สัญญาณโรคโต! วิธีสังเกต "ปัสสาวะ" สัญญาณอันตรายโรคไต
ผู้ป่วยที่มีไตวายระยะเริ่มแรก ในตอนกลางคืนจะปัสสาวะบ่อยและมีสีจาง มีปัสสาวะออกน้อยมาก อาจมีผิวหนังตกสะเก็ดดำคล้ำกว่าปกติ บางรายอาจซูบผอมเนื่องจากน้ำหนักที่ลดลง http://winne.ws/n28797
ไม่ใช่ทุกโรคที่จะส่งสัญญาณได้ชัดเจนและทันท่วงทีต่อการรักษา โดยเฉพาะหนึ่งในอาการที่ทางการแพทย์ยกให้เป็น “ฆาตกรเงียบ” อย่าง “โรคไต” ทั้ง 2 ชนิดอาการที่พบได้มากสุด คือ “ไตวายเฉียบพลัน” และ “ไตวายเรื้อรัง”
ที่กว่าผู้ป่วยจะรู้ตัว ประสิทธิภาพของไตก็อาจถดถอยไปมากกว่า 70% จนส่งผลกระทบต่อร่างกายอย่างแก้ไขคืนมาไม่ได้
วิธีสังเกต “ปัสสาวะ” สัญญาณอันตราย “โรคไต”
1) โรคไตวายเฉียบพลัน
ปริมาณปัสสาวะที่น้อยหรือมีสีผิดปกติ มีสีน้ำล้างเนื้อ มักตรวจพบพร้อมกับค่าความดันโลหิตที่สูงผิดปกติ ปัสสาวะที่น้อยมาก แต่ไม่มีความผิดปกติ ยกเว้นถ้าตรวจพบเม็ดเลือดแดงและโปรตีนไข่ขาวปนออกมาด้วย
ผู้ป่วยอาจจะมีอาการร่วมคือเหนื่อยง่าย รู้สึกหวิวๆ หัวใจเต้นผิดจังหวะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน มีอาการบวมน้ำหรือขาดน้ำ-อย่างใดอย่างหนึ่ง มักมีสาเหตุมาจากการเกิดภาวะช็อกจากการเสียน้ำหรือเลือดปริมาณมาก มีการติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง ได้รับสารพิษหรือผลข้างเคียงจากยา จนทำให้ไตสูญเสียการทำงานอย่างรวดเร็ว ภายในเวลาเป็นชั่วโมง เป็นวัน หรือเป็นสัปดาห์
2) โรคไตวายเรื้อรัง
สาเหตุของโรคเกิดจากภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่น ๆ เช่น โรคไตที่เกิดจากเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือเกาต์ ความน่ากลัวของโรคนี้คืออาการที่ไม่แสดงความผิดปกติจนกว่าการทำงานของไตจะลดลงเหลือร้อยละ 25 หรือ 1 ใน 4 ของคนปกติ
ผู้ป่วยจึงเริ่มมีอาการเพลีย เหนื่อยหอบ เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ตัวบวม กดบุ๋ม คันตามตัว ซึ่งหากการทำงานของไตลดลงเหลือต่ำกว่าร้อยละ 10 ผู้ป่วยจะมีอาการเหล่านี้แสดงออกมาชัดเจนทุกราย พร้อมๆ กับเนื้อไตที่ถูกทำลายไปทีละน้อยเป็นเวลาแรมเดือน แรมปี
อาการที่สังเกตได้จากปัสสาวะ
ผู้ป่วยที่มีไตวายระยะเริ่มแรก ในตอนกลางคืนจะปัสสาวะบ่อยและมีสีจาง มีปัสสาวะออกน้อยมาก อาจมีผิวหนังตกสะเก็ดดำคล้ำกว่าปกติ บางรายอาจซูบผอมเนื่องจากน้ำหนักที่ลดลง ในทางตรงกันข้ามโรคไตบางชนิดอาจทำให้ผู้ป่วยตัวบวม-ขาบวม ร่วมกับมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น
อ้างอิง : นายแพทย์น๊อต เตชะวัฒนวรรณา แพทย์ผู้ชำนาญการด้านอายุรศาสตร์โรคไต โรงพยาบาลพระรามเก้า, Sanook
ที่มา www.chiangmainews.co.th