นักศึกษาไทยเล่าประสบการณ์ ร่วมภารกิจต้าน ‘โควิด’ ในจีน

นักศึกษาแพทย์ชาวไทยเชื้อสายจีน เล่าประสบการณ์ ร่วมภารกิจต้าน 'โควิด' ในจีน ชี้มาตรการเข้มข้น ทำให้คุมโรคระบาดได้ทันท่วงที ลดผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจ แถมส่งผลดีต่อการใช้ชีวิต http://winne.ws/n28735

1.4 พัน ผู้เข้าชม
นักศึกษาไทยเล่าประสบการณ์ ร่วมภารกิจต้าน ‘โควิด’ ในจีนภาพจากผู้ให้สัมภาษณ์ : อู๋เจิ้งซิน (คนที่ 3 จากขวาในแถวหน้า) ถ่ายภาพหมู่กับอาสาสมัครและบุคลากรการแพทย์

สำนักข่าวซินหัวรายงานจากเมืองหนานหนิง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 6 มี.ค. ว่า อู๋เจิ้งซิน หรือ นายเจิ้งซิน อู๋ นักศึกษาแพทย์ชาวไทยเชื้อสายจีน วัย 30 ปี ในเมืองไป่เซ่อ เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ทางตอนใต้ของจีน คือหนึ่งในผู้ที่เข้าใจมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 ของจีน เป็นอย่างดีผ่านประสบการณ์จริง โดยเขามองว่า มาตรการของจีน ทำให้จีนคุมโรคระบาดได้ทันท่วงที ลดผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจ และส่งผลดีอย่างมากต่อการใช้ชีวิตและการทำงานของทุกคน

อู๋เดินทางมาศึกษาต่อในจีนเมื่อปี 2557 ปัจจุบันกำลังศึกษาระดับปริญญาโทด้านเนื้องอก ที่มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์โย่วเจียง (Youjiang Medical University For Nationalities) เมืองไป่เซ่อ ตั้งอยู่ทางตะวันตกของจีน มีพรมแดนติดกับเวียดนาม ซึ่งถือเป็นด่านแรกของการป้องกันโรค ย้อนกลับไปเมื่อบ่ายวันที่ 4 ก.พ. อำเภอเต๋อเป่า พบว่า ผู้เดินทางกลับมาจากต่างถิ่นรายหนึ่งมีผลตรวจโรคโควิด-19 เป็นบวก ไม่กี่วันต่อมาเชื้อไวรัสก็เริ่มแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ในเมืองไป่เซ่อ

ด้วยเหตุนี้ เมืองไป่เซ่อจึงกระชับมาตรการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มควบคุมการจราจรทั่วทั้งเมืองตั้งแต่เวลาเที่ยงคืนของวันที่ 7 ก.พ. กระตุ้นให้ผู้อยู่อาศัยกักตัวอยู่ในบ้า นและงดการเดินทางหากไม่จำเป็น ด้านมหาวิทยาลัยก็ใช้มาตรการการจัดการแบบปิดทันทีเช่นกัน

อู๋ไม่มีความหวาดกลัวต่อการระบาดอย่างกะทันหัน ในเมืองที่เขาอาศัยอยู่ เนื่องจากเขาฉีดวัคซีนแล้ว 3 เข็ม อีกทั้งจีนยังคงยึดมั่นนโยบายโควิดเป็นศูนย์มาโดยตลอด เขากล่าวว่า จีนประสบความสำเร็จในการควบคุมการแพร่ระบาดหลายครั้งในช่วงสองปีที่ผ่านมา เขาจึงเชื่อมั่นว่า การระบาดในเมืองจะคลี่คลายลงในไม่ช้า

ในฐานะนักศึกษาแพทย์ อู๋ได้ร่วมเป็นอาสาสมัครต้านการระบาด เขาทำงานอย่างแข็งขันตามจุดสุ่มเก็บตัวอย่างสำหรับทดสอบกรดนิวคลีอิก และตามโรงพยาบาลที่รักษาผู้ป่วยโควิด-19 โดยเขาได้แนะนำแก่ชาวบ้านที่มาเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งเพื่อให้ขั้นตอนต่าง ๆ เป็นระเบียบ ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพของการตรวจเชื้อ

อ่านข่าวเพิ่มที่ เดลินิวส์

แชร์