ชาวบ้านใน จ.ยะลา รวมใจ ทำเรือชักพระ สืบทอดประเพณี เทศกาลออกพรรษา
รวมกลุ่มชาวบ้านยะลาทำเรือพระ สืบสานประเพณีชักพระชาวใต้ เทศกาลออกพรรษา http://winne.ws/n26567
รวมกลุ่มชาวบ้านยะลาทำเรือพระ สืบสานประเพณีชักพระชาวใต้ เทศกาลออกพรรษา
วันนี้ (26 ก.ย. 62) กรรมการวัดหลักห้า หมู่ที่ 2 ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา นำโดยนายธรรมนูญ บุตรมาตา ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน นายนิคม ศรีเงินถม ได้รวมกลุ่มชาวบ้านในตำบลสะเตงนอก จัดทำเรือพระ ขนาดความยาว 12 เมตร สูงกว่า 6 เมตร เพื่อเตรียมไว้เข้าร่วมการประกวดเรือพระ งานประเพณีชักพระ สืบสานอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น เทศบาลนครยะลา ในช่วงเทศกาลวันออกพรรษา ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 13 ตุลาคม 2562
นายนิคม ศรีเงินถม กรรมการวัด บอกว่า วัดหลักห้าได้จัดทำเรือพระทุกปี เพื่อสืบสานวัฒนธรรม ประเพณีของภาคใต้ให้คงอยู่ ให้ลูกหลานได้เห็น ได้รับรู้ถึงประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น โดยการสนับสนุนของเทศบาลเมือง ตำบลสะเตงนอก และทางวัดหลักห้า เอง
สำหรับการทำเรือพระของทางวัด ก็จะใช้คนในพื้นที่ โดยดึงเด็ก เยาวชน และชาวบ้านในพื้นที่ 5-6 คน มารวมกลุ่มกันทำ ส่วนการทำเรือพระก็จะแบ่งหน้าที่กันทำส่วนประกอบต่าง ๆ พญานาค ลวดลาย พระพุทธรูป ทั้งสกรีนลายดอก ฉลุลาย ตัดดอก ออกแบบ ทาสี วางผังที่จะทำเรือ โครงสร้าง
สำหรับการทำเรือพระของทางวัด ก็จะใช้คนในพื้นที่ โดยดึงเด็ก เยาวชน และชาวบ้านในพื้นที่ 5-6 คน มารวมกลุ่มกันทำ ส่วนการทำเรือพระก็จะแบ่งหน้าที่กันทำส่วนประกอบต่าง ๆ พญานาค ลวดลาย พระพุทธรูป ทั้งสกรีนลายดอก ฉลุลาย ตัดดอก ออกแบบ ทาสี วางผังที่จะทำเรือ โครงสร้าง
ในปีนี้ทางวัดก็ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่ ใช้โครงสร้างเหล็กทั้งหมด จะใช้ได้คงทน ใช้ได้นาน ปีหน้าอาจจะไม่ต้องรื้อ แต่จะปรับเปลี่ยนรูปโฉม ลายดอก ไปบ้าง ส่วนหลักของการทำเรือพระ ก็จะนำประวัติ ความเป็นมาทางพระพุทธศาสนา มาจัดสร้างเรือพระ ในอดีตที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จลงมาจากสวรรค์ทางบันไดชั้นดาวดึงส์ เพื่อมาโปรด 3 โลก คือ โลกมนุษย์ สวรรค์ นรก ก็จะมีพระพุทธรูปอยู่ที่บุศบก 1 องค์ พญานาค บันไดเงิน บันไดทอง เทวาดา (สวรรค์) โลกมนุษย์ (คน) และเปรต รวมทั้งส่วนอื่น ๆ
เรือพระนี้ได้เริ่มทำมาร่วม 2 เดือนแล้ว คาดว่าจะแล้วเสร็จในวันที่ 13 ตุลาคม 2562 วันที่ 14 ตุลาคม 2562 ก็จะต้องลากเรือพระ แห่ไปรวมที่ศูนย์เยาวชนเทศบาลนครยะลา ในช่วงเทศกาลวันออกพรรษา ช่วงนี้ก็เหลือเวลา 2 อาทิตย์กว่า ก็จะต้องเร่งทำให้เสร็จ ตอนนี้อุปกรณ์พร้อมหมดแล้ว เหลือขั้นตอนประดับตกแต่ง ติดดอก ติดลาย ติดไฟ ที่เรือพระ ซึ่งจะต้องรอทำโครงสร้างเรือให้เสร็จก่อนเท่านั้น
สำหรับการทำเรือพระ นอกจากชาวบ้านที่มาร่วมกันทำ จะได้ร่วมกันสืบสานวัฒนธรรม ประเพณีของภาคใต้ แล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างให้คนในชุมชน เกิดความรักความสามัคคี อีกด้วย
ขอบคุณข้อมูลข่าวและที่มา : สทท.ยะลา