นักชีวโมเลกุลเจ้าของรางวัลโนเบลยืนยันว่าการเจริญสติอย่างต่อเนื่องช่วยรักษาโรค, ชะลอวัย,อายุยืน
Prof. Elizabeth Blackburn, Ph.D. นักชีวโมเลกุลได้รับรางวัลโนเบลจากการค้นพบเอนไซม์ทีโลเมอร์เรสยืนยันว่าการเจริญสติอย่างต่อเนื่องมีผลต่อร่างกายในระดับเซลล์ ช่วยรักษาโรค ชะลอวัย และทำให้อายุยืน http://winne.ws/n17614
Prof. Elizabeth Blackburn, Ph.D. นักชีวโมเลกุลได้รับรางวัลโนเบลจากการค้นพบเอนไซม์ทีโลเมอร์เรสยืนยันว่าการเจริญสติอย่างต่อเนื่องมีผลต่อร่างกายในระดับเซลล์ ช่วยรักษาโรค ชะลอวัย และทำให้อายุยืน
ปัจจุบันนี้ มีงานวิจัยที่น่าสนใจ และเป็นที่กล่าวขวัญกันอย่างมากในหมู่นักวิจัยเรื่องคนสูงอายุก็คือเรื่องของหน่วยพันธุกรรมของคนเรา ที่เรียกว่า “โครโมโซม” ซึ่งเป็นตัวควบคุมลักษณะทางร่างกายและการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย
โครโมโซมมี 23 คู่ 46 อัน เราลองนำเอามา 1 คู่มาดูดังภาพ จะเห็นว่า 1 คู่มี 2 อันเชื่อมติดกัน ตรงปลายสายโครโมโซม จะมีลักษณะคล้ายหมวกคลุมอยู่ (สีแดงในภาพ) เรียกว่า ทีโลเมียร์ (Telomere) เวลาเซลแบ่งตัว เจริญเติบโตขึ้นทุกๆ ปี ทีโลเมียร์จะสั้นลง
ในคนหนุ่มสาวทีโลเมียร์จะยาวกว่าคนสูงอายุ ทีโลเมียร์จะเป็นตัวป้องกันปลายสายโครโมโซมต่ออนุมูลอิสระต่างๆ ที่จะมาทำลาย ถ้าไม่มีตัวนี้ปลายสายจะบานออก และจะเชื่อมติดกับปลายสายอันอื่น ทำให้สูญเสียหน้าที่และแตกสลายไป
ทีโลเมียร์เปรียบเหมือนปลอกพลาสติกที่หุ้มปลายเชือกผูกรองเท้า ซึ่งช่วยป้องกันไม่ให้ปลายบานออก เวลาสนปลายเชือกเข้ากับรูของรองเท้าก็จะสะดวกง่ายดาย แต่ถ้าไม่มีปลอกพลาสติกหุ้ม ปลายสายเชือกจะบานออก ก็จะใช้งานไม่ได้
ทีโลเมียร์ที่สั้นลงหมายความว่า อายุของเราก็สั้นลงด้วย
แต่ธรรมชาติก็สร้างเอนไซม์ตัวหนึ่งที่จะมาช่วยให้ดำรงสภาพความยาวของทีโลมียร์เอาไว้ เรียกว่า เอนไซม์ทีโลเมอร์เรส (Telomerase) เอนไซม์ตัวนี้ช่วยทำให้ทีโลเมียร์ไม่สั้นลงเร็วเกินไป เซลปกติแบ่งตัวแต่ละครั้งมันจะสั้นลงบ้าง จำนวนครั้งของการแบ่งตัวก็มีจำกัด นั่นหมายความว่าถ้าเอนไซม์ตัวนี้ทำงานได้ดี เราก็จะมีอายุยืน แต่ถ้าเอนไซม์ตัวนี้ทำงานได้น้อยลง อายุเราก็จะสั้นลง
ผู้ที่ค้นพบเอนไซม์ตัวนี้ คือ ดร.อลิซาเบท แบล็คเบิร์น (Elizabeth Blackburn) เธอเป็นศาสตราจารย์ด้านชีวโมเลกุล
อยู่ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานฟรานซิสโก (UCSF) จากผลงานการค้นคว้าเรื่องนี้ เธอและคณะได้รับรางวัลโนเบล สาขาสรีรวิทยาทางการแพทย์ในปี 2009
งานวิจัยของ ดร. แบล็คเบิร์นพบอีกว่า ภาวะทีโลเมียร์สั้นลงมีความสัมพันธ์กับโรคต่างๆ คือ โรคมะเร็ง โรคติดเชื้อ โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ภาวะดื้อต่ออินซูลินภาวะสมองเสื่อม โรคอ้วน และในภาวะความเครียดเรื้อรัง
ในเซลล์ปกติ ความสามารถในการแบ่งตัวของเซลล์ จะถูกจำกัดโดยความยาวของทีโลเมียร์ พบว่า ทีโลเมียร์จะสั้นลงทุกครั้งที่เซลล์แบ่งตัว และเมื่อมีการแบ่งตัวหลายๆ ครั้งจนทีโลเมียร์สั้นถึงระดับหนึ่งแล้วเซลล์ก็จะตายลง
ในเซลล์มะเร็งมันสามารถจะแบ่งตัวได้โดยไม่จำกัด มากกว่าร้อยละ 90 ของเซลล์มะเร็งจะมีการสร้างและการทำงานของเอนไซม์ทีโลเมอร์เรสผิดปกติ เราสามารถตรวจพบในชิ้นเนื้อที่เป็นมะเร็ง และในเซลล์ที่เผชิญกับสารอนุมูลอิสระ ทีโลเมียร์จะสั้นลงเร็วกว่าเซลล์ปกติ
ดร.อลิซาเบท แบล็คเบิร์น ได้ทำการศึกษาทดลองโดยให้อาสาสมัคร 30 คนฝึกเจริญสติในสถานที่ฝึกสมาธิในรัฐโคโลราโด วันละ 6 ชั่วโมง นานต่อเนื่องเป็นเวลา 3 เดือน วิธีการคือ การทำจิตให้รู้ตัวทั่วพร้อมอยู่กับปัจจุบันขณะ ด้วยการเฝ้าดูลมหายใจและการเจริญเมตตาภาวนา
หลังจากสามเดือนผ่านไปเธอพบว่า การทำงานของเอนไซม์เทโลเมอเรสของอาสาสมัครทำงานได้ดีขึ้นโดยเฉลี่ยถึง 30 เปอร์เซ็นต์ ทั้งยังเพิ่มปริมาณการหลั่งเอนไซม์ดังกล่าวขึ้นด้วย ซึ่งเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการชะลอวัยและการมีอายุยืน
ยิ่งวิทยาศาสตร์เจริญก้าวหน้ามากเท่าไหร่ ยิ่งจะช่วยพิสูจน์คำสอนของพระพุทธเจ้าได้ชัดเจนมากขึ้นเท่านั้น เรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่ที่น่าสนใจ
ความเข้าใจเรื่องทีโลเมียร์นี้จะทำให้นักวิทยาศาสตร์ค้นพบต่อไปถึงการทำให้คนอายุยืนขึ้นได้
เพื่อนๆ สามารถเข้าไปฟังคำบรรยายของ ดร. อลิซาเบท แบล็คเบิร์น ได้ใน
https://youtu.be/5PU_jZwt8KY ( มี 3 part)
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก
https://timeline.line.me/post/_dcyshGPnkFglzwJG4OMwrQIvgyahlXnzyLkz7tQ/1150151333401041529