พระร้องไห้ ...ฉากที่โดนแบน สะท้อนความจริงของสังคมไทย ?
ชาวพุทธเราจะต้องมีสามัญสำนึกบ้างไม่ใช่ว่าอะไรๆก็เสนอความจริงๆ ถ้าสิ่งที่เสนอความจริงมันมีอยู่เกินเลยความจริงจนกลายเป็นความเลยเถิดไปแล้วผมว่ามันอาจจะเป็นความเสียหายมากกว่าที่จะเป็นเพียงการเสนอความจริงไปก็ได้ http://winne.ws/n25302
บทความดี ๆ จาก Naga King ที่ให้ข้อคิดมุมมองที่มีสาระประโยชน์ ชี้ให้เห็นโทษต่อพระพุทธศาสนาจากการ นำคนมาแสดงเป็นพระซึ่งเป็นสิ่งที่สังคมไทย ชาวพุทธเราเคารพกราบไหว้บูชา แต่นำพระมาเล่นตลกโปกฮา ดราม่าแบบชาวโลก ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่งแม้จะหาข้ออ้างมา พระเพิ่งบวชไม่กี่วัน หรือพระก็ร้องไห้ นี่ไม่ใช่สิ่งที่ควรนำมากล่าวอ้าง เพราะสื่อที่สื่อออกไปคนดูมากมายหลายเพศหลายวัยและที่สำคัญแต่ละคนคิดไม่เหมือนกันเด็กคิดอย่างผู้ใหญ่คิดอย่าง คนฉลาดคิดอย่างคนไม่ฉลาดคิดอีกอย่าง แต่สรุปมีแต่ผลเสียต่อภาพลักษณ์ของพระพุทธศาสนา
แอดมินขอนำบทความ ของNaga King มาให้ใช้สติปัญญาตรองตามกันเลยค่ะ
ภาพยนตร์ที่นำคนมาแสดงเป็นพระให้ดูตลกโปกฮา
ผมว่าเรื่องพระร้องไห้ที่ปรากฏในภาพยนต์เรื่องไทบ้าน เดอะซีรี่ย์ 2 นั้น ต้องมองให้รอบคอบ ผมเข้าใจคณะกรรมการที่แบบฉากนี้ในฐานะที่ผมเป็น "อดีตพระ"มาก่อน เรื่องเกี่ยวกับพระร้องไห้นี้ถามว่าในพระไตรปิฎกมีไหม ก็มีครับ แต่เป็นเรื่องที่ท่านจะกล่าวถึง "ตัวสภาวะอารมณ์"ของพระที่ยังจัดว่าเป็น "พระที่มีกิเลส หรือเป็นปุถุชน"อยู่ เมื่อพระภิกษุยังไม่สิ้นกิเลสก็จะยังต้องมีความรู้สึก "อ่อนไหว"กับอารมณ์ที่เข้ามากระทบได้ เช่น รู้สึกดีใจ เสียใจ เหนื่อย อ่อนแอหรือท้อถอยได้ พระกลุ่มนี้จัดเป็นพระที่ยังไม่สิ้นกิเลสนั่นเอง ดังนั้น การร้องไห้ของพระปุถุชนจึงถือว่าเป็นเรื่องธรรมดามาก
แต่...ที่ไม่ธรรมดานผมต้องเห็นคล้อยตามคณะกรรมการตัดสินก็คือ "การร้องไห้แบบเกินพอดี" ของผู้แสดงที่ผู้กำกับต้องการสื่อสภาพอารมณ์ของผู้แสดงต่างหากที่เป็นปัญหา กล่าวคือ
(๑)พระนักแสดงในหนังนั้นออกอาการมากเกินไป ฟูมฟายจนเสียสมณสารูป คือเป็นการร้องไห้แบบพระอินดี้เกินจริงหรือเกินพอดีทำให้ผู้ชมที่เป็นชาวพุทธทั่วไป โดยเฉพาะคนวัดดูแล้วมันค่อนข้างขัดตาพอสมควร ไม่ต้องนึกถึงคนที่ไม่ใช่ชาววัดดูภาพการร้องไห้ของพระแล้วอาจจะนึกประณามในใจว่า "พระห่...อะไรว่ะไม่สำรวมเลย" แบบนี้ก็อาจจะเป็นไปได้
(๒) อารมณ์ที่แสดงออกภายใต้ผ้าเหลือง หากผู้กำกับจะลดโทนความแรงของการร้องไห้หรือภาวะอารมณ์ในฉากดังกล่าวลงผมว่มันก็สามารถที่จะเป็นไปได้ ความจริงพระนักแสดงที่กำลังร้องไห้นั้น อาจจะไม่ได้ร้องไห้ฟูมฟายอะไรแบบนั้นก็ได้ เนื่องจากพระอยู่ในสถานการณ์ที่มีคนอยู่เป็นจำนวนมาก พระอาจจะสะกัดกั้นความสูญเสียที่เกิดขึ้นก่อนที่จะดำเนินเรื่องไปถึงตอนที่สูญเสียคนรักทั้งที่เรียกว่า แฟน และที่เรียกว่า พ่อ ก็ได้ คือหากปรับให้ภาพลักษณ์พระภิกษุในพระศาสนานี้ให้มีความ่อ่นโยนลงไปบ้าง
ผมว่าบางเรื่องต้องแยกออกระหว่าง (๑) การแสดง และ (๒) สถานภาพและความเป็นจริงทางสังคม ผมเคยพูดกับบรรดาพรรคพวกเพื่อนฝูงมาหลายครั้งว่า คนสร้างหนังปัจจุบันนี้นิยมเอาพระไปเป็นตัวตลกหรือตัวจำอวดในการแสดง แทนที่จะเสนอภาพที่ดีของพระกลับเอาพระไปเล่นตลก ซึ่งผมว่ามันเสียภาพพจน์ที่ดีของนักบวชหรือนักการศาสนา ซึ่งความไม่เคารพผ้าเหลืองหรือผ้ากาสาวพัตร์ของพระพุทธเจ้านี้มันลามปามไปจนถึงการแต่งชุดพระขึ้นไปร้องเพลงของนักร้องที่กำแพงเพชร ผมว่าอย่าให้มันต้องลามปามไปถึงขั้นการนำพระหรือชุดของพระไปแสดงแล้วด่าว่า "ไอ้โล้น"อีกเลย
ก็อย่างว่า สังคมบ้านเรามีองค์กรสงฆ์ก็เหมือนไม่มี แม้แต่มีสำนักงานพระพุทธศาสนากระจายอยู่ตามจังหวัดต่างๆก็เหมือนไม่มีเพราะไม่ไ้ทำอะไรให้เป็นชิ้นเป็นอันเลยสักอย่าง ไม่มีข้อโต้แย้งหรือแสดงทัศนะหรือความเห็นเกี่ยวกับการรักษาพระศาสนาเลย อันนี้ขอพูดแรงๆสักเล็กๆน้อยๆ หรือองค์กรทางด้านพระพุทธศาสนาในบ้านเราเป็นง่อยกันหมดแล้วหรือก็ไม่รู้เพราะเท่าที่เห็นขนาดมีคนออกมาพยากรณ์พระอรหันต์กันเต็มบ้านเต็มเมืองท่านยังอุเบกขาและนิ่งอยู่ได้แบบไม่รู้ร้อนรู้หนาวอะไรเลยแม้แต่น้อย หรือความเป็นพระหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพระนั้นมีเพียงรูปแบบกันแล้วไม่ได้มีชีวิตจิตใจหรือการตัดสินปัญหากันแล้ว ถ้าไม่ทำอะไรๆกันเลยผมว่า "มีก็เหมือนไม่มี"เพราะมันไม่ได้แตกต่างอะไรกันนัก
ถามว่าพระร้องไห้ในพระไตรปิฎกมีไหม (ถามอีกที) มีครับมันเป็นเรื่องปกติของปุถุชน ซึ่ความจริงในพระไตรปิฎกจะมีหรือไม่มีผมว่ามันคนล่ะชุดคำถามกับคำว่า เอามาแสดงได้หรือไม่ได้ ถ้ามีแล้วไม่เอามีแสดงกับมีแล้วเอามาแสดงเพิ่มแอ๊คติ้งเข้าไปแล้วยำให้เละ มันคนละความหมายกับคำว่ามีหรือไม่มี กรณีพระร้องไห้ในพระไตรปิฎกท่านนำเสนอความจริงเพื่อให้เห็น
(๑) ความประพฤติผิดของพระ เช่น ในพระวินัย
(๒) ความรู้สึกของพระที่ยังไม่ได้บรรลุธรรม
(๓)ความเป็นอนิจจังของสังคม ซึ่งทั้งหมดนี้ท่านเสนอผ่านคัมภีร์ไม่ได้นำเอามาเปิดเผยหรือแสดง ๑.เพื่อให้เป็นจำอวดในหนัง ๒. เพื่อให้เห็นภาพลักษณ์ที่หมิ่นเหม่ของพระ
บางครั้งในแง่ของการเผยแผ่พระศาสนา ชาวพุทธเราจะต้องมีสามัญสำนึกบ้างไม่ใช่ว่าอะไรๆก็เสนอความจริงๆ ถ้าสิ่งที่เสนอความจริงมันมีอยู่เกินเลยความจริงจนกลายเป็นความเลยเถิดไปแล้วผมว่ามันอาจจะเป็นความเสียหายมากกว่าที่จะเป็นเพียงการเสนอความจริงไปก็ได้ เช่น ในหนังเรื่อง ๑๔ ค่ำเดือน ๑๒ มีภาพพระวิ่งกันลงน้ำโขงและเอาคนแคระมาแสดงเป็นพระเพื่อให้เกิดความตลกโปกฮา หรือเรื่องอื่นๆอีกหลายเรื่องผมว่ามันตลกมากหรือที่เอาพระมาเล่นจำอวดแบบนี้ ไม่รู้แหละแต่ผมเห็นพระในหนังโดยมากแล้วบ้านเราไม่ค่อยให้เกียรติกับภาพลักษณ์ของความเป็นพระกันเลยทั้งๆที่ปวารณาตัวกันว่าเป็นชาวพุทธ แต่เอาภาพลักษณ์ของบุคลากรทางพระพุทธศาสนาไปเล่นกันแบบนี้ ผมดูแล้วและเคยพูดหลายครั้งว่า "ไม่เหมาะสม" ซึ่งไม่ได้หมายความว่ามันมีความผิดนะครับ
Cr.Naga king
ขอบคุณบทความดี ๆ จาก
เฟซบุ๊ก Naga King