แล้วอย่างไหนเรียกว่า "ศรัทธา" หรือแบบใดเรียกว่า "งมงาย" ???

มนุษย์เกิดมาล้วนต้องการที่พึ่งโดยเฉพาะทางด้านจิตใจที่ถูกปลูกฝังและถูกหล่อหลอมมาจากครอบครัว วัฒนธรรม ประเพณีของชุมชนตลอดจนสังคมในระดับประเทศ กระทั่งกลายเป็นความเชื่อว่าสิ่งที่ตนเคารพนับถือ http://winne.ws/n15599

2.0 พัน ผู้เข้าชม
แล้วอย่างไหนเรียกว่า "ศรัทธา" หรือแบบใดเรียกว่า "งมงาย" ???

มนุษย์เกิดมาล้วนต้องการที่พึ่งโดยเฉพาะทางด้านจิตใจที่ถูกปลูกฝังและถูกหล่อหลอมมาจากครอบครัว วัฒนธรรม ประเพณีของชุมชนตลอดจนสังคมในระดับประเทศ กระทั่งกลายเป็นความเชื่อว่าสิ่งที่ตนเคารพนับถือ ไม่ว่าจะเป็นผู้นำในลัทธินิกายของตน เทพเจ้าทั้งหลาย สัตว์/ต้นไม้ที่ผิดแปลกเหล่านั้น เป็นที่พึ่ง

         และคำที่นำมาใช้กันเป็นส่วนใหญ่ก็คือ ศรัทธาแต่ในขณะเดียวกัน มุมมองของคนที่คิดต่าง กลับมองเห็นว่าเป็น เรื่องงมงาย แล้วอย่างไหนเรียกว่า ศรัทธา หรือแบบใดเรียกว่า งมงาย

มีแต่ความเจริญสว่างไสวตลอดไป

แล้วอย่างไหนเรียกว่า "ศรัทธา" หรือแบบใดเรียกว่า "งมงาย" ???แหล่งภาพจาก ครูนอกกะลา

คำว่า ศรัทธา แปลว่า ความเชื่อ บุคคลเมื่อมีความเชื่อต่อสิ่งใดแล้วก็จะประกอบกิจในสิ่งที่ตนเชื่อนั้นอย่างไม่ย่อท้อ เช่น เชื่อว่าพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าสามารถพาบุคคลให้พ้นทุกข์ได้ ก็จะเป็นเหตุให้เกิดกำลังใจที่จะประพฤติปฏิบัติธรรมอย่างไม่ย่อท้อ ไม่ช้าก็ประสบความสำเร็จได้ไม่มากก็น้อย

ดังนั้น ศรัทธาจึงนับว่าเป็นคุณธรรมที่ยังประโยชน์ให้สำเร็จและเจริญขึ้นได้อย่างยิ่ง

ไหว้วัว 2 หัว

แล้วอย่างไหนเรียกว่า "ศรัทธา" หรือแบบใดเรียกว่า "งมงาย" ???

ส่วนคำว่า งมงาย แปลว่า หลงเชื่อโดยไม่มีเหตุผล หรือโดยไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นหรือเหตุผลของผู้อื่น

         ในมุมมองของชาวพุทธคนหนึ่ง ซึ่งอยู่ในเหตุการณ์การปิดล้อมวัดใหญ่วัดหนึ่ง ตลอดระยะเวลา 23 วัน ได้เห็นพลังศรัทธาของชาวพุทธที่รักพระพุทธศาสนามารวมตัวกันออกมาปกป้องยามพระพุทธศาสนามีภัยโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ยอมตายเพื่อพระพุทธศาสนา ไม่ว่าพระเณรอุบาสกอุบาสิกาและสาธุชนนับหมื่นต่างมีใจเป็นหนึ่งเดียวกัน

         มีศรัทธาความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล คือเชื่อว่ากรรมมีอยู่จริง เชื่อว่าผลของกรรมมีจริง เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน และเชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้ามั่นใจในองค์พระตถาคต ว่าทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ 

         ซึ่งกว่าจะมาถึง ณ วันนี้ได้ต้องใช้ความอดทนและใช้เวลาในการปลูกศรัทธาโดยผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ทางศาสนาทั้งทาน ศีล ภาวนาหล่อหลอมจนเป็นหนึ่งเดียวกัน ว่าอย่างไรว่าตามกัน เป็นพลังสามัคคีธรรมที่อยู่บนกรอบของเหตุผล และตระหนักถึงความสงบสุขของสังคมเป็นที่ตั้ง เป็นคุณธรรมที่ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้อย่างยิ่ง

แล้วอย่างไหนเรียกว่า "ศรัทธา" หรือแบบใดเรียกว่า "งมงาย" ???

ตรงตามคำสอนของพระบรมศาสดา 

        โดยมีคำขวัญของใครคนหนึ่งให้ไว้มานานนับสิบปีว่า

                                              เรื่องส่วนตัวให้วางอุเบกขา 

                                              เรื่องพระศาสนา ให้เอาอุเบกขาวาง 

                                              แล้วก็มารวมพลังสร้างความดี

        อะไรที่คนอื่นเข้าใจไม่ถูกต้องก็ต้องชี้แจง อย่าให้เขาคิดเอง เพราะถ้าให้เขาคิดเอง เขาก็จะเข้าใจผิด เมื่อเข้าใจผิด จะทำให้คิดผิด พูดผิดและทำผิด


        เราในฐานะชาวพุทธควรต้องเป็นทนายแก้ต่างให้พระศาสนา เพื่อหมู่ชนคนรุ่นหลังจะได้มีที่พึ่งที่แท้จริงต่อไป ซึ่งตรงข้ามกับความงมงายที่เชื่อโดยไม่มีเหตุผล ยึดวัตถุหรือบุคคลเป็นหลัก ไม่ยอมรับฟั งความคิดเห็น หรือปฏิเสธกับความเห็นต่าง

       ทั้งนี้ ให้เอาความเชื่อไว้บนหิ้ง ความจริงต้องมาพิสูจน์ มาลงมือปฏิบัติกันดีกว่า

Cr: เชนนารี


ขอบคุณข้อมูล

- พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ 15 หน้า 50

- พจนานุกรม ราชบัณฑิตยสถาน

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : http://rightview0202016.blogspot.com/2017/05/vs.html

แชร์