อยู่สหรัฐฯมิใช่ปัญหา! พระนิสิตป.เอกสันติศึกษา"มจร" ปรึกษางานดุษฎีนิพนธ์ผ่านสื่อออนไลน์
โดยให้คำปรึกษาแบบออนไลน์ข้ามโลกในสถานการณ์ของโควิด ยกระดับเป็นงานวิจัยเชิงป้องกันขัดแย้ง และรักษาสันติภาพ จากไทยสู่สหรัฐอเมริกา http://winne.ws/n27605
วันที่ 20 มกราคม พ.ศ.2564 พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) เปิดเผยว่า ได้ใช้เวลาสามชั่วโมงครึ่งในการโค้ชให้คำปรึกษาการทำวิจัยเรื่อง"รูปแบบการบริหารจัดการเงินโดยพุทธสันติวิธี: ศึกษากรณีวัดพุทธาวาส ประเทศสหรัฐอเมริกา" แก่พระนิสิตระดับปริญญาเอก หลักสูตรสันติศึกษา จากประเทศสหรัฐอเมริกา ผ่านวิธีการแบบออนไลน์ เรื่องซึ่งอยู่คนละขั้วโลกแต่สามารถให้คำปรึกษาพระนิสิตเพื่อเดินตามกรอบการศึกษาในระดับปริญญาเอก โดยพระนิสิตมีความมุ่งมั่นสูง มีแรงอันปรารถนาอย่างแรงกล้า มีฉันทะเต็มเปี่ยมในการทำวิจัย มีความใฝ่ในการเรียนรู้อย่างมาก จึงน่าจบภายใน 3 ปีอย่างมีความสุข ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานของการศึกษาในระดับปริญญาเอก โดยมีวินัยเป็นฐานในการทำวิจัยโดยเดินตามกรอบเวลาที่กำหนด
สิ่งแรกในการทำวิจัยจะต้องชัดในประเด็นเรื่องที่สนใจถนัดสังคมต้องการเป็นประโยชน์ต่อสังคมและเพื่อนมนุษย์ ซึ่งภาษาสมัยใหม่เรียกว่า เป็นให้เป็น หมายถึง ทำในสิ่งที่เราเป็นอยู่แล้วแต่พัฒนาให้ดียิ่งขึ้น พัฒนาให้เป็นประโยชน์ต่อบุคคล ชุมชม วัด องค์กร สังคมและประเทศ เพราะถ้าทำในสิ่งที่เราไม่เป็นอาจจะต้องเริ่มต้นใหม่ต้องใช้เวลาในการศึกษาพอควรแต่สามารถทำได้
งานวิจัยสันติศึกษาจึงเดินตามของกรอบหลักปธาน 4 มี 4 เชิง ประกอบด้วย 1) งานวิจัยเชิงป้องกัน 2) งานวิจัยเชิงแก้ไข 3) งานวิจัยเชิงเยียวยา 4) งานวิจัยเชิงรักษาสันติภาพ โดยงานวิจัยที่นิสิตสันติศึกษาได้ทำคืองานวิจัยเชิงป้องกันความขัดแย้ง และเป็นงานวิจัยเชิงรักษาสันติภาพในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข นับว่าเป็นงานวิจัยที่จะมีคุณูปการต่อพระพุทธศาสนาและสังคม เกิดนวัตกรรมอย่างดียิ่ง
เราจึงมีความจำเป็นต้องมีระบบการศึกษาทั้งทางธรรมและทางโลก เพื่อการเท่าทันโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เราเชื่อเสมอว่า มนุษย์ทุกคนต่างก็มีศักยภาพ การทำวิจัยถือว่าเป็นเครื่องมือการฝึกตนให้เป็นคนมีเหตุผลมีที่มาที่ไปแสวงหาปัญญาอย่างมีระบบ อย่ามั่ว พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ในหมู่มนุษย์ผู้ฝึกตนดีแล้วเป็นผู้ประเสริฐสุด เชื่อว่างานวิจัยจะสำเร็จเพราะมีครูอาจารย์กัลยาณมิตรคอยสนับสนุนส่งเสริมเติมกำลังใจอย่างเข้าใจ
พระปราโมทย์ กล่าวด้วยว่า ดังนั้น การโค้ชงานวิจัยจึงมีความจำเป็นภายใต้ "มืดมาแต่ขอให้สว่างไป" จึงมีการติวเรื่องการเขียนอย่างมืออาชีพ โดยให้คำปรึกษาแบบออนไลน์ข้ามโลกในสถานการณ์ของโควิด ยกระดับเป็นงานวิจัยเชิงป้องกันขัดแย้ง และรักษาสันติภาพ จากไทยสู่สหรัฐอเมริกา จึงขอให้กำลังใจนิสิตปริญญาเอก รุ่น 5 หลักสูตรสันติศึกษา มจร ให้สำเร็จต่อไป