มส. vs พศ. ความไว้วางใจคนใกล้ตัวตามประสาพระ
วิธีการต่าง ๆ ต้องทำโดยเจ้าหน้าที่พศ. วัดเป็นเพียงผู้ทำเรื่องเสนอของบฯ เท่านั้น การจัดสรรงบฯ ก็ขึ้นอยู่กับงบฯที่มีอยู่ และโอนให้แก่วัดตามที่จัดสรรโดยที่พระหรือวัดไม่ได้มีส่วนรู้เห็นกับวิธีการอนุมัติงบฯ ของ พศ." http://winne.ws/n23434
ความไว้วางใจคนใกล้ตัว มักนำความเสียหายมาให้แก่ตัวผู้ไว้ใจง่ายที่สุด เรื่องราวระหว่าง พระ กับ เด็กวัด ที่เป็นประเด็นระหว่างสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กับ มหาเถรสมาคม ก็เป็นไปในทำนองนั้น
โดยบทบาทหน้าที่แล้ว พศ. คือผู้สนองงานคอยให้ความคุ้มครองช่วยเหลือสนับสนุนกิจการของมหาเถรสมาคมแต่การณ์กลับเป็นว่ากลายมาเป็นการสร้างมลทินสร้างความขัดข้องให้กับวงการคณะสงฆ์ซึ่งดูท่าจะเป็นไปคนละทิศกับวัตถุประสงค์ที่ พศ. มีไว้
ประชาชนที่รับข่าวสารที่โดยปกติก็ไม่ได้คลุกคลีใกล้ชิดกับวิถีของพระภิกษุ อ่านพาดหัวข่าวแล้ว ก็อาจเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนไปไกลว่าพระโกง พระไปทุจริตหลอกลวงเอาเงินจากทางราชการมาใช้ในทางไม่ชอบ
ซึ่ง ณ ตรงนี้ต้องทำความเข้าใจให้ชัดถึงเส้นทางของเงิน ว่าเงินงบประมาณนั้น เริ่มต้นมาจาก การนำเสนอโดย เจ้าหน้าที่ พศ. และก็เจ้าหน้าที่พศ. เองที่เป็นผู้จัดการเอกสารต่างๆ ส่วนพระ ก็คงทำตามด้วยความไว้วางใจตามวิถีของพระว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของสำนักงานทางราชการ และอยู่ในระดับสูงด้วย คงจะยึดมั่นในศีลธรรมจริยธรรมโดยสุจริต แต่ก็เป็นเพราะทำตามคำแนะนำด้วยความไว้วางใจนั้นเอง จึงกลายเป็นเหยื่อตกเป็นผู้ถูกกล่าวหาของระบบทุจริตอย่างน่าสะเทือนใจที่สุด
นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส อดีตผู้ว่าการการตรวจเงินแผ่นดิน กล่าวว่า "จากการได้ติดตามข่าวการตรวจสอบการทุจริตเงินอุดหนุนพระปริยัติธรรมและเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในฐานะชาวพุทธและผู้ตรวจสอบภาคประชาชน รู้สึกเป็นห่วงเนื่องจากสังคมกำลังสับสนเกี่ยวกับเรื่องเงินทอนวัด กับกรณีงบฯการศึกษาพระปริยัติธรรม ที่ทาง พศ.ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษ 5 พระเถระ กล่าวคือเรื่องเงินทอนวัดนั้น เกิดจากเจ้าหน้าที่พศ.ดำเนินการโดยมิชอบด้วยวิธีการหักค่าหัวคิว
ส่วนกรณีงบฯ การศึกษาพระปริยัติธรรม เป็นการกล่าวหาว่า 5 พระเถระนำงบฯ นี้ไปใช้ดำเนินการในส่วนที่ไม่ใช่การศึกษาพระปริยัติธรรมซึ่งหากมองตามหลักการแล้ว การตั้งงบฯ ดังกล่าว รวมทั้งการ โยกงบฯ ที่จะมาให้แก่วัดการตั้งเรื่องอนุมัติงบฯ วิธีการต่าง ๆ ต้องทำโดยเจ้าหน้าที่พศ.วัดเป็นเพียงผู้ทำเรื่องเสนอของบฯ เท่านั้น การจัดสรรงบฯ ก็ขึ้นอยู่กับงบฯที่มีอยู่ และโอนให้แก่วัดตามที่จัดสรรโดยที่พระหรือวัดไม่ได้มีส่วนรู้เห็นกับวิธีการอนุมัติงบฯ ของ พศ."
นายพิศิษฐ์ กล่าวต่อว่า "เท่าที่ได้เห็นเอกสารการเสนอขอรับงบฯ ในปี 2556-2557ของวัดที่เป็นข่าวอยู่นั้น จะเขียนแบบกว้าง ๆ เพื่อที่จะได้บริหารจัดการงบฯในการทำงานได้สะดวก โดยเมื่อวัดได้รับงบฯ มาแล้ว ก็ขึ้นอยู่กับวัดหากนำไปใช้ในกิจการพระพุทธศาสนาของวัด
โดยไม่ได้นำงบฯ ไปให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ก็ถือว่าทำได้ แต่ถ้านำงบฯไปใช้ในนามบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ถือว่าเข้าข่ายทุจริต
นอกจากนี้วิธีในการผันงบฯ ของหน่วยงานราชการ ไปใช้ในอีกโครงการหนึ่งก็ถือว่า เป็นวิธีการที่หน่วยงานราชการปฏิบัติกัน เรียกว่า การบริหารจัดการงบฯทั้งนี้แนวปฏิบัติของสตง.จะดูที่เจตนาการใช้งบฯ ด้วยว่า ทำเพื่อประโยชน์ของประชาชนสังคม ประเทศชาติหรือไม่ อาจจะไม่ตรงวัตถุประสงค์แบบไม้บรรทัดแต่เมื่อเป้าหมายที่ออกมาเกิดประโยชน์และชี้แจงที่มาที่ไปได้ก็จะถือว่าไม่มีเจตนาทุจริต
ดังนั้นจึงเชื่อว่า พระสงฆ์ไม่ได้มีส่วนรู้เห็นวิธีการอนุมัติเงินงบฯเนื่องจากก่อนที่วัดจะเป็น
ผู้ขอเสนองบฯ นั้น ทาง พศ.จะต้องแจ้งว่า มีงบฯ หรือไม่โดยเจ้าหน้าที่พศ.ต้องให้คำแนะนำ"
โดยบทบาทหน้าที่ของ พศ. แล้ว ควรเป็นผู้ให้ความรู้ ให้คำแนะนำและช่วยเหลือพระในเรื่องดังกล่าว จึงจะเหมาะสมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นหน่วยงานที่มีไว้เพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
แต่แทนที่เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นจะมีการพูดคุยศึกษาปรึกษาหารือกันก่อนว่าเรื่องเป็นมาเป็นไปอย่างไร แต่กลับตั้งข้อกล่าวหาฟ้องร้อง ถึงขั้นปาราชิก( ซึ่งถ้าจะว่ากันในเรื่องพระวินัยแล้ว นั้นก็ยิ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ที่ไม่ใช่จะด่วนกล่าวหากันง่ายๆ)
ทั้งหมดนั้นก่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงและกระทบศรัทธาของพระพุทธศาสนาซึ่งไม่ได้ก่อให้เกิดผลดีต่อใครเลยแม้แต่คนเดียว ... เมื่อพิจารณาตามบทบาทหน้าที่ของพศ. แล้ว คงต้องทบทวนกันอย่างจริงจังว่า การกระทำดังกล่าวสมควรหรือไม่
ขอบคุณภาพจาก http://fangnapost.com
บทความที่เกี่ยวข้อง
ต้นตอทุจริตเงินทอนวัด
https://www.thairath.co.th/content/1266702
บทบาทหน้าที่ของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติที่ประชาชนควรรู้
https://www.winnews.tv/news/23423
สอบกรรมการมหาเถรฯ ทุจริต | ถามตรงๆกับจอมขวัญ | 25 เม.ย. 61
https://www.youtube.com/watch?v=rDnJSY7j9kY