสมาธิเปลี่ยนโครงสร้างของสมอง ทำไมจะต้องมีสติ เพราะสติสามารถควบคุมทุกอย่างในชีวิต ผู้ออกแบบหลักสูตรจะต้องปฏิบัติด้านสติและสมาธิ จึงจะมีความลึกซึ้ง สติเป็นตัวสร้างกำแพงป้องกันกิเลส รักษาจิต สติสมาธิทำให้จิตมีความสงบ เด็กมีความนุ่มนวล จึงมีวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมให้เกิด 5 ประการคือ สติ เมตตา สุจริต เคารพ สัจจะ ให้เกิดความเหมาะสมกับเด็กแต่ละช่วงชั้น จะต้องมีการวางวิสัยทัศน์แต่ละหน่วยการเรียนรู้
อ่านต่อที่ https://www.banmuang.co.th