เสี่ยงขี้หูอุดตันได้ง่าย! โปรดระวังการใช้ "คอตตอนบัด" เช็ดรูหูบ่อย ๆ
เมื่อขี้หูอุดตัน อาจมีอาการแน่นหู หูอื้อ การได้ยินลดลง บางรายถ้ารูหูเล็ก หรือมีความผิดปกติบางอย่าง อาจทำให้ไม่สามารถขับขี้หูออกมาได้เอง http://winne.ws/n28680
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ใช้คอตตอนบัดเช็ดหูอยู่บ่อย ๆ อาจเสี่ยง “ขี้หูอุดตัน” โดยไม่รู้ตัวได้
เมื่อขี้หูอุดตัน อาจมีอาการแน่นหู หูอื้อ การได้ยินลดลง บางรายถ้ารูหูเล็ก หรือมีความผิดปกติบางอย่าง อาจทำให้ไม่สามารถขับขี้หูออกมาได้เอง
สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด ที่ทำให้ขี้หูมีปัญหาคือ การใช้ไม้พันสำลีทำความสะอาดช่องหูชั้นนอก โดยเฉพาะหลังอาบน้ำ แล้วมีน้ำเข้าหู ซึ่งทำให้รู้สึกรำคาญ การกระทำดังกล่าวจะยิ่งกระตุ้น ทำให้ต่อมสร้างขี้หู ทำงานมากขึ้น มีปริมาณขี้หูที่ผลิตออกมามากขึ้น และยิ่งดันขี้หูในช่องหูให้อัดแน่นยิ่งขึ้น ทำให้ขี้หูอุดตันช่องหูชั้นนอกมากขึ้น
เมื่อสงสัยว่ามีขี้หูอุดตัน ทำให้เกิดอาการผิดปกติของหู ควรไปพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยว่าเป็นขี้หูอุดตันจริงหรือไม่ แพทย์จะใช้ที่ส่องหู ส่องตรวจช่องหูชั้นนอกว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการผิดปกติของหู เกิดจากขี้หูอุดตันหรือไม่ ถ้าใช่ จะเริ่มเลือกวิธีรักษาตามลักษณะของอาการ
- ถ้าขี้หูอัดกันแน่นมาก จนไม่สามารถเอาขี้หูออกได้ เนื่องจากหรือเอาออกได้เพียงบางส่วน แพทย์จะสั่งยาละลายขี้หูให้ไปหยอด ได้แก่ โซเดียมคาร์บอเนต ซึ่งหลังจากหยอดหู จะทำให้ขี้หูในช่องหูขยายตัว และอุดตันช่องหูชั้นนอกมากขึ้น ทำให้หูอื้อมากขึ้น ควรหยอดบ่อย ๆ ยิ่งบ่อย ยิ่งดี (วันละ 7-8 ครั้ง) จะทำให้ขี้หูอ่อนตัวมากขึ้น และเอาออกได้ง่ายขึ้น ส่วนใหญ่แพทย์จะให้ผู้ป่วยไปหยอดยาละลายขี้หูประมาณ 1 สัปดาห์ แล้วนัดมาดูอีกครั้ง
- ทำความสะอาดหูอย่างไรให้ปลอดภัยจากขี้หูอุดตัน
ไม่ใช้ไม้พันสำลีทำความสะอาดหู หรือปั่นหูอีก ใช้ทำความสะอาดหูเพียงรอบ ๆ ปากรูหูด้านนอกเท่านั้น ไม้จิ้มเข้าไปเช็ดถึงรูหูด้านใน
- ถ้าน้ำเข้าหูทำให้รู้สึกรำคาญจนต้องปั่น หรือเช็ดหู ควรป้องกันไม่ให้น้ำเข้าโดยหาสำลีชุบวาสลีน หรือที่อุดหูสำหรับนักดำน้ำ ซึ่งมีขายตามร้านกีฬา มาอุดหูเวลาอาบน้ำ หรือผู้หญิงที่สวมหมวกอาบน้ำ ควรดึงหมวกให้มาคลุมใบหู เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเข้าหู
- อาจใช้ยาละลายขี้หูหยอดในหูเป็นประจำ เพื่อทำการล้างขี้หู อาจใช้เพียงอาทิตย์ละครั้ง ถ้าไม่มีปัญหา อาจห่างออกไป เป็น 2 หรือ 3 หรือ 4 อาทิตย์ หยอด 1 ครั้ง ก็จะช่วยลดการอุดตันของขี้หู ในช่องหูชั้นนอกได้
อ้างอิง : อ. ดร. พญ.นัตวรรณ อุทุมพฤกษ์พร แพทย์ประจำศูนย์การได้ยิน การสื่อสาร และการทรงตัว ฝ่ายโสต ศอ นาสิกวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, รศ. นพ. ปารยะ อาศนะเสน ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล,
ที่มา www.chiangmainews.co.th
ที่มา @sanook.com