เทียบความต่างอาการ ลองโควิด กับ มิสซี
ส่วนปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้ คุณหมอเผยว่ายังไม่แน่ชัด แต่มีข้อสังเกตที่พบในหลายการศึกษา อาทิ เพศหญิง, อายุมาก, ภาวะอ้วน, มีโรคประจำตัว มีอาการมากกว่า 5 อาการในช่วง 1 สัปดาห์แรกของการเจ็บป่วย และความรุนแรงของโรคมากในระยะแรก เป็นต้น http://winne.ws/n28750
ก่อนหน้านี้มีเรื่องเศร้าที่ถูกพูดถึงอย่างมากในโลกออนไลน์ หลังคุณแม่ใจสลาย สูญเสียลูกชายหลังมีไข้สูง-อาเจียน เมื่อพาไปโรงพยาบาลตามสิทธิ์กลับพบว่าถูกย้ายโดยไม่แจ้ง ก่อนอาการทรุดแล้วเสียชีวิต โดยแพทย์วินิจฉัยว่าเป็น #ลองโควิด แต่ต่อมา "กรมควบคุมโรค" ก็ได้ออกมาเผยว่า การเสียชีวิตของเด็กชายวัย 2 ขวบนั้น ไม่ใช่ลองโควิดแต่เป็นภาวะ #มิสซี ซึ่งประเด็นนี้ได้สร้างความกังวลใจแก่ผู้ปกครองหลายคนเป็นจำนวนมาก
จากสถานการณ์การติดเชื้อ "โควิด-19" ในกลุ่มเด็กอายุ 0-5 ปี มีรายงานว่า นับตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2564 ถึง 17 ก.พ. 2565 ประเทศไทยมีจำนวนเด็กปฐมวัยติดเชื้อสะสม 107,059 ราย ในจำนวนนี้เสียชีวิต 29 ราย โดยรายกลุ่มย่อยทุก 1 ปี มีจำนวนการติดเชื้ออยู่ในระดับมากกว่า 2 หมื่นราย แต่จะพบสูงกว่าในเด็กเล็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปี แสดงให้เห็นว่า กลุ่มเด็กเล็กน้อยกว่า 2 ปี โดยเฉพาะ 0-1 ปี เป็นกลุ่มที่ติดเชื้อง่ายกว่ากลุ่มอื่นๆ
ทั้งนี้ เนื่องจากเด็กไม่สามารถปกป้องตัวเองได้ อีกทั้งยังไม่มีวัคซีนสำหรับเด็กเล็กมากๆ ซึ่งสาเหตุของการติดเชื้อโควิด-19 ในเด็กปฐมวัย ส่วนใหญ่มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อในครอบครัว และด้วยธรรมชาติของเด็กวัยนี้ ไม่สามารถป้องกันโรคด้วยตัวเองได้ดีพอ ส่งผลให้เป็นสาเหตุของการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
ก่อนหน้านี้ มีเรื่องเศร้าที่พูดถึงอย่างมากในโลกออนไลน์ หลังคุณแม่ใจสลาย สูญเสียลูกชายหลังมีไข้สูง, อาเจียน เมื่อพาไปโรงพยาบาลตามสิทธิ์กลับพบว่าถูกย้ายโดยไม่แจ้ง ก่อนอาการทรุดแล้วเสียชีวิต โดยแพทย์วินิจฉัยว่าเป็น "ลองโควิด" สร้างความเสียใจให้ครอบครัวเป็นอย่างมาก แต่ต่อมา "กรมควบคุมโรค" ก็ได้ออกมาเผยว่าการเสียชีวิตของเด็กชายวัย 2 ขวบนั้น ไม่ใช่ "ลองโควิด" แต่เป็น "ภาวะมิสซี" ซึ่งประเด็นนี้ได้สร้างความกังวลใจแก่ผู้ปกครองหลายคนเป็นจำนวนมาก
นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ได้อธิบายถึงประเด็นดังกล่าวว่า "ภาวะลองโควิด" (Long COVID) เป็นอาการผิดปกติเกิดขึ้นใหม่ หรือต่อเนื่องภายหลังการติดเชื้อโควิด-19 ส่วนมากตั้งแต่ 3 เดือนนับจากวันตรวจพบเชื้อ และมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 เดือน โดยอาการเกิดขึ้นได้หลายระบบอย่างต่อเนื่อง หลังได้รับติดเชื้อโควิดนานกว่า 4-12 สัปดาห์ และอาการที่เกิดขึ้น ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยการวินิจฉัยสาเหตุอื่นๆ
สำหรับในเด็ก พบภาวะนี้เพียง 25-45% ซึ่งระบบที่พบ ได้แก่ ระบบทางเดินหายใจ, ระบบหัวใจและหลอดเลือด, ระบบประสาท, ระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น ภาวะเหล่านี้มักไม่รุนแรงแต่เรื้อรัง อาการจะเป็นๆ หายๆ ได้ การรักษาโรคนี้มักเป็นการแยกโรคที่รุนแรงอื่นและรักษาตามอาการ รวมถึงการติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง
โดยปัจจุบัน ยังไม่ทราบถึงสาเหตุและพยาธิสภาพของการเกิดภาวะ "ลองโควิด" ที่ชัดเจน มีเพียงสมมติฐานที่คาดว่า อาจเกี่ยวข้องกับชิ้นส่วนของเชื้อซึ่งไม่ส่งผลต่อการติดเชื้อแล้ว แต่สามารถส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดการอักเสบในระบบต่างๆ ของร่างกาย
ขณะที่การสำรวจผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพ ของผู้ที่เคยป่วยเป็นโรคโควิด-19 ของกรมการแพทย์ ผ่านทางเว็บไซต์กรมการแพทย์ ซึ่งเป็นข้อมูลในผู้ใหญ่ พบว่าอาการลองโควิดส่วนใหญ่ มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง โดยอาการที่พบบ่อย 10 อันดับแรก มีดังนี้
อาการพบบ่อยในผู้ป่วย "ลองโควิด"
- อ่อนเพลีย
- หายใจลำบาก/หอบเหนื่อย
- ไอ
- นอนไม่หลับ
- ผมร่วง
- เวียนศีรษะ
- วิตกกังวล
- เครียด
- ความจำสั้น
- เจ็บหน้าอก
ส่วนปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้ คุณหมอเผยว่ายังไม่แน่ชัด แต่มีข้อสังเกตที่พบในหลายการศึกษา อาทิ เพศหญิง, อายุมาก, ภาวะอ้วน, มีโรคประจำตัว มีอาการมากกว่า 5 อาการในช่วง 1 สัปดาห์แรกของการเจ็บป่วย และความรุนแรงของโรคมากในระยะแรก เป็นต้น
อ่านต่อที่นี่ : https://www.thairath.co.th/news/society/2327757