“โคก หนอง นาโมเดล” ทางรอดสู่ “ความยั่งยืน” ด้วย “ความพอเพียง”
“โคก หนอง นา โมเดล” เป็นแนวคิดในการออกแบบพื้นที่ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยเป็นการทำเกษตรในพื้นที่จำกัด กักเก็บน้ำไว้ทั้งบนดินและใต้ดิน แต่สามารถสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นอย่างเห็นผล http://winne.ws/n28565
“โคก หนอง นา โมเดล” ถือเป็นแนวคิดในการออกแบบพื้นที่ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งรัชกาลที่ 10 ทรงสืบสาน รักษา และต่อยอด โดยเป็นการทำเกษตรในพื้นที่จำกัด กักเก็บน้ำไว้ทั้งบนดินและใต้ดิน แต่สามารถสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นอย่างเห็นผล การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จึงจัดตั้งศูนย์ศึกษาและพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่ 7 เขื่อนพระนาม 3 โรงไฟฟ้า ได้แก่ เขื่อนภูมิพล จ.ตาก เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ เขื่อนวชิราลงกรณ และเขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี เขื่อนจุฬาภรณ์ จ.ชัยภูมิ และเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ.ลำปาง โรงไฟฟ้าบางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา และโรงไฟฟ้าวังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่ “โคก หนอง นา โมเดล” ในการจัดสรรที่ดินสำหรับบริหารจัดการน้ำและพื้นที่ทำการเกษตร เปลี่ยนแนวคิดสู่การทำเกษตรอินทรีย์แบบไม่ใช้สารเคมี และสร้างความเข้าใจในการประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชาเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมโดยมีชุมชนเป็นศูนย์กลาง
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของ กฟผ. มุ่งเน้นให้ผู้ที่เข้ามาศึกษาได้เรียนรู้และลงมือทำจริงเพื่อให้เกิดความเข้าใจ สามารถนำไปต่อยอดประยุกต์ใช้ได้จริงในพื้นที่ของตัวเอง ยกตัวอย่างที่เขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี ได้จำแนกฐานการเรียนรู้ออกเป็น 9 ฐาน แบ่งเป็น ด้านอาหาร ด้านน้ำ และด้านพลังงาน
อ่านข่าวเพิ่มที่ บ้านเมือง