"ตำนานยักษ์วัดแจ้งและยักษ์วัดโพธิ์" และตำนานกำเนิดท่าเตียน

ตำนานเรื่องเล่า หลายคนคงเคยได้ยินตำนานกำเนิดท่าเตียน ที่เล่าปากต่อปากกันมาว่า บริเวณท่าเตียนอันเป็นพื้นที่โล่งเตียนนั้น เป็นผลจากการต่อสู้ของ “ยักษ์วัดแจ้ง” กับ “ยักษ์วัดโพธิ์” โดยมี “ยักษ์วัดพระแก้ว” เป็นผู้ห้ามทัพ http://winne.ws/n10179

1.0 แสน ผู้เข้าชม

“ยักษ์วัดแจ้ง” มี ๒ ตนคือ ยักษ์ด้านเหนือกายสีขาว มีชื่อว่า “สหัสเดชะ” ส่วนยักษ์ด้านใต้กายสีเขียว มีชื่อว่า “ทศกัณฐ์” ยืนเฝ้าที่ประตูซุ้มยอดมงกุฎทางเข้าพระอุโบสถ วัดอรุณราชวราราม

"ตำนานยักษ์วัดแจ้งและยักษ์วัดโพธิ์"  และตำนานกำเนิดท่าเตียน

ยักษ์” เป็นอมนุษย์ชนิดหนึ่ง มีกล่าวถึงทั้งในทางศาสนาและวรรณคดี 

เป็นความเชื่อของไทยที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ 

โดยเชื่อว่ายักษ์มีหลายระดับขึ้นอยู่กับบุญบารมี ยักษ์ชั้นสูงจะมีวิมานเป็นทอง 

มีรูปร่างสวยงาม ปกติไม่เห็นเขี้ยว เวลาโกรธจึงจะมีเขี้ยวงอกออกมา 

ยักษ์ชั้นกลางส่วนใหญ่จะเป็นบริวารของยักษ์ชั้นสูง 

ส่วนยักษ์ชั้นต่ำที่บุญน้อยก็จะมีรูปร่างน่ากลัว ผมหยิกตัวดำผิวหยาบ นิสัยดุร้าย

จะเห็นได้ว่าในวัดวาอารามต่างๆ มักจะมียักษ์มาประกอบเป็นส่วนหนึ่งของวัด

หรือโบราณสถาน ไม่ว่าจะเป็นรูปปั้นยักษ์แบกพระเจดีย์ในวัดพระแก้ว 

รูปปั้นยักษ์แบกองค์พระปรางค์ในวัดแจ้ง หรือยักษ์วัดโพธิ์ เป็นต้น 

ซึ่งตามตำนานเล่าว่า พระพุทธเจ้าได้เทศน์สั่งสอนยักษ์ให้ลดทิฐิมานะ

ยักษ์ที่ได้ฟังและเข้าใจในพระธรรม จึงได้กลายมาเป็นผู้อุปถัมภ์ค้ำชูพระพุทธศาสนา 

หรืออีกนัยหนึ่งก็หมายถึง ผู้แบกสรวงสวรรค์ และทำหน้าที่เป็นผู้ปกป้องคุ้มครองสถูปสถาน 

และอาคารศักดิ์สิทธิ์ เพื่อเป็นการค้ำชูพระพุทธศาสนาให้มั่งคงและเจริญรุ่งเรืองสืบต่อมา

“ยักษ์วัดโพธิ์” มีเพียง ๒ คู่ ๔ ตนเท่านั้น คือ ยักษ์กายสีแดง, ยักษ์กายสีเขียว, ยักษ์กายสีเทา และยักษ์กายสีเนื้อ ตั้งเก็บไว้ในตู้กระจกหน้าซุ้มประตูทางเข้าพระมณฑป หรือหอไตรจตุรมุข ฃของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)

"ตำนานยักษ์วัดแจ้งและยักษ์วัดโพธิ์"  และตำนานกำเนิดท่าเตียน

ตำนานเรื่องเล่า หลายคนคงเคยได้ยินตำนานกำเนิดท่าเตียน 

ที่เล่าปากต่อปากกันมาว่า บริเวณท่าเตียนอันเป็นพื้นที่โล่งเตียนนั้น

เป็นผลจากการต่อสู้ของ “ยักษ์วัดแจ้ง” กับ “ยักษ์วัดโพธิ์”

โดยมี “ยักษ์วัดพระแก้ว” เป็นผู้ห้ามทัพ

ตำนานกำเนิดท่าเตียน มีว่า ยักษ์วัดโพธิ์ซึ่งทำหน้าที่ดูแลวัดโพธิ์

และยักษ์วัดแจ้งซึ่งทำหน้าที่ดูแลวัดแจ้งหรือวัดอรุณฯ ฝั่งตรงข้ามนั้น 

ทั้ง ๒ ตนเป็นเพื่อนรักกัน วันหนึ่งทางฝ่ายยักษ์วัดโพธิ์ไม่มีเงิน

จึงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปขอยืมเงินจากยักษ์วัดแจ้ง พร้อมทั้งนัดวันที่จะนำเงินไปส่งคืน 

เมื่อถึงกำหนดส่งเงินคืน ยักษ์วัดโพธิ์กลับไม่ยอมจ่ายหนี้ เบี้ยวเอาเสียดื้อๆ 

ยักษ์วัดแจ้งเมื่อรอแล้วรอเล่าจนทนไม่ไหว 

จึงตัดสินใจข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามาทวงเงินคืน แต่ยักษ์วัดโพธิ์ไม่ยอมให้ 

ดังนั้น ในที่สุดยักษ์ทั้ง ๒ ตนจึงเกิดการทะเลาะถึงขั้นต่อสู้กัน

แต่เพราะรูปร่างที่ใหญ่โตมหึมาและมีกำลังมหาศาลของยักษ์ทั้ง ๒ ตน 

เมื่อต่อสู้กันจึงทำให้ต้นไม้ในบริเวณนั้นถูกยักษ์ทั้งสองเหยียบย่ำจนล้มตายลงหมด 

หลังจากที่เลิกต่อสู้กันแล้วบริเวณที่ยักษ์ทั้งสองประลองกำลังกันนั้น

จึงราบเรียบเป็นหน้ากลองกลายเป็นสถานที่ที่โล่งเตียนไปหมด ไม่มีอะไรเหลือเลย

ซึ่งตามตำนานเรื่องเล่าดังกล่าวยังสรุปไม่ได้ว่า ยักษ์วัดไหนเป็นฝ่ายชนะ 

ครั้นเมื่อพระอิศวร (พระศิวะ) ได้ทราบเรื่องราวการต่อสู้กัน

ทำให้บรรดามนุษย์และสัตว์ทั้งหลายในบริเวณนั้นเดือดร้อน 

จึงได้ลงโทษโดยการสาปให้ยักษ์ทั้ง ๒ กลายเป็นหิน 

แล้วให้ยักษ์วัดโพธิ์ ทำหน้าที่ยืนเฝ้าหน้าพระอุโบสถ วัดโพธิ์ 

และให้ยักษ์วัดแจ้ง ทำหน้าที่ยืนเฝ้าพระวิหาร วัดแจ้ง เรื่อยมา 

ส่วนฤทธิ์จากการสู้รบของยักษ์ทั้งคู่ที่ทำชุมชนละแวกนี้ราบเรียบเป็นหน้ากลอง 

ทำให้ชาวบ้านพากันเรียกว่า “ท่าเตียน” เรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้

เมื่อคาดคะเนจากตำนานการต่อสู้ ยักษ์ทั้งสามน่าจะมีขนาดใกล้เคียงกัน 

หลายคนเลยเข้าใจผิดคิดว่า “ลั่นถัน นายทวารบาล” 

หรือตุ๊กตาสลักหินรูปทหารนักรบจีนขนาดใหญ่ที่ยืนถือศาสตราวุธ

เฝ้าซุ้มประตูเข้า-ออกในเขตพุทธาวาสของวัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) 

ซึ่งมีอยู่ทั้งหมดรวม ๓๒ ตัวนั้น คือ ยักษ์วัดโพธิ์ 

แต่โดยแท้จริงแล้ว “ยักษ์วัดโพธิ์” มีเพียง ๒ คู่ ๔ ตนเท่านั้น คือ

ยักษ์กายสีแดง, ยักษ์กายสีเขียว, ยักษ์กายสีเทา และ ยักษ์กายสีเนื้อ

ประติมากรรมรูปร่างเป็นยักษ์ไทย เขี้ยวแหลมโง้ง มือทั้งสองกุมไม้กระบองเป็นอาวุธ

ซึ่งทั้งหมดมีลักษณะคล้ายกับยักษ์ในวรรณคดีสำคัญเรื่องรามเกียรติ์ 

เช่นเดียวกับ “ยักษ์วัดพระแก้ว” หากแต่มีขนาดเล็กกว่ามาก

เล็กจนสามารถตั้งเก็บไว้ในตู้กระจกหน้าซุ้มประตูทางเข้าพระมณฑป (หอไตรจตุรมุข) ได้ 

ยักษ์วัดพระแก้ว” นายทวารบาลเฝ้าประตู ๒ ตน รูปยักษ์ยืนในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)

"ตำนานยักษ์วัดแจ้งและยักษ์วัดโพธิ์"  และตำนานกำเนิดท่าเตียน

ส่วนประวัติการสร้างเกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓

ได้มีการโปรดเกล้าฯ ให้รื้ออสูรที่ยืนเฝ้าประจำประตูทั้ง ๔ ประตูของวัดออกไป 

แล้วนำ “ลั่นถัน นายทวารบาล” หรือรูปตุ๊กตาสลักหินรูปทหารนักรบจีนขนาดใหญ่มาตั้งแทน

กาลนี้ได้โปรดเกล้าฯ ให้หล่อรูปยักษ์ปูนปั้นขนาดเล็ก สูงประมาณ ๑๗๕ เซนติเมตร 

จำนวน ๘ ตน ตั้งเก็บไว้ในตู้กระจกหน้าซุ้มประตูทางเข้าพระมณฑป (หอไตรจตุรมุข) 

ทั้ง ๔ ด้าน ด้านละ ๑ คู่ เพื่อให้ทำหน้าที่พิทักษ์รักษาหอพระไตรปิฎก 

(พระมณฑปหรือหอไตรจตุรมุข ใช้เป็นที่เก็บรักษาพระไตรปิฎก เรียกว่าหอพระไตรปิฎกก็ได้)

เมื่อครั้งทำระเบียงพระมหาเจดีย์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ 

ได้โปรดเกล้าฯ ให้รื้อซุ้มประตูทางเข้าพระมณฑป (หอไตรจตุรมุข) ออกไป ๒ ซุ้ม 

ปัจจุบันจึงปรากฏรูปยักษ์วัดโพธิ์เหลืออยู่เพียง ๒ คู่ ๔ ตนเท่านั้น คือ 

ยักษ์กายสีแดง มีชื่อว่า “พญาแสงอาทิตย์” กับ ยักษ์กายสีเขียว มีชื่อว่า “พญามัยราพณ์”

ตั้งเก็บไว้ในตู้กระจกหน้าซุ้มประตูทางเข้าฯ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ 

ยักษ์กายสีเทา มีชื่อว่า “พญาขร” กับ ยักษ์กายสีเนื้อ มีชื่อว่า “พญาสัทธาสูร”

ตั้งเก็บไว้ในตู้กระจกหน้าซุ้มประตูทางเข้าฯ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

ส่วนซุ้มประตูทางเข้าฯ ด้านที่รื้อออกไป ๒ ซุ้มนั้น 

แต่เดิมเป็นยักษ์มีชื่อว่า “สหัสเดชะ” กับ “ทศกัณฐ์”

ตั้งเก็บไว้ในตู้กระจกหน้าซุ้มประตูทางเข้าฯ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 

และยักษ์มีชื่อว่า “อินทรชิต” กับ “สุริยาภพ” 

ตั้งเก็บไว้ในตู้กระจกหน้าซุ้มประตูทางเข้าฯ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้

ปัจจุบันถูกนำไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

คนโบราณเชื่อว่ายักษ์ที่ยืนเฝ้าซุ้มประตูมีอิทธิฤทธิ์ในการขับไล่ภูตผีปีศาจทั้งหลาย

จึงมีหน้าที่ปกปักรักษาสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันมีค่าที่อยู่ด้านใน


สำหรับ “ยักษ์วัดแจ้ง” นั้น ก็ถือว่าเป็นยักษ์ชื่อดัง

ที่ทุกคนรู้จักกันดีจากวรรณคดีสำคัญเรื่องรามเกียรติ์ นั่นก็คือยักษ์ทศกัณฐ์

ด้านหน้า “ประตูซุ้มยอดมงกุฎ” ก่อนเข้าสู่พระอุโบสถ วัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง)

มีพญายักษ์หรือที่เรียกกันติดปากว่า “ยักษ์วัดแจ้ง” ยืนเฝ้าอยู่ ๒ ตน

รูปร่างเป็นยักษ์ไทยตัวใหญ่ เขี้ยวแหลมโง้ง ตัวมีขนาดใหญ่กว่ายักษ์วัดโพธิ์ 

มือทั้งสองกุมไม้กระบองสีขาวเป็นอาวุธ ยืนอยู่บนแท่น มีความสูงประมาณ ๓ วา

โดยยักษ์ด้านเหนือกายสีขาว มีชื่อว่า “สหัสเดชะ” ยักษ์ด้านใต้กายสีเขียว มีชื่อว่า “ทศกัณฐ์”

ยักษ์ทั้งสองตนเป็นยักษ์ปูนปั้นประดับกระเบื้องเคลือบสีเป็นลวดลายและเครื่องแต่งตัว

ของเดิมสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓

ทำหน้าที่เป็น “นายทวารบาล” ตามคติความเชื่อเทพผู้พิทักษ์รักษาประตู

เพื่อให้เทพได้ปกปักรักษาสถานที่สำคัญทางศาสนา

ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดการปั้นรูปยักษ์ยืนในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ในเวลาต่อมา

 

ในส่วนของ “ยักษ์วัดพระแก้ว” นั้น มีทั้งหมดรวม ๑๒ ตน

เนื่องจากประตูวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) มี ๗ ประตู 

โดย ๖ ประตูมีรูปยักษ์ยืนปูนปั้นกายสูงใหญ่ถึง ๖ เมตร 

ประดับเคลือบสีประณีตงดงาม เป็น “นายทวารบาล” ยืนเฝ้าอยู่ประตูละ ๒ ตน

ยักษ์มีชื่อเรียกต่างกันไป ซึ่งแม้จะคุ้นตาแต่ก็ไม่ค่อยมีใครรู้จักว่าเป็นยักษ์อะไร

ยักษ์ทั้ง ๖ คู่ เหล่านี้ต่างก็มีที่มาจากวรรณคดีสำคัญเรื่องรามเกียรติ์ทั้งสิ้น 

เริ่มตั้งแต่คู่แรกที่ยืนเฝ้าประตูพระฤๅษี มีชื่อว่า จักรวรรดิ และอัศกรรณมารา 

คู่ที่ยืนเฝ้าประตูเกยเสด็จ (หน้า) มีชื่อว่า สุริยาภพ และอินทรชิต 

คู่ที่ยืนเฝ้าประตูหน้าวัว มีชื่อว่า มังกรกัณฐ์ และวิรุฬหก 

คู่ที่ยืนเฝ้าประตูวัดพระแก้ว มีชื่อว่า ทศคีรีธร และทศคีรีวัน 

คู่ที่ยืนเฝ้าประตูเกยเสด็จ (หลัง) มีชื่อว่า ทศกัณฐ์ และสหัสเดชะ 

และคู่สุดท้ายที่ยืนเฝ้าประตูสนามไชย มีชื่อว่า มัยราพณ์ และวิรุฬจำบัง

ประตูที่ ๗ ประตูสุดท้าย คือประตูวิหารยอด อยู่ตรงข้ามกับวิหารยอด

เป็นประตูเดียวที่ไม่มีรูปยักษ์ทวารบาล มีแต่ภาพยักษ์และภาพวานรเขียนไว้เท่านั้น

“ลั่นถัน นายทวารบาล” 

หรือตุ๊กตาสลักหินรูปทหารนักรบจีนขนาดใหญ่

ที่ยืนถือศาสตราวุธเฝ้าซุ้มประตูเข้า-ออกในเขตพุทธาวาส

ของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) 

หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าเป็น “ยักษ์วัดโพธิ์” 

“ยักษ์วัดโพธิ์” มีเพียง ๒ คู่ ๔ ตนเท่านั้น คือ 

ยักษ์กายสีแดง, ยักษ์กายสีเขียว, ยักษ์กายสีเทา และยักษ์กายสีเนื้อ

ตั้งเก็บไว้ในตู้กระจกหน้าซุ้มประตูทางเข้าพระมณฑป หรือหอไตรจตุรมุข 

ซึ่งใช้เป็นที่เก็บรักษาพระไตรปิฎกของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) 

“ยักษ์วัดโพธิ์” ตัวจริงมีลักษณะเช่นเดียวกับยักษ์ในเรื่องรามเกียรติ์ 

“ยักษ์วัดแจ้ง” มี ๒ ตนคือ ยักษ์ด้านเหนือกายสีขาว มีชื่อว่า “สหัสเดชะ” 

ส่วนยักษ์ด้านใต้กายสีเขียว มีชื่อว่า “ทศกัณฐ์” 

ยืนเฝ้าที่ประตูซุ้มยอดมงกุฎทางเข้าพระอุโบสถ วัดอรุณราชวราราม 

แชร์