วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม

พระปฐมเจดีย์เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า http://winne.ws/n10163

2.5 พัน ผู้เข้าชม
วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร  จังหวัดนครปฐม

       เรียกได้ว่าเป็นพระสถูปเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สำหรับ "พระปฐมเจดีย์"  ซึ่งตั้งอยู่ภายในบริเวณ วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร ตำบลพระปฐมเจดีย์          อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม อีกทั้งยังเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษ ชนิดราชวรมหาวิหาร    รวมถึงมีประวัติความเป็นมายาวนานในแผ่นดินสุวรรณภูมิ โดยเฉพาะเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเป็นสัญลักษณ์ของชาวจังหวัดนครปฐมอีกด้วย 

        โดย พระปฐมเจดีย์ เป็นเจดีย์องค์ใหญ่ ซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงส่งสมณทูตมาเผยแผ่พระศาสนา นักปราชญ์ทางโบราณคดีเห็นพ้องกันว่า พระโสณเถระและพระอุตตรเถระ เป็นสมณทูตและมาตั้งหลักฐานประกาศหลักธรรมคำสอนที่       นครปฐมป็นครั้งแรก ในพุทธศตวรรษที่ 3 และได้สร้างพระเจดีย์ทรงบาตรคว่ำ แบบเจดีย์สาญจิในประเทศอินเดียไว้

          เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ขณะผนวช ได้เสด็จธุดงค์มานมัสการ ทรงเห็นเป็นเจดีย์ยอดปรางค์ สูง 42 วา เมื่อทรงลาผนวชได้เสวยราชสมบัติแล้ว ในราว พ.ศ. 2396 ได้โปรดให้ก่อพระเจดีย์ใหม่ห่อหุ้มองค์เดิมไว้ สูง 120 เมตร กับ 45 เซนติเมตร พร้อมสร้างวิหารคตและระเบียงโดยรอบ แต่งานไม่ทันแล้วเสร็จก็สวรรคต 

          ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดให้ปฏิสังขรณ์จัดสร้าง หอระฆัง และประดับกระเบื้องจนสำเร็จ เมื่อถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว       รัชกาล ที่ 6 ปฏิสังขรณ์พระวิหารหลวง เขียนภาพพระเจดีย์องค์เดิมและภาพต่าง ๆ ไว้ที่ผนัง      รื้อมุขวิหารด้านทิศเหนือ สร้างใหม่เพื่อประดิษฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์ศรีอินทราทิตย์ธรรโมภาส มหาวชิราวุธราชบูชนียบพิตร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 โปรดให้สร้างพระอุโบสถใหม่

          สำหรับพระปฐมเจดีย์เป็นพระเจดีย์ใหญ่ มีลักษณะเจดีย์เป็นทรงระฆังคว่ำ (ปากผาย) โครงสร้างทำจากไม้ซุง รัดด้วยโซ่ขนาดใหญ่ ก่ออิฐ ฉาบปูน และปูประดับด้วยกระเบื้องสีเหลือง-แสด ชั้นล่างประกอบด้วยวิหารสี่ทิศ พร้อมด้วยกำแพงแก้วสองชั้น 

          ภายในองค์พระเจดีย์ยังเป็นที่ประดิษฐานของพระบรมสารีริกธาตุ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นที่เคารพสักการบูชาของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก ทางวัดจึงกำหนดให้มีงานเทศกาลนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ ในวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 12 ถึงวันแรม 5 ค่ำ เดือน 12 รวม 9 วัน 9 คืน เป็นประจำทุกปี 

          ขณะเดียวกัน เมื่อมาถึงพระปฐมเจดีย์แล้ว ก็ไม่ควรพลาดที่จะไปกราบนมัสการ พระร่วง     โรจนฤทธิ์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ภายในบริเวณเดียวกัน รวมถึง ศาลเจ้าพ่อปราสาททอง และ         พระศิลาขาวด้วย อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ผู้คนนิยมทำเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต เมื่อมาพระปฐมเจดีย์ นั่นก็คือ การเดินรอบพระอารามชั้นนอก หรือชั้นในก็ได้ให้ครบ 3 รอบ เพื่ออธิฐานจิตขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้สมปรารถนาดั่งสิ่งที่หวังไว้

         พระร่วงโรจนฤทธิ์ ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ดำรง พระยศเป็นสมเด็จพระยุพราช ได้เสด็จ ตรวจค้นโบราณสถานในมณฑล ฝ่ายเหนือ                      เมื่อพ.ศ. ๒๔๕๒ พบพระพุทธรูปชำรุดองค์หนึ่งจมในพื้น วิหาร วัดโบราณในเมืองศรีสัชนาลัย โปรดให้ขุดขึ้น พบพระเศียร พระหัตถ์ และพระบาทที่ยังดีไม่ชำรุดมีลักษณะ งดงามต้องตาม พระราชหฤทัย จึงโปรดให้เชิญลงมากรุงเทพมหานคร ครั้งเสด็จเถลิง ถวัลยราชสมบัติ จึงโปรด ให้สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทำรูปหุ่นขี้ผึ้ง ปฏิสังขรณ์ปั้นให้เสร็จบริบูรณ์เต็มองค์ ตั้งการพระราชพิธี เททองที่วัดพระเชตุพนฯ เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๖ เป็นพระยืนปางห้ามญาติ   หล่อ ด้วยโลหะ ครั้นแล้วเสร็จ อัญเชิญประดิษฐานไว้ที่ซุ้มวิหารทิศ ตรงบันได ใหญ่เมื่อวันที่       ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๘ ทรงถวายพระนาม ว่า "พระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ ธรรโมภาส มหาวชิราวุธ ราชปูชนียบพิตร" สูงจากพระเกศาถึงพระบาท ๑๒ ศอก ๔ นิ้ว และทรง พระกรุณาโปรดเกล้าในพระราชพินัยกรรม ให้บรรจุพระอังคารของพระองค์ท่านไว้ในใต้ฐานพระนี้ด้วย

        พระพุทธรูปศิลาขาว หรือ “หลวงพ่อประทานพร” พระประธานในพระอุโบสถ วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร  เป็นพระพุทธรูปปางประทานปฐมเทศนา หรือปางประทานเอหิภิกขุ         (วิตรรก-มุทรา) โดยประดิษฐานเป็น พระประธานในพระอุโบสถ วัดพระปฐมเจดีย์ราวรมหาวิหาร ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมือง จ.นครปฐม สร้างขึ้นในสมัยทวารวดี (ระหว่างปีพุทธศักราช ๑๑๐๐-๑๖๐๐) ชาวบ้านมักจะเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “หลวงพ่อประทานพร” พระพุทธรูป    ศิลาขาว ทำจากศิลาสีขาว (White Stone) ขนาดใหญ่มีพุทธลักษณะทั่วไปเป็นพระพุทธรูปศิลปะทวารวดีประทับนั่งบนบัลลังก์ห้อยพระบาททั้งสอง (ปรลัมพปาทาสนะ) ลงบนฐานทำเป็น กลีบบัวบานรองรับ  ซึ่งมีศัพท์เฉพาะเรียกว่า “ภัทรอาสน์” หรือ “ภัทราสนะ” พระหัตถ์ซ้ายของพระพุทธรูปวางหงายอยู่เหนือพระเพลาซ้าย ส่วนพระหัตถ์ขวายกอยู่ในระดับพระอุระ (หน้าอก) หันฝ่าพระหัตถ์ออกปลายพระอังคุฐ (นิ้วหัวแม่มือ) กับพระดัชนี (นิ้วชี้) จีบงอโค้งจรดกันเป็นวงกลมส่วนอีกสามนิ้วของพระหัตถ์ขวากางออก องค์พระพุทธรูปในรูปท่าแบบนี้ เรียกว่า         “ปางประทานปฐมเทศนา” หรือ “ปางประทานเอหิภิกขุ” (วิตรรก-มุทรา) ขนาดความสูงจากยอดพระเกตุถึงปลายพระบาท ๓.๗๖ เมตร หรือ ๑๔๘ นิ้ว พระพุทธรูปศิลาขาว องค์ที่ประดิษฐาน         เป็นพระประธาน ณ พระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะและขนาดเช่นเดียวกันกับ “พระพุทธนรเชษฐ์ เศวตอัศมมัยมุนี ศรีทวารวดีปูชนียบพิตร”หรือเรียกพระนามสั้นๆว่า“พระพุทธนรเชษฐ์ฯ” หรือ “หลวงพ่อขาว” ที่ประดิษฐาน ณ ลานชั้นลด (กะเปาะ) ด้านทิศใต้ขององค์พระปฐมเจดีย์

ขอขอบคุณ:http://travel.kapook.com/view18651.html

แชร์