ตรวจสอบมะเร็งลำไส้ใหญ่ สังเกตได้จากท้องผูก รู้ก่อนจะไม่สายเกินแก้

ตรวจสอบมะเร็งลำไส้ใหญ่ สังเกตได้จากท้องผูก รู้ก่อนจะไม่สายเกินแก้ http://winne.ws/n8426

2.4 หมื่น ผู้เข้าชม
ตรวจสอบมะเร็งลำไส้ใหญ่ สังเกตได้จากท้องผูก รู้ก่อนจะไม่สายเกินแก้ขอบคุณภาพจาก www.rak-sukapap.com

อาการของมะเร็งลำไส้ใหญ่ :

 • มีเลือดปนมาในอุจจาระ
 • การมีเลือดออกทางทวารหนัก
 • อุจจาระมีขนาดเล็กลง
 • ปวดถ่ายอุจจาระบ่อย ๆ อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
 • อุปนิสัยการขับถ่ายเปลี่ยนไป เช่น เคยถ่ายอุจจาระทุกวันก็เปลี่ยนไปมีอาการท้องผูก
 • อาการท้องผูกสลับท้องเสีย
 • ลำไสอักเสบเรื้อรัง
 • ปวดมวนท้อง
 • อาจคลำได้ก้อนในช่องท้อง ซึ่งมักเป็นทางด้านขวาตอนล่าง
 • อาการปวดเบ่งบริเวณทวารหนักคล้าย ปวดอุจจาระตลอดเวลา
 • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบเหตุ
 • อาจมีอาการซีด อ่อนเพลีย และน้ำหนักตัวลด
 • ผู้ป่วยบางรายอาจมาด้วยอาการของลำไส้อุดตัน คือ ปวดท้องอย่างรุนแรงคล้ายลำไส้ถูกบิด แต่เป็นอยู่เพียงชั่วครู่ แล้วก็ทุเลาไป และกลับเป็นใหม่อีกร่วมกับการไม่ถ่ายอุจจาระ ไม่ผายลม เป็นต้น
        • นอกจากนี้ยังพบว่า อาการของมะเร็งลำไส้ใหญ่ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ก้อนมะเร็งตั้งอยู่ เช่น -มะเร็งที่บริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนต้น ซึ่งอุจจาระยังเหลวมากนั้น อาการจะปรากฏในรูปของเลือดออก โลหิตจาง อ่อนเพลีย ใจสั่น หายใจลำบาก-มะเร็งที่ลำไส้ใหญ่ส่วนขวางอาจปรากฏอาการปวดท้อง ท้องอืด เลือดออก-มะเร็งที่สำไส้ใหญ่ส่วนปลาย และลำไส้ตรงอาจปรากฏอาการแสดงของอุจจาระ ที่มีก้อนเล็กลง การขับถ่ายไม่สม่ำเสมอ ปวดท้องถ่ายมะเร็งของลำไส้ใหญ่ทุกส่วนมีโอกาสปล่อยเลือดออกมาทั้งเลือดสด ๆ หรือเลือดเก่า 

อาหารแก้ท้องผูก

ตรวจสอบมะเร็งลำไส้ใหญ่ สังเกตได้จากท้องผูก รู้ก่อนจะไม่สายเกินแก้ขอบคุณภาพจาก www.tlcthai.com

จึงขอให้สังเกตดู หากมีลักษณะสีของอุจจาระเปลี่ยนไปขอให้ปรึกษาคุณหมอทันที

          - มะเร็งที่บริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนต้น ซึ่งอุจจาระยังเหลวมากนั้น อาการจะปรากฏในรูปของเลือดออก โลหิตจาง อ่อนเพลีย ใจสั่น หายใจลำบาก

          - มะเร็งที่ลำไส้ใหญ่ส่วนขวางอาจปรากฏอาการปวดท้อง ท้องอืด เลือดออก

          - มะเร็งที่สำไส้ใหญ่ส่วนปลาย และลำไส้ตรงอาจปรากฏอาการแสดงของอุจจาระ ที่มีก้อนเล็กลง การขับถ่ายไม่สม่ำเสมอ ปวดท้องถ่าย

เหตุของการเกิดมะเร็งลำไส้

           1. การรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารต่ำหรืออาหารที่มีปริมาณ Calcium น้อย ทำให้เกิดอาการท้องผูก/ท้องเสียบ่อยๆและเป็นเวลานาน
           2. เกิดก้อนเนื้องอกขึ้นในระบบทางเดินอาหารโดยเฉพาะที่บริเวณลำไส้ ซึ่งอาจเกิดจากปฏิกิริยา Oxidation ได้
          3. อาการที่สามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม ซึ่งผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้มาก่อนก็จะมีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งชนิดนี้ได้สูงขึ้น
          4. รับประทานอาหารที่มีไขมันในปริมาณสูง
          5. มีการรับสารพิษเข้าสู่ร่างกายและไปตกค้างที่ลำไส้
          6. เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณลำไส้เกิดการเสื่อมสภาพ สูญเสียความยืดหยุ่นไป ทำให้เลือดไม่สามารถเข้าไปเลี้ยงที่บริเวณลำไส้ได้อย่างเพียงพอ

          การตรวจเพื่อการวินิจฉัย สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยการตรวจอุจจาระ เพื่อดูว่ามีเลือดในอุจจาระ หรือไม่ ซึ่งในระยะแรกอาจจะมีปริมาณน้อยจนไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และหากรอยโรคอยู่ใกล้ทวาร หนัก อาจตรวจพบได้โดยการใช้นิ้วสอดเข้าตรวจทางทวารหนัก เมื่อพบเลือดในอุจจาระ หรือสงสัยในอาการ จึง ตรวจเอ๊กซเรย์ลำไส้ใหญ่ด้วยการสวนแป้งและการส่องกล้องเข้าทางทวารหนัก เพื่อตรวจและตัดชิ้นเนื้อ การตรวจเลือดดูระดับโปรตีนชนิดหนึ่งที่สร้างโดยเซลล์มะเร็ง คือ CEA (Carcino-embryonic Antigen) จะมีส่วนช่วยในการวินิจฉัยได้มาก 

ตรวจสอบมะเร็งลำไส้ใหญ่ สังเกตได้จากท้องผูก รู้ก่อนจะไม่สายเกินแก้ขอบคุณภาพจาก pantip.com

ผักผลไม้เพิ่มกากใยเสริมการทำงานของระบบขับถ่าย

มะเขือเทศ เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการท้องผูกเป็นประจำ เพราะผักชนิดนี้ช่วยระบายท้อง แก้เลือดออกตามไรฟัน ลดความดันโลหิต แถมยังรักษาอาการตาพร่ามัว

เกาลัด ช่วยบำรุงกระเพาะอาหารให้ทำงานได้ดี แก้ร้อนใน บำรุงม้าม

ส่วน แก้ท้องผูกบำรุงผิว รักษาแผลในลำไส้และกระเพาะอาหาร

กุยช่าย ช่วยย่อยอาหารและบำรุงกระเพาะอาหาร แถมเสริมกำลังวังชา บำรุงพลังเพศ

มะละกอ เลือกรับประทานแบบค่อนข้างสุกงอมจัด มีสรรพคุณช่วยระบาย

เช่นเคยกับเมนูสุขภาพ ที่ครั้งนี้ขอแนะนำ เครื่องดื่มจากมะขาม พืชอีกชนิดที่โดดเด่นในคุณประโยชน์ช่วยขับถ่าย สูตรนี้เลือกใช้มะขามเปียก ต้มกับน้ำ แล้วใส่น้ำตาลและเกลือลงไปเล็กน้อย กลายเป็นน้ำมะขาม ดื่มครั้งละ 1 แก้ว 

ตรวจสอบมะเร็งลำไส้ใหญ่ สังเกตได้จากท้องผูก รู้ก่อนจะไม่สายเกินแก้ขอบคุณภาพจาก thaihealthlife.com

การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่

         การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ทำได้หลายวิธี เช่น ผ่าตัด เคมีบำบัด รังสีรักษา ขึ้นกับระยะของโรค ตำแน่ง ขนาดของก้อนมะเร็ง และสภาพความแข็งแรงของผู้ป่วย ในปัจจุบันหลังจากมีการศึกษาค้นพบหน่วยพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ จีงได้มีการพัฒนาวิธีการตรวจเพื่อจะบอกว่าผู้ใดมีความเสี่ยงทางพันธุกรรมสูงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ 

        การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่มีวิธีหลักอยู่ 3 วิธี ได้แก่การผ่าตัดเอาเนื้อร้ายออก การใช้ยาไปทำลายเซลล์มะเร็ง และการทำลายเซลล์มะเร็งในตำแหน่งต่าง ๆ ด้วยการฉายรังสี การเลือกวิธีในการรักษานั้นขึ้นอยู่กับว่าเป็นมะเร็งมากน้อยเพียงใด มีการลุกลาม หรือแพร่กระจายหรือไม่ และสภาพร่างกายของผู้ป่วยขณะนั้นเหมาะสมกับวิธีใดมากที่สุด 

การแบ่งระยะของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับวางแผนการรักษา หลังจากวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่แล้ว แพทย์จะแบ่งระยะของโรค โดยแบ่งตามการแพร่กระจายของโรค ระยะที่ 0, 1, 2, 3, 4 ดังนี้ 

           Stage 0 โรคมะเร็งในระยะเริ่มต้น มะเร็งอยู่เฉพาะผิวของลำไส้ 
           Stage 1 มะเร็งอยู่เฉพาะผนังลำไส้ ยังไม่แพร่ออกนอกลำไส้ 
           Stage 2 มะเร็งแพร่ออกนอกลำไส้ แต่ยังแพร่ไม่ถึงต่อมน้ำเหลือง 
           Stage 3 มะเร็งแพร่ไปต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง แต่ยังไม่แพร่ไปยังอวัยวะอื่นๆ 
           Stage 4 มะเร็งแพร่ไปอวัยวะอื่นโดยมากไปยังตับและปอด 
Recurrent เป็นมะเร็งซ้ำหลังจากการรักษา 

แหล่งข้อมูล : www.bangkokhealth.com

ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก http://www.yourhealthyguide.com/article/ac-intestine.htm

แชร์