พุทธศาสนิกชนเนื่องแน่นวัดพระมหาธาตุ ร่วมทำบุญตักบาตร-แห่ผ้าขึ้นธาตุ วันมาฆบูชา
สำหรับประเพณีมาฆบูชาแห่ผ้าขึ้นธาตุ เป็นประเพณีสำคัญของชาวนครศรีธรรมราช ซึ่งเกิดขึ้นและสืบเนื่องมา 790 ปี จากตำนานที่เล่ากันว่า ในปี พ.ศ.1773 http://winne.ws/n27655
วันที่ 26 ก.พ. 64 ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนสี่(ขึ้น 15 ค่ำเดือน4) เป็นวันมาฆบูชา เวลา 06.30 น. นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช พร้อมด้วยนายกเหล่ากาชาดจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ และพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก ร่วมกันทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งแด่พระสงฆ์ จำนวน 50 รูป เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและความเป็นสิริมงคลในการดำเนินชีวิต เนื่องในวันมาฆบูชา ประจำปี 2564
โดยมีพระเทพวินยาภรณ์ รองเจ้าคณะภาค 16-17-18 (ธรรมยุต)/เจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร เป็นประธานสงฆ์/กล่าวสัมโมทนียกถาให้พรแก่พุทธศาสนิกชนที่ร่วมพิธี ณ บริเวณถนนราชดำเนินหน้าวัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร ภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นอกจากนี้พุทธศาสนิกชนและนักท่องเที่ยวจำนวนมากได้ร่วมสืบสานประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุในงานประเพณีมาฆบูชาแห่ผ้าขึ้นธาตุ ประจำปี 2564 ซึ่งส่วนใหญ่เดินทางมาเป็นครอบครัว หมู่คณะ มีการร่วมกันนำผืนผ้าสีเหลืองจีวรเป็นม้วนที่ทางวัดจัดเตรียมไว้ให้ด้วยการทำบุญตามกำลังศรัทธา หรือผ้าที่พ่อค้าแม่ค้านำมาจำหน่ายเมตรละ 12-15 บาท จากนั้นมีการนำมาคลี่ออกความยาวประมาณ10-20 เมตร แล้วมีการถือเป็นแถวเดินเวียนรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์ จำนวน 3 รอบ จากนั้นจะมีการนำไปพันรอบองค์เจดีย์รายที่อยู่รอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนต้องผ่านจุดคัดกรอง และสวมหน้ากากอนามัย 100 %
ส่วนในช่วงเย็นวันนี้ (26 ก.พ. 64) เวลา 16.00 น. จังหวัดนครศรีธรรมราช กำหนดจัดพิธีเชิญผ้าพระบฏพระราชทาน จำนวน 5 ผืน ประกอบด้วย ผ้าพระบฏพระราชทานพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ผ้าพระบฏพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ผ้าพระบฏพระราชทานพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ผ้าพระบฏพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และผ้าพระบฏพระราชทานสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี โดยจัดให้มีริ้วขบวนอัญเชิญผ้าพระบฏพระราชทาน ขบวนเกียรติยศ และขบวนผ้าพระบฎของพุทธศาสนิกชน ที่ประกอบด้วยริ้วขบวนผ้าสีขาว สีเหลือง สีแดง และสีกรมท่า เคลื่อนจากบริเวณสนามหน้าเมืองนครศรีธรรมราช ถนนราชดำเนินไปยังวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เมื่อถึงบริเวณลานโพธิ์ วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร จะมีการประกอบพิธีทางศาสนา อัญเชิญผ้าพระบฏพระราชทานถวายองค์พระบรมธาตุเจดีย์ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมจัดพิธีบูชาเวียนเทียนเนื่องในวันมาฆบูชาต่อเนื่องด้วย
สำหรับประเพณีมาฆบูชาแห่ผ้าขึ้นธาตุ เป็นประเพณีสำคัญของชาวนครศรีธรรมราช ซึ่งเกิดขึ้นและสืบเนื่องมา 790 ปี จากตำนานที่เล่ากันว่า ในปี พ.ศ.1773 ขณะที่ พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช กษัตริย์ของเมืองนครศรีธรรมราช กำลังสมโภชพระบรมธาตุเจดีย์อยู่นั้น ชาวเมืองอินทปัตย์ ซึ่งกำลังเดินทางไปนมัสการพระธาตุที่ศรีลังกา ได้ถูกพายุพัดจนเรือแตก มีผู้รอดชีวิตราว 10 คน มาขึ้นฝั่งที่เมืองปากพนัง พร้อมด้วยผ้าขาวผืนยาวมีภาพพุทธประวัติเขียนไว้ที่ผ้า เรียกกันว่า “ผ้าพระบฏ” ชาวเมืองปากพนังจึงนำไปถวายพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชในกาลนั้น พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ได้โปรดให้นำผ้าดังกล่าวขึ้นห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช
ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ปีนั้น และตั้งแต่นั้นมา จึงได้ปฏิบัติต่อเนื่องจนกลายเป็นประเพณีสืบมาจนถึงปัจจุบัน ทุกปีของวันมาฆบูชา ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 และในปีอธิกมาสวันมาฆบูชาจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 พุทธศาสนิกชน โดยเฉพาะชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้พร้อมในกันประกอบศาสนพิธีขึ้นในวันดังกล่าว โดยนำผ้าแถบสีต่าง ๆ เช่น สีขาว สีเหลือง สีแดง เป็นต้น อีกทั้ง ผ้าสีขาวที่ภาพวาดพุทธประวัติ ซึ่งเรียกว่าผ้าพระบฏ ขึ้นนำห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประจำทุกปี เรียกประเพณีนี้ว่า ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ ซึ่งในแต่ละปีจะมีพุทธศาสนิกชนและนักท่องเที่ยวจากทั่วประเทศเข้าร่วมกิจกรรมตลอดทั้งวันตั้งแต่เช้ามืดถึงค่ำคืนหลายหมื่นคน
แต่เนื่องจากปีนี้มีการระบาดของโรคโควิด-19 จังหวัดนครศรีธรรมราช มีการลดจำนวนกิจกรรมและจำกัดจำนวนผู้ที่จะเข้าร่วมกิจกรรม โดยคงไว้เฉพาะพิธีที่สำคัญเท่านั้น เพื่อสืบสานประเพณีวัฒนธรรมอันดีงาม แต่อย่างไรก็ตามด้วยพลังแห่งความศรัทธายังคงมีพุทธศาสนิกชนจำนวนมากได้เดินทางมายังวัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร เพื่อร่วมสืบสานประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ.
ขณะที่ท่าเรือเฟอร์รี่เกาะช้างเฟอร์รี่และเซนต์เตอร์พอยท์เฟอร์รี่ ต.คลองใหญ่ อ.แหลมงอบ จ.ตราด ที่เดินทางไปอำเภอเกาะช้าง พบว่า มีรถยนต์ของนักท่องเที่ยวเดินทางลงไปอำเภอเกาะช้างแล้วในช่วครึ่งวันกว่า 2,000 คัน ซึ่งหากรวมทั้งวันน่สจะมีกว่า 4,000 คัน และคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวกว่า 15,000 คนเดินทางลงไปเที่ยวเกาะช้างในช่วงนี้ ทั้งนี้ จ.ตราดในช่วงนี้แม้อากาศจะร้อนในช่วงกลางวันมแต่ในช่วงเช้าและค่ำอุณหภูมิจะลดลง ท่ากลางแสงแดดที่จ้าและน้ำทะเลสวยงาม
อย่างไรก็ตาม จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจำนวนมากและรอลงเรือในท่าเรือแหลมศอกต้องรอคอยรถบรรทุกสัมภาระมและนักท่องเที่ยวเพื่อไปรับรถยนต์ที่จอดอยู่ในบริเวณที่จำหน่ายตั๋วซึ่งมีรถบรรทุกไม่เพียงพอทำให้นักท่องเที่ยวต้องรอนานกว่า 15 -45 นาที และนักท่องเที่ยวจำนวนมากต้องยืนรอกลางแดดที่ร้อน เนื่องจากไม่มีหลังคาคลุมที่เพียงพอ ซึ่งเจ้าหน้าทีทของเรือบุญศิริต้องออกมาขอโทษนักท่องเที่ยวในครั้งนี้ด้วย