"หมอธีระวัฒน์" เผย 2 สาเหตุ ป่วยโควิดซ้ำ "ไวรัสซ่อนตัว-เชื้อเปลี่ยนรูปร่าง" View icon 109
ไวรัสโควิด-19 สามารถหลบซ่อนในที่ต่างๆ ได้ ถ้าไม่สามารถกำจัดได้หมดสิ้นในระยะแรก และกลไกของการกดหัวไวรัสในที่ต่างๆ นั้น อาจไม่ได้ใช้กลไกเหมือนกันกับในระยะแรกก็ได้ และอาจแตกต่างกันในแต่ละเนื้อเยื่อหรืออวัยวะ http://winne.ws/n27362
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์สุภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยถึงการกลับป่วยด้วยโรคโควิด-19 ซ้ำเป็นครั้งที่ 2 ว่า อาจเป็นได้จาก 2 สาเหตุ ดังนั้น 1. เกิดจากเชื้อที่ติดจากครั้งแรกแล้วหลบซ่อนอยู่ในตัวและปะทุขึ้นมาใหม่ กรณีเช่นนี้พบได้ตั้งแต่ไวรัส นิปาห์ ซึ่งเป็น RNA ไวรัสเหมือนกัน ที่ทำให้เกิดสมองอักเสบเฉียบพลัน, ทำให้เกิดหลอดเลือดอักเสบอย่างรุนแรง โดยเชื้อนี้มาจากค้างคาว ทั้งนี้เมื่อหายแล้วอีก 2 ปีถัดมา เกิดสมองอักเสบขึ้นมาใหม่ แต่คราวนี้ไม่ใช่หลอดเลือดอักเสบว่าเป็นเนื้อสมองอักเสบจริง หรือกรณีของไวรัสอีโบล่า หลังจากที่รอดชีวิตจากการติดเชื้อครั้งแรก ไวรัสเข้าไปหลบซ่อนอยู่ในลูกตาหรือในสมอง หลังจากนั้นมีลูกตาและสมองอักเสบ
ไวรัสโควิด-19 สามารถหลบซ่อนในที่ต่างๆ ได้ ถ้าไม่สามารถกำจัดได้หมดสิ้นในระยะแรก และกลไกของการกดหัวไวรัสในที่ต่างๆ นั้น อาจไม่ได้ใช้กลไกเหมือนกันกับในระยะแรกก็ได้ และอาจแตกต่างกันในแต่ละเนื้อเยื่อหรืออวัยวะ ที่ผ่านมาการกลับเป็นใหม่ครั้งที่ 2 มีรายงานประปรายอยู่แล้วในประเทศจีน ตั้งแต่ต้นปี 2563 แต่ไม่รุนแรง แต่ทั้งนี้ในอนาคตจะรุนแรงหรือไม่ก็ตาม คงไม่สามารถบอกได้
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ ระบุด้วยว่า สำหรับสาเหตุที่ 2 เกิดจากเชื้อจากภายนอกและเกิดการติดใหม่จริง ครั้งที่ 2 ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะภูมิคุ้มกันที่จำเพาะต่อไวรัสโควิด-19 หลังจากที่เป็นครั้งแรกนั้น ต้องการทั้งภูมิที่ได้จากน้ำเหลืองและจากระบบเซลล์ภูมิคุ้มกัน ซึ่งภูมิคุ้มกันในน้ำเหลืองนั้นสลายตัวไปเร็วมากในระยะเป็นเดือน แม้ไม่ทุกคน แต่อย่างน้อย 15% ขึ้นไปจะหายไปใน 2-3 เดือน
ดังที่พบในการศึกษาในประเทศไทยในจังหวัดทางภาคใต้ โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทีมใบยา และพันธมิตรร่วมกับทางจังหวัด แต่ถ้าระบบความจำของภูมิคุ้มกันไม่บกพร่อง แม้มีการติดเชื้อใหม่ก็จะมีการปลุกระดมภูมิขึ้นมาต่อต้านไวรัสอย่างรวดเร็ว (anamnestic response) และทำให้ไม่มีอาการเลย หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย ดังนั้นไม่มีทางทราบได้ว่า การเป็นครั้งที่ 2 จากเชื้อภายนอกจะรุนแรงหรือไม่ ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังข้างต้น
นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับหน้าตาของเชื้อไวรัส ถ้ามีลักษณะรูปร่างหน้าตาผิดเพี้ยนไปจากเดิมจนระบบความทรงจำ จำไม่ได้ ก็จะเป็นเสมือนติดเชื้อใหม่ ดังนั้นความรุนแรงอาจจะมากหรือน้อยได้ อย่างที่พบในการติดครั้งแรก หรือในอีกกรณีหนึ่งรูปร่างหน้าตาแปลกไปบ้าง จำได้แต่ไม่ทำลาย กลับชักชวนให้เข้าไปในบ้าน เช้าไปในเซลล์ภูมิคุ้มกันเสียเอง และเกิดการอักเสบอย่างรุนแรงกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งในลักษณะนี้เกิดขึ้นได้แน่นอน แต่จะมากหรือน้อย บ่อยเพียงใด เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงในความปลอดภัย และประสิทธิภาพของวัคซีนโควิด-19
ที่มา
https://news.ch7.com/