พระผู้ใหญ่ไม่ใช่กรณีเงินทอน แต่ จนท.พศ.อนุมัติงบฯผิดประเภท ?!
กรณีดังกล่าวเป็นที่ชัดเจนว่า งบประมาณมาจาก สำนักพระพุทธศาสนาฯ โดยผู้ที่จัดสรรอนุมัติงบ คือ เจ้าหน้าที่สำนักพระพุทธศาสนาฯ ดังนั้น เมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้น ควรต้องมีการตรวจสอบการจัดสรรอนุมัติงบประมาณจากเจ้าหน้าที่ http://winne.ws/n23921
จากกรณีของ พระผู้ใหญ่ ทั้ง 5 รูปที่ถูกกล่าวหาว่ามีความผิดฐานทุจริตงบประมาณเงินอุดหนุนการศึกษาพระปริยัติแผนกต่างๆซึ่ง ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจว่า เป็นกรณีเดียวกันกับ “เงินทอนวัด” นั้น จากการตรวจสอบของ นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาสอดีตผู้ว่าการการตรวจเงินแผ่นดิน ได้แสดงความคิดเห็นชี้แจงไว้ว่า
“กรณีพระผู้ใหญ่ไม่ควรเรียกว่าเงินทอนวัด เพราะจะไปซ้ำกับกรณีการโอนเงินไปให้วัด แล้วก็ไปขอพระคืนมา 80 % ตามที่มีการตรวจสอบและจับได้
กรณีของพระผู้ใหญ่ไม่ใช่เงินทอน เพราะเป็นกรณีว่า เงินงบประมาณสนับสนุนปริยัติธรรมของสำนักพระพุทธศาสนาในแต่ละปีอาจมีการประมาณการแล้วเหลือจ่าย ซึ่งเพื่อให้งบประมาณนั้นเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ก็ต้องใช้ให้ใกล้เคียงความจริง ก็หาวิธีการมาสนับสนุนวัดในส่วนกลาง
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วัดที่มีพระผู้ใหญ่ ที่วัดสระเกศ เราก็เห็นหลักฐานว่า ขอมาแล้วก็ใช้ตามที่ขอ และในการตอบรับยังยืนยันว่า จะใช้จ่ายอยู่ในกรอบ แล้วก็มีการใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งทางสำนักงานพระพุทธศาสนาฯก็รู้อยู่แล้ว ว่าจะไปใช้จ่ายในเรื่องอะไร ส่วนทางสำนักพุทธฯ จะไปโยกงบมายังไง จะเอาเงินอะไรมาให้อันนั้นจะไม่เกี่ยวกับวัด เพราะวัดไม่มีหน้าที่ วัดไม่ใช่ส่วนราชการ ที่ต้องไปรู้ว่าเงินพวกนี้ต้องเอาไปใช้จ่ายเหลือต้องเอาไปทำอะไรคืนหรืออย่างไร ก็เมื่อรับมาเป็นเงินก้อนเป็นเงินอุดหนุน แล้วก็เข้ามาในบัญชีวัด เวลาใช้จ่ายวัดมีอยู่หลายบัญชี ก็ใช้จ่ายกันไป ที่นี้รับเข้ามาแล้ว ถามว่ามีเงินทอนไหม เท่าที่ดูแล้วไม่มีเงินทอน”
ต่อคำถามว่าแล้วผิดอย่างไร ? “ ก็เป็นเรื่องที่งงๆ อยู่ว่า ไปว่าท่านผิดหรือ ถึงขั้นปาราชิก ทุจริต ยังไง” อดีตผู้ว่า สตง. กล่าว
กรณีดังกล่าวเป็นที่ชัดเจนว่า งบประมาณมาจาก สำนักพระพุทธศาสนาฯ โดยผู้ที่จัดสรรอนุมัติงบคือ เจ้าหน้าที่สำนักพระพุทธศาสนาฯ
ดังนั้น เมื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้นควรต้องมีการตรวจสอบการจัดสรรอนุมัติงบประมาณจากเจ้าหน้าที่ สำนึกพระพุทธศาสนาที่ทำการอนุมัติเงินที่ทำให้เกิดการใช้เงินแบบผิดประเภทนั้นคือ ขั้นตอนสำคัญที่ต้องไม่ละเลย
อีกกรณีหนึ่งที่ต้องคิดให้รอบคอบ คือ การด่วนดำเนินการที่นำไปสู่การสละสมณะเพศของพระผู้ใหญ่นั้น เป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุไหม ? เพราะผลกระทบก่อให้เกิดความเสียหายต่อพระพุทธศาสนาไม่น้อย หรือถ้าจะมองให้ไกลไปอีกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือสิ่งที่มีมากกว่ากฎหมาย อันเป็นกฎสมมุติทางโลก ซึ่งเป็นการกำหนดขึ้นของมนุษย์ในสังคมหนึ่งๆนั่นคือ กฎแห่งกรรม ที่ผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายพึ่งควรไตร่ตรองในการกระทำต่อความเป็นส่วนหนึ่งของพระรัตนตรัยให้ละเอียดถี่ถ้วน
เรียบเรียงโดย โฆษิกา
ขอบคุณบทสัมภาษณ์ อดีตผู้ว่า สตง. จาก สำนักข่าว TNN
บทความที่เกี่ยวข้อง
ปัญหาจากคดีอาญาพระ
https://www.thairath.co.th/content/1294836