กรมการแพทย์ชี้ มะเร็งปอดเป็นสาเหตุ การเสียชีวิตอันดับ 2 ของคนไทย

การหลีกเลี่ยงที่ดีที่สุดในปัจจุบันจึงเป็นการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง เช่น งดสูบบุหรี่ งดควันบุหรี่มือสอง งดสัมผัสแย่ในหิน หรือมลภาวะ หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง รับประทานผักผลไม้ให้มากขึ้น ออกกำลังกายสม่ำเสมอและพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย http://winne.ws/n28704

1.4 พัน ผู้เข้าชม
กรมการแพทย์ชี้ มะเร็งปอดเป็นสาเหตุ การเสียชีวิตอันดับ 2 ของคนไทย

      กรมการแพทย์ โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติเผย ‘มะเร็งปอด’ เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของคนไทย  สาเหตุของมะเร็งปอดมีหลากหลาย ทั้ง

     1. สูบบุหรี่รวมถึงยามวนต่าง ๆ ผู้สูบบุหรี่อาจมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดมากกว่าผู้ไม่สูบถึง 10 เท่า แต่ผู้ที่ได้รับควันบุหรี่มือสอง หรือผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่เองโดยตรง แต่สูดดมจากบุหรี่ที่ผู้อื่นสูบก็มีความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไปเช่นกัน เพราะในควันบุหรี่มีสารก่อมะเร็งมากกว่า 60 ชนิด

     2. ได้รับแร่ใยหิน (แอสเบสตอส) เป็นแร่ที่ใช้ในอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่นการก่อสร้าง โครงสร้างอาคาร ผ้าเบรค ฉนวนกันความร้อน ผู้เสี่ยงคือผู้ที่อาศัยหรือทำงานอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีแอสเบสตอสปนเบื้อนเป็นเวลานาน อาจใช้เวลา 15-35 ปี ในการทำให้เกิดมะเร็งปอด ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่แต่ทำงานกับฝุ่นแอสเบสตอส อาจเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดมากกว่าคนทั่วไปถึง 5 เท่า

     3. สาเหตุอื่น ๆ เช่น ฝุ่น PM 2.5 สารเบนซิน ฟอร์มาลดีฮายด์

     ทว่า ทางกรมการแพทย์เผยว่า ผู้ป่วยมะเร็งปอดจำนวนมาก ไม่เคยมีประวัติสูบบุหรี่ หรือ แอสเบสตอส (แร่ใยหิน) มาก่อน

      อาการที่น่าสงสัยก็คือจะมีอาการไอเรื้อรังติดต่อกันมากกว่า 2 สัปดาห์ ไอเป็นเลือดหรือมีเสมหะปนเลือด เจ็บหน้าอก น้ำหนักลด เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร บางรายอาจมีไข้ต่ำ ๆ หรือมีปอดติดเชื้อซ้ำซาก

     อีกสิ่งที่เป็นเรื่องที่น่ากังวลคือ ปัจจุบันยังไม่มีแนวทางการคัดกรองโรคมะเร็งปอดที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่า ตรวจระยะแรกได้ยาก เมื่อผู้ป่วยมีอาการผิดปกติมักจะเป็นโรคในระยะที่ลุกลามไปแล้ว

    การหลีกเลี่ยงที่ดีที่สุดในปัจจุบันจึงเป็นการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง เช่น งดสูบบุหรี่ งดควันบุหรี่มือสอง งดสัมผัสแย่ในหิน หรือมลภาวะ หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง รับประทานผักผลไม้ให้มากขึ้น ออกกำลังกายสม่ำเสมอและพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย

     อย่างที่เรารู้ว่าฝุ่น PM 2.5 ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัย เพราะมันเป็นฝุ่นขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน

ซึ่งฝุ่นเหล่านี้มาจาก

1. การคมนาคมขนส่ง (ปล่อย PM2.5 50,240 ตัน/ปี)

2. การผลิตไฟฟ้า (ปล่อย PM2.5 31,793 ตัน/ปี)

3. อุตสาหกรรมการผลิต (ปล่อย PM2.5 65,140 ตันต่อปี)

4. ที่อยู่อาศัย/ ธุรกิจการค้า (ปล่อย PM2.5 ประมาณ 28,265 ตัน/ปี)

5. การเผาในที่โล่ง (อันนี้เยอะสุด ปล่อย PM 2.5 209,937 ตัน/ปี)

     นอกจากเริ่มต้นที่ตัวเรา และหลีกเลี่ยงที่เสี่ยงต่าง ๆ แล้ว ก็อยากจะฝากให้ทุกคนติดตาม #พรบอากาศสะอาด ที่ทาง #เครื่อข่ายสะอาด ได้ยื่นเสนอเข้าสู่สภาเมื่อวันที่ 21 ม.ค. 2565 ที่ผ่านมา

     ร่วมลงชื่อสนับสนุนแคมเปญนี้ผ่าน Change.org/CleanAirActTH


ที่มา https://www.facebook.com/environman.th

แชร์