ตรวจการนอนหลับ! 7 อาการนอนผิดปกติ ที่ควรทำ "Sleep Test"

Sleep test เหมาะกับคนที่มีปัญหาการนอน การตรวจจะสามารถสังเกตการทำงานของร่างกาย และหาสาเหตุของความผิดปกติต่าง ๆ ในระหว่างการนอนหลับ ด้วยการใช้เครื่องมือเฉพาะที่สามารถบอกความผิดปกติของการนอนหลับร่วมกับการดูแลโดยทีมแพทย์เฉพาะทาง http://winne.ws/n28668

2.5 พัน ผู้เข้าชม
ตรวจการนอนหลับ! 7 อาการนอนผิดปกติ ที่ควรทำ "Sleep Test"

      "ตรวจการนอนหลับ" หรือ Sleep test ซึ่งเป็นการตรวจที่จะบอกถึงการทำงานของร่างกายในระหว่างนอนซึ่งสามารถบอกถึงความผิดปกติเกี่ยวกับการนอนหลับเพื่อนำไปสู่การดูแลและรักษาได้อย่างถูกต้อง

       Sleep test เหมาะกับคนที่มีปัญหาการนอน การตรวจจะสามารถสังเกตการทำงานของร่างกาย และหาสาเหตุของความผิดปกติต่าง ๆ ในระหว่างการนอนหลับ ด้วยการใช้เครื่องมือเฉพาะที่สามารถบอกความผิดปกติของการนอนหลับร่วมกับการดูแลโดยทีมแพทย์เฉพาะทาง และนักเทคนิคที่มีความเชี่ยวชาญด้านการนอน โดยในขั้นตอนจะมีการติดอุปกรณ์เฉพาะที่ใช้บันทึกการทำงานของร่างกายขณะนอนหลับ ได้แก่

- ความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด

- การหายใจเข้าออกทั้งทางจมูกและทางปาก

- คลื่นไฟฟ้าสมอง

- คลื่นไฟฟ้าหัวใจ

- การขยับของกล้ามเนื้อตา แขน ขาและกราม

- บันทึกวิดีโอเพื่อสังเกตพฤติกรรมที่ผิดปกติระหว่างนอนหลับ

      โดยส่วนใหญ่ เจ้าหน้าที่ประจำห้องตรวจ จะเริ่มทำการติดตั้งเครื่องและตัวตรวจวัดต่าง ๆ โดยจะใช้เวลาประมาณ 45 – 60 นาที

      เมื่อตรวจ Sleep test เสร็จแล้วแพทย์จะนำข้อมูลมาวิเคราะห์และแปลผลการตรวจ เพื่อวินิจฉัยความผิดปกติต่าง ๆ พร้อมทั้งประเมินความรุนแรง เช่น

- การหยุดหายใจขณะหลับ

- ระดับออกซิเจนในเลือดขณะหลับ

- ภาวะเคลื่อนไหวและพฤติกรรมผิดปกติขณะหลับ

- นอนแขนขากระตุกขณะหลับ

- การละเมอ

- ภาวะนอนไม่หลับ

- ความผิดปกติของการนอนหลับอื่น ๆ

       ซึ่งในการตรวจนี้สามารถทราบถึงความผิดปกติที่ซ่อนอยู่ในระหว่างการนอนอื่น ๆ ได้ อาทิเช่น นอนกัดฟัน ตลอดจน ภาวะชักขณะหลับ

กลุ่มเสี่ยงที่ควรเข้ารับการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test)

1) กลุ่มผู้ที่เสี่ยงจะเป็นภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (obstructive sleep apnea; OSA)

- ผู้ที่เป็นโรคอ้วน หรือมีน้ำหนักตัวเกิน

- ผู้ที่แพทย์สงสัยว่าอาจมีภาวะชักขณะนอนหลับหรือเป็นโรคลมหลับ (narcolepsy)

- ผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการนอนหลับที่ยังรักษาไม่ได้ หรือผู้ที่ป่วยเป็นโรคต่าง ๆ เช่น หัวใจวาย ไตวาย ความดันโลหิตสูง เบาหวาน เป็นต้น


อ้างอิง : พญ.เพชรรัตน์ แสงทอง แพทย์ผู้ชำนาญการ ด้าน โสต ศอ นาสิกวิทยาและเวชศาสตร์การนอนหลับ โรงพยาบาลพระรามเก้า

ภาพ : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ศูนย์นิทราเวช - โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย


ที่มา www.chiangmainews.co.th

แชร์