มหัศจรรย์ !! ต้นมหาสมบัติ หรือต้นเบาบับ(Baobab) มีจริง ไม่ใช่แค่พูดกันติดปากเท่านั้น
มหัศจรรย์ !! พบแล้ว ต้นมหาสมบัติ หรือต้นเบาบับ(Baobab) มีจริง ไม่ใช่แค่พูดกันแค่ติดปากเท่านั้น http://winne.ws/n7888
มหัศจรรย์ต้นเบาบับ ที่ทั่วโลกให้ความสนใจมากที่สุดในความโดดเด่นของมัน ที่ไม่เฉพาะแต่เป็นต้นไม้ที่มีอายุยืนที่สุดในโลก มีขนาดใหญ่มากที่สุดในโลก และเป็นไม้เนื้ออ่อนที่โตเร็วมากเท่านั้น แต่ทุกส่วนของเบาบับสามารถนำเอามาใช้ประโยชน์เป็นยาป้องกันและรักษาโรคในมนุษย์ได้ และที่สำคัญที่สร้างความฮือฮาไปทั่วโลกก็คือ ทางตลาดร่วมยุโรป(อียู) และอเมริกา ได้อนุญาตให้มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากเบาบับเป็นส่วนผสมของเครื่องดื่ม อาหารเสริมได้
เมื่อเร็ว ๆ นี้ คณะกรรมการแข่งขันกีฬาฟุตบอลโลก(ฟีฟ่า) อนุมัติให้ใช้เครื่องดื่มที่มาจากต้นเบาบับ เป็นเครื่องดื่มอย่างเป็นทางการในการแข่งขันฟุตบอลโลกที่จะถึงนี้ในปี 2553 ที่ประเทศแอฟริกาใต้
จากนั้นผมได้พาคณะเข้าเยี่ยมชมสวนเบาบับทั้งที่ในบริเวณศูนย์ ที่วัดทวีการะอนันต์ ที่เคยนำไปถวายเมื่อประมาณ 5 ปีที่แล้ว โตเร็วมาก โดยขณะนี้มีขนาดประมาณ 2 คนโอบ เกิดดอกออกผลแล้ว นอกจากนี้ยังได้เข้าเยี่ยมชมสวนรวบรวมเบาบับที่ใหญ่ที่สุดของผม บนเนื้อที่ 18 ไร่ ที่บ้านป่าไม้แดง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี หลังจากทางคณะได้รับทราบถึงสรรพคุณอันเหลือเชื่อของต้นเบาบับแล้ว ทางศูนย์จึงได้ถวายต้นเบาบับขนาดใหญ่ 6 ต้น มูลค่าไม่ต่ำกว่า 1 แสนบาทให้แก่ทางวัด พร้อมทั้งถวายเห็ดเป็นยาอีก 1,000 แคปซูล เพื่อแจกจ่ายให้แก่ญาติโยมที่มีปัญหาสุขภาพ
หลายท่านคงเคยติดตามสารคดีเปิดฟ้าส่องโลก หลายครั้งเกี่ยวกับแอฟริกา และมักจะเห็นต้นมหาสมบัติ อยู่เป็นประจำ ผลจากการศึกษาและรวบรวมข้อมูล พบว่า ต้นมหาสมบัติ เป็นต้นไม้เนื้ออ่อนที่อยู่ในวงศ์เดียวกันกับต้นนุ่น ต้นงิ้ว ต้นทุเรียน แต่อยู่ในตระกูล(Genus) Adansonia ซึ่งมีทั้งหมด 8 สายพันธุ์ ในจำนวนนี้เฉพาะที่ประเทศมาดากัสการ์มีมากถึง 6 สายพันธุ์ อันได้แก่ อันได้แก่ A. grandidieri, A. madagascariensis, A. suaresensis, A. perrieri, A. rubrostipa, และ A. za ส่วนอีก 2 สายพันธุ์ ได้แก่ A. digitata เป็นต้นมหาสมบัติ ที่พบอยู่ทั่วไปในส่วนที่เป็นผืนแผ่นดินใหญ่ของทวีป อีกสายพันธุ์หนึ่ง คือ A. gibbosa พบที่ประเทศออสเตรเลีย
ต้นมหาสมบัติ ไม่ได้เป็นเพียงต้นไม้ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติอันไร้ค่า ในทางกลับกัน เป็นต้นไม้ที่มีคุณประโยชน์อย่างใหญ่หลวงแก่คนแอฟริกา ทั้งนี้เนื่องจากทุกส่วนของต้นเบาบับ สามารถนำเอาไปใช้ประโยชน์ที่สำคัญแก่มนุษย์ได้
กล่าวคือ ใบ ใช้รับประทานทั้งในรูปของผักสด หรือเป็นส่วนผสมที่สำคัญของอาหารประเภทต้ม(Stew) บำรุงร่างกาย บำรุงผิว มีสารป้องกันอนุมูลอิสระมากกว่าใบมะรูมหลายเท่า เนื้อของผลมีลักษณะคล้ายเนื้อในมะขามเทศเป็นสีขาว มีรสเปรี้ยวคล้ายลูกหยี นำมาทำเครื่องดื่มที่มีวิตามินซีสูงกว่าส้มถึง 6 เท่าและมีสรรพคุณทางยาสูงมาก จนทางตลาดร่วมยุโรปอนุญาตให้นำไปผสมกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารให้แก่มนุษย์ได้
เมล็ดใช้รับประทานสด หรือคั่วแทนกาแฟ หรือนำไปเพาะให้งอกเสียก่อนแล้วรับประทานเป็นผักสดเช่นเดียวกับถั่วงอก น้ำมันจากเมล็ดใช้เป็นส่วนผสมเครื่องสำอางบำรุงผิว ทำให้ผิวเต่งตึง ไม่เหี่ยวย่นง่าย กระตุ้นให้เกิดผิวใหม่มาทดแทนโดยเร็ว และไม่ทำให้ต่อมตามรูขุมขนอุดตัน
น้ำที่บีบออกมาจากรากและลำต้นมีคุณสมบัติเป็นยาชูกำลัง แก้ร้อนใน แก้โรคมาเลเรีย โรคกระเพาะ เปลือกรอบต้นจะมีเส้นใยที่มีความเหนียว สามารถถากเอาส่วนที่เป็นเปลือกรอบนอกของต้นมาทำเป็นเชือก ทอเสื่อ แห อวน ทอเป็นผ้า หรือทำกระดาษได้ ที่สำคัญที่สุด ที่มีลักษณะเด่นกว่าต้นนุ่น ต้นงิ้ว คือ แม้ว่า เปลือกของลำต้นจะถูกถากเอาไปใช้โดยรอบทั้งต้น แต่ต้นมหาสมบัติ จะไม่ตาย มันจะสร้างเปลือกใหม่ใหม่ขึ้นมาทดแทนได้อีกดังเดิม
นับว่าเป็นความมหัศจรรย์อีกอย่างหนึ่งของพืชชนิดนี้ นอกจากนี้ ยังพบกันอีกทั่วไป ที่มีการเจาะลำต้นให้เป็นโพรง เพื่อล่อให้ผึ้งแอฟริกัน(Apis mellifera)เข้ามาทำรัง เพื่อที่จะเก็บเกี่ยวน้ำผึ้งเอาไปใช้
ผลของความร่วมมือทั้งทางศูนย์ฯและทางวัดเทพชัยมงคลครั้งนี้ ท่านเจ้าอาวาสได้เสนอว่า ในเมื่อต้นเบาบับมีสรรพคุณที่เป็นคุณแก่มนุษย์มากมาย สามารถนำมาปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศ มีลำต้นสวยงามสะดุดตา เป็นได้ทั้งไม้ประดับและเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์ ออกดอกออกผลในระยะเวลาเพียง 4-5 ปีเท่านั้น น่าจะตั้งชื่อเป็นภาษาไทยว่า ต้นมหาสมบัติ ซึ่งทุกคนที่มาร่วมประชุมกันวันนั้น เห็นว่าเป็นชื่อที่เหมาะสมอย่างยิ่ง จึงนับเอาวันที่ 19 ตุลาคม 2552 เป็นวันเริ่มต้นของการเรียกชื่อต้นเบาบับ เป็นภาษาไทยว่า ต้นมหาสมบัติ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
เรียบเรียงโดย ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสการเกษตร
องค์การค้าโลก แห่งสหประชาชาติ ปี 2524-48
ฝักต้นมหาสมบัติตากแห้ง
เมล็ดต้นมหาสมบัติ ที่มีเนื้อสีขาวหุ้มอยู่ในฝัก
ขอบคุณภาพและข้อมูลดี ๆ จาก http://www.anonbiotec.com/Baobab01.html