พระสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญของโลก คำว่าเนื้อนาบุญเป็นเช่นไร ยิ่งใหญ่เพียงใด ?

เพราฉะนั้นการทำบุญนี่ เมื่อทำกับพระภิกษุผู้ทรงศีล อานิสงฆ์ผลบุญเกิดขึ้นมามหาศาล เหมือนกับว่าทำไปนิดหน่อยแล้วผลมันเกิดมาก ลงข้าวเม็ดเดียวออกรวงนี่เบ้อเริ้มเลย เพราะท่านเป็นเนื้อนาบุญที่ดี เพราะศีลและธรรมะที่ท่านรักษาอยู่นั้นเอง เจริญพร http://winne.ws/n17611

1.5 หมื่น ผู้เข้าชม

คำถาม : เนื้อนาบุญหมายความว่าอย่างไรค่ะ

พระอาจารย์ : พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ตรัสว่า...

พระสงฆ์นี่เป็นเนื้อนาบุญของโลกเวลาเราสวดสรรเสริญพระสังฆคุณคำว่า ปุณญเขตตัง นี่แปลว่าเนื้อนาบุญนี่นะนั้นหมายถึงว่า....

     ถ้าชาวนาจะทำนาก็ต้องเลือกเนื้อนาดีใช่ไหมเอ่ย ดินดีน้ำท่าอุดมสมบูรณ์เมื่อหว่านพืชพรรณลงไปแล้วนี่ข้าวก็งอกงามออกรวงเยอะแยะเลยถ้าเกิดว่าไปทำนาบนที่ดอนน้ำไม่พอน้ำแห้งดินก็ไม่ดีนี่มันก็ได้ข้าวออกรวงนิดหน่อย เผลอๆ ตายตั้งแต่ยังไม่ออกรวงเลยก็มี

      เพราฉะนั้นการทำบุญนี่ เมื่อทำกับพระภิกษุผู้ทรงศีล อานิสงฆ์ผลบุญเกิดขึ้นมามหาศาล เหมือนกับว่าทำไปนิดหน่อยแล้วผลมันเกิดมาก ลงข้าวเม็ดเดียวออกรวงนี่เบ้อเริ้มเลย เพราะท่านเป็นเนื้อนาบุญที่ดี เพราะศีลและธรรมะที่ท่านรักษาอยู่นั้นเอง เจริญพร

พระสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญของโลก คำว่าเนื้อนาบุญเป็นเช่นไร ยิ่งใหญ่เพียงใด ?

เนื้อนาบุญ หมายถึง ผู้ที่สมควรรับ ควรเจริญกุศลด้วย และทำให้เกิดผล

บุญมากเพราะ มีคุณธรรมมาก และมีพระคุณต่อผู้นั้นมาก นั่นเองครับ มีพระพุทธเจ้า

พระอริยสาวก รวมทั้งมารดา บิดาที่มีพระคุณมากกับบุตร ครับ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒๒ - หน้าที่ 130

    สงฆ์ทั้งหลายก็ดี  คณะทั้งหลายก็ดี   มีประมาณเท่าใด  สงฆ์สาวกของตถาคต 

ปราชญ์กล่าวว่าเป็นยอดแห่งสงฆ์แห่งคณะทั้งปวงนั้น   สงฆ์สาวก ของตถาคตคือ

ใคร    คือคู่แห่งบุรุษ    ๔   บุรุษบุคคล  ๘      นี่สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า  

ผู้ควรของคำนับ ผู้ควรของต้อนรับ  ผู้ควรของทำบุญผู้ควรทำอัญชลี ผู้เป็นนาบุญ

ของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า สัตว์เหล่าใดเลื่อมใสในพระสงฆ์ สัตว์เหล่านั้นจึงชื่อ

ว่าเลื่อมใสในวัตถุอันเลิศ   เมื่อเลื่อมใสในวัตถุอันเลิศ  ก็ย่อมได้ผลอันเลิศ.

พระสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญของโลก คำว่าเนื้อนาบุญเป็นเช่นไร ยิ่งใหญ่เพียงใด ?

แต่ก็ยังมีได้บุญมากกว่าทำกับพระสงฆ์อีกนะ

1 . ทำทานแก่สัตว์เดรัจฉาน แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่มนุษย์ แม้จะเป็นมนุษย์ที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรมเลยก็ตาม ทั้งนี้เพราะสัตว์ย่อมมีวาสนาบารมีน้อยกว่ามนุษย์และสัตว์ไม่ใช่เนื้อนาบุญที่ดี

2 . ให้ทานแก่มนุษย์ที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรมวินัย แม้จะให้มากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้ที่มีศีล 5 แม้จะให้เพียงครั้งเดียวก็ตาม

3 . ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล 8 แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้มีศีล 8 แม้จะให้เพียงครั้งเดียวก็ตาม

4 . ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล 8 แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานแก่ผู้มีศีล 10 คือสามเณรในพุทธศาสนา แม้จะได้ถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

5 . ถวายทานแก่สามเณรซึ่งมีศีล 10 แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานดังกล่าวแก่พระสมมุติสงฆ์ ซึ่งมีศีลปาฏิโมกข์สังวร 227 ข้อ

พระด้วยกันก็มีคุณธรรมแตกต่างกัน จึงเป็นเนื้อนาบุญที่ต่างกัน บุคคลที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนามีศีลปาฏิโมกข์สังวร 227 ข้อนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ตรัสเรียกว่าเป็น " พระ " แต่เป็นเพียงพระสมมุติเท่านั้น เรียกกันว่า " สมมุติสงฆ์ " 

พระสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญของโลก คำว่าเนื้อนาบุญเป็นเช่นไร ยิ่งใหญ่เพียงใด ?

พระที่แท้จริงนั้น หมายถึงบุคคลที่บรรลุคุณธรรมตั้งแต่พระโสดาปัตติผลเป็นพระโสดาบันเป็นต้นไป ไม่ว่าท่านผู้นั้นจะได้บวชหรือเป็นฆราวาสก็ตาม นับว่าเป็น " พระ " ทั้งสิ้น และพระด้วยกันก็มีคุณธรรมต่างกันหลายระดับชั้น จากน้อยไปหามากดังนี้คือ " พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธมเจ้า " และย่อมเป็นเนื้อนาบุญที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

6 . ถวายทานแก่พระสมมุติสงฆ์ แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานแก่ - พระโสดาบัน แม้จะได้ถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม ( ความจริงยังมีการแยกเป็นพระโสดาปัตติมรรคและพระโสดาปัตติผล ฯลฯ เป็นลำดับไปจนถึงพระอรหัตผล แต่ในที่นี้จะกล่าวแต่เพียงย่นย่อพอให้ได้ความเท่านั้น )

7 . ถวายทานแก่พระโสดาบัน แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระสกิทาคามี แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

8 . ถวายทานแก่พระสกิทาคามี แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระอนาคามี แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

9 . ถวายทานแก่พระอนาคามี แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระอรหันต์ แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

10 . ถวายทานแก่พระอรหันต์ แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

11 . ถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแด่พระองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

12 . ถวายทานแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายสังฆทานที่มีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะถวายสังฆทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

พระสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญของโลก คำว่าเนื้อนาบุญเป็นเช่นไร ยิ่งใหญ่เพียงใด ?

13 . การถวายสังฆทานที่มีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่า " การถวายวิหารทาน " แม้จะได้กระทำแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม " วิหารทาน ได้แก่การสร้างหรือร่วมสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ศาลาโรงธรรม ศาลาท่าน้ำ ศาลาที่พักอาศัยคนเดินทางอันเป็นสาธารณะประโยชน์ที่ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน " 

อนึ่ง การสร้างสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์หรือสิ่งที่ประชาชนใประโยชน์ร่วมกัน แม้จะไม่เกี่ยวเนื่องกับกิจในพระพุทธศาสนา เช่น " โรงพยาบาล โรงเรียน บ่อน้ำ แท็งก์น้ำ ศาลาป้ายรถยนต์โดยสารประจำทาง สุสาน เมรุเผาศพ " ก็ได้บุญมากในทำนองเดียวกัน

14 . การถวายวิหารทาน แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ( 100 หลัง ) ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ " ธรรมทาน " แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม " การให้ธรรมทานก็คือการเทศน์ การสอนธรรมะแก่ผู้อื่นที่ยังไม่รู้ให้รู้ได้ ที่รู้อยู่แล้วให้รู้ยิ่งๆขึ้น ให้ได้เข้าใจมรรค ผล นิพพาน ให้ผู้ที่เป็นมิจฉาทิฐิได้กลับใจเป็นสัมมาทิฐิ ชักจูงผู้คนให้เข้าปฏิบัติธรรม รวมตลอดถึงการพิมพ์การแจกหนังสือธรรมะ "

15 . การให้ธรรมทาน แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ " อภัยทาน " แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม การให้อภัยทานก็คือ " การไม่ผูกโกรธ ไม่อาฆาตจองเวร ไม่พยาบาทคิดร้ายผู้อื่นแม้แต่ศัตรู " ซึ่งได้บุญกุศลแรงและสูงมากในฝ่ายทาน เพราะเป็นการบำเพ็ญเพียรเพื่อ " ละโทสะกิเลส " และเป็นการเจริญ " เมตตาพรหมวิหารธรรม " อันเป็นพรหมวิหารข้อหนึ่งในพรหมวิหาร 4 ให้เกิดขึ้น อันพรหมวิหาร 4 นั้น เป็นคุณธรรมที่เป็นองค์ธรรมของโยคีบุคคลที่บำเพ็ญฌานและวิปัสสนา 

ผู้ที่ทรงพรหมวิหาร 4 ได้ย่อมเป็นผู้ทรงฌาน ซึ่งเมื่อเมตตาพรหมวิหารธรรมได้เกิดขึ้นแล้วเมื่อใด ก็ย่อมละเสียได้ซึ่ง " พยาบาท " ผู้นั้นจึงจะสามารถให้อภัยทานได้ การให้อภัยทานจึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและยากเย็น จึงจัดเป็นทานที่สูงกว่าการให้ทานทั้งปวง

อย่างไรก็ดี การให้อภัยทานแม้จะมากเพียงใด แม้จะชนะการให้ทานอื่น ๆ ทั้งมวล ผลบุญนั้นก็ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า " ฝ่ายศีล " เพราะเป็นการบำเพ็ญบารมีคนละขั้นต่างกัน ให้มากกว่าระดับศีลอีกก็คือ "ภาวนา" อย่างหลังนี้เป็นบุญใหญ่ที่สุด....

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10213736342544429&id=1281720771 

www.google.co.th

แชร์