นักวิจัยสุดล้ำ ฝั่งขั้วไฟฟ้าในสมองของผู้ป่วยอัมพาต

นักวิจัยฝังขั้วไฟฟ้าเข้าไปในสมองของผู้ป่วยอัมพาตเพื่อแปลงความคิดออกมาเป็นตัวอักษร ซึ่งมีความแม่นยำสูงถึง 94% http://winne.ws/n28376

1.1 พัน ผู้เข้าชม
นักวิจัยสุดล้ำ ฝั่งขั้วไฟฟ้าในสมองของผู้ป่วยอัมพาต

      วงการวิทยาศาสตร์และการแพทย์พัฒนาไปอีกขั้น ชายป่วยเป็นอัมพาตได้รับการฝังขั้วไฟฟ้า เพื่อช่วยแปลความคิดให้กลายมาเป็นตัวอักษร ก่อนจะพบว่าระบบดังกล่าวมีความแม่นยำสูงถึง 94%

       ชายวัย 65 ปีคนหนึ่งได้รับอุบัติเหตุที่ไขสันหลังในปี ค.ศ.2007 ทำให้เขาป่วยเป็นอัมพาตตั้งแต่ช่วงคอลงมาและส่งผลกระทบต่อความสามารถด้านการสื่อสาร ทีมนักวิทยาศาสตร์จึงตัดสินใจฝังอุปกรณ์ที่เรียกว่า BrainGate ลงไปในสมองของชายคนดังกล่าว

      เจ้าตัว BrainGate นี้จะเป็นส่วนต่อประสานสมองกับคอมพิวเตอร์ (BCI) เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างสมองกับอุปกรณ์ด้านนอกโดยตรง และใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในการแปลงกระแสประสาท (neuronal activity) ออกมาเป็นภาษาเขียน

       ในระหว่างทดลอง ทีมนักวิทยาศาสตร์ให้ชายวัย 65 ปี (จากนี้จะเรียกว่าผู้ทดลอง T5) จินตนาการว่าเขากำลังเขากำลังเขียนตัวหนังสืออยู่ แม้ความเป็นจริงมือและนิ้วจะเคลื่อนไหวไม่ได้เนื่องจากอาการป่วย ซึ่งระหว่างที่เขาจินตนาการถึงตัวหนังสือ ขั้วไฟฟ้าที่ฝังอยู่ในเยื่อหุ้มสมองจะบันทึกสัญญาณการทำงานของสมอง จากนั้นนำมาแปลงผลโดยอัลกอริธึมคอมพิวเตอร์ด้านนอก โดยจะมีการถอดรหัสลายมือที่ถูกจินตนาการในสมองออกมาเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ 26 ตัวรวมถึงเครื่องหมายวรรคตอนบางส่วน

       หลังการทดสอบพบว่า T5 สามารถถ่ายทอดตัวอักษรออกมาได้ด้วยความเร็วประมาณ 90 ตัวอักษรหรือประมาณ 18 คำต่อนาที เกือบจะเทียบเท่ากับความเร็วที่กลุ่มผู้ชายพิมพ์ข้อความในสมาร์ทโฟน ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 115 อักษรหรือ 23 คำต่อนาที นอกจากนี้ยังมีความแม่นยำประมาณ 94 เปอร์เซ็นต์ (และความแม่นยำสูงสุด 99 เปอร์เซ็นต์เมื่อเปิดใช้งานการแก้ไขอัตโนมัติ)

       Frank Willett นักวิจัยด้านประสาทเทียมจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด กล่าวว่าการศึกษานี้ทำให้รู้ว่า แม้ร่างกายจะสูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหวไปเป็นระยะเวลานาน แต่สมองยังคงทำงานของมันได้ดี และเรายังได้เรียนรู้ว่า การลากเส้นของลายมือที่มีน้ำหนักและเส้นโค้งแตกต่างกันในแต่ละบุคคลนั้นสามารถใช้อัลกอริธึมของ AI แปลความออกมาได้ง่ายกว่าการเคลื่อนไหวที่ถูกตั้งค่าไว้แล้วให้มีความเร็วหรือรัศมีการโค้งที่คงที่


ที่มา : https://bit.ly/3khPcxm

https://go.nature.com/3DeFvqZ

 

ที่มา https://www.chiangmainews.co.th/

แชร์