ผลวิจัยพบมนุษย์ในแถบตะวันออกใกล้เลี้ยงแมวป่าตั้งแต่เมื่อ 10,000 ปีที่แล้ว

ผลวิเคราะห์ดีเอ็นเอจากซากแมวตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ บ่งบอกว่า อันที่จริง มนุษย์ไม่ได้เพิ่งนำแมวป่ามาเลี้ยงเป็นแมวบ้าน ในสมัยของฟาโรห์อียิปต์อย่างที่เข้าใจกัน หากแต่พวกมันได้เข้ามาอยู่อาศัยกับเกษตรกรตั้งแต่ยุคหินใหม่แล้ว http://winne.ws/n16497

1.0 พัน ผู้เข้าชม
ผลวิจัยพบมนุษย์ในแถบตะวันออกใกล้เลี้ยงแมวป่าตั้งแต่เมื่อ 10,000 ปีที่แล้วแหล่งภาพจาก Cat Behavior Associates

วิจัยพบมนุษย์ในแถบตะวันออกใกล้เลี้ยงแมวป่าตั้งแต่เมื่อ 10,000 ปีที่แล้ว ก่อนหน้าชาวไอยคุปต์จับทำมัมมี่นับพันปี

ผลวิเคราะห์ดีเอ็นเอจากซากแมวตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ บ่งบอกว่า อันที่จริง มนุษย์ไม่ได้เพิ่งนำแมวป่ามาเลี้ยงเป็นแมวบ้าน ในสมัยของฟาโรห์อียิปต์อย่างที่เข้าใจกัน หากแต่พวกมันได้เข้ามาอยู่อาศัยกับเกษตรกรตั้งแต่ยุคหินใหม่แล้ว จากนั้นจึงแพร่สู่ยุโรปและทั่วโลก

บรรพบุรุษของแมวบ้าน คือ แมวป่าซึ่งมีต้นกำเนิดในแอฟริกาชนิดหนึ่ง เรียกว่า Felis silvestris lybica เป็นแมวลายในแถบตะวันออกใกล้และอียิปต์ คาดว่าเดินทางจากคาบสมุทรอะนาโตเลีย หรือประเทศตุรกีในปัจจุบัน ไปยังยุโรปโดยทางเรือเมื่อประมาณ 6,000 ปีก่อน

ในยุคหินใหม่ ซึ่งเป็นตอนปลายของสมัยหิน มนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่เคยยังชีพด้วยการล่าสัตว์-หาของป่า เริ่มลงหลักปักฐานตั้งชุมชนและเพาะปลูก พืชพันธุ์ได้ดึงดูดพวกหนูให้มาแทะกินผลผลิต จากนั้นพวกแมวก็ตามมากินหนู

รายงานซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Nature Ecology & Evolution บอกว่า กสิกรในยุคหินใหม่คงเห็นประโยชน์ของแมวป่าในการกำจัดสัตว์รบกวน จึงทำความคุ้นเคยและนำพวกแมวป่ามาเลี้ยงในเวลาต่อมา

ทีมวิจัยได้วิเคราะห์ดีเอ็นเอของแมวทั้งที่ถูกฝังและถูกทำเป็นมัมมี่จำนวน 230 ตัวอย่าง เพื่อศึกษาจุดกำเนิดของการเปลี่ยนแมวป่าให้กลายเป็นแมวบ้าน

ที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ปีกหนึ่งเชื่อว่า คนอียิปต์โบราณเป็นพวกแรกที่เลี้ยงแมว แต่อีกปีกหนึ่งอ้างหลักฐานการค้นพบโครงกระดูกแมวในหลุมฝังศพของเด็กในไซปรัสเมื่อ 7,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นเครื่องยืนยันว่า ผู้คนในแถบดินแดนรูปพระจันทร์เสี้ยวนำแมวป่ามาเลี้ยงก่อนหน้าชาวไอยคุปต์

ผลวิจัยพบมนุษย์ในแถบตะวันออกใกล้เลี้ยงแมวป่าตั้งแต่เมื่อ 10,000 ปีที่แล้วแหล่งภาพจาก ข่าวเด่น - Tlcthai.com

รายงานชิ้นนี้สรุปว่า นักวิทยาศาสตร์ทั้งสองปีกต่างถูกด้วยกันทั้งคู่

นักวิจัย เอวา-มาเรีย เกเกิล แห่งสถาบันวิจัยซีเอ็นอาร์เอสในฝรั่งเศส บอกว่า แมวชนิดย่อยดังกล่าวเริ่มกระจายพันธุ์เมื่อกสิกรพวกแรกๆย้ายถิ่นเข้าไปในยุโรปเมื่อประมาณ 4,400 ปีก่อนคริสต์กาล

พวกมันอาจเดินทางโดยทางบกหรือทางเรือไปตามเส้นทางการค้าโบราณ ไม่กี่พันปีให้หลัง ในสมัยฟาโรห์ แมวลิบิกาสายพันธุ์อียิปต์ได้แพร่สู่ยุโรปเป็นระลอกที่สอง จุดกระแสความนิยมในการเลี้ยงแมว กระแสนี้ไปทั่วอาณาจักรกรีก โรมัน และไกลออกไป

นักวิจัยสันนิษฐานว่า แม้มีรูปร่างหลักษณะคล้ายกับสายพันธุ์ที่เป็นญาติใกล้ชิดกันจากอะนาโตเลีย แต่แมวสายพันธุ์อียิปต์เป็นที่นิยมกว้างไกลกว่าเนื่องเพราะพวกมันเชื่องกว่าและเข้ากับคนได้ดีกว่า

ขอบคุณวิดิโอจาก: https://youtu.be/SgZKFVaSDRw

ผลวิจัยพบด้วยว่า มนุษย์ไม่ได้เพาะพันธุ์แมวเพื่อความสวยงามอย่างน้อยในช่วงพันปีแรกๆ กระทั่งทุกวันนี้แมวบ้านก็ยังมีรูปลักษณ์คล้ายแมวป่าทั้งในแง่ทรวดทรง การทำหน้าที่ของอวัยวะ และพฤติกรรม ผิดกับสุนัขซึ่งมีตั้งแต่ร็อตไวเลอร์จนถึงชิวาวา ซึ่งทั้งสองชนิดแทบไม่มีอะไรใกล้เคียงกับบรรพบุรุษที่เป็นหมาป่า

นักวิจัยบอกว่า ค้นพบการเลือกสายพันธุ์แมวสำหรับสร้างลูกผสมเพื่อความสวยงามของสีขนครั้งแรกๆในยุคกลางเมื่อช่วงค.ศ.500-1300 สีขนของแมวป่ามีแต่แมวลาย ไม่มีสีแต้มหรือลายจุดอย่างทุกวันนี้ ส่วนพวกสายพันธุ์แฟนซีทั้งหลายนั้นเพิ่งผสมพันธุ์ขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 19 มานี้เอง.

อ่านเพิ่มเติมได้ที่: http://news.voicetv.co.th/world/500302.html

แชร์