วิธีพัฒนาสมอง ให้เก่งขึ้น ( DANIEL COYLE ) …
ไม่ว่าคุณกำลังจะพัฒนาทักษะเดิม หรือเพิ่มทักษะใหม่ แบบฝึกหัดนี้ จะทำให้คุณพัฒนาฝีมือขึ้นอย่างรวดเร็ว จากการฝึกสมองและส่งผลการทักษะของร่างกายทั้งเป็นประโยชน์มากในการเริ่มทำอะไรใหม่ๆ และพัฒนาสิ่งเดิม ที่สมบูรณ์มากขึ้น มาฟังกันค่ะ ... http://winne.ws/v20653
วิธีการพัฒนาสมองโดยเป็นหลักการให้ยึดและปฏิบัติ
1. ให้ลืมเรื่องเวลา เน้นให้ทำเรื่องนั้น ๆ ซ้ำ ๆ หลาย ๆ ครั้ง เน้นจำนวนครั้ง
ไม่ควรกำหนดเวลาแทนที่จะจับเวลา ให้นับจำนวนครั้งในการทำดีกว่า
ตัวอย่าง เช่น การซ้อมเปียโน
แทนที่จะกำหนดว่าเราจะใช้เวลาซ้อมเปียโนสัก 20 นาที
ให้ตั้งใจว่าจะซ้อมเพลงนี้ 5 รอบ เป็นต้น
เราไม่ควรใช้เวลามากำหนดตัวเรา เราควรใช้ความเข้มข้นหรือคุณภาพ
หรือศักยภาพในการฝึกซ้อมมากำหนดว่าเราทำได้ดีหรือยัง ดีกว่า
2. ค่อย ๆ ทำทีละอย่างโดยจับให้เป็นข้อย่อย ๆ ก่อน แล้วจึงปะติดปะต่อกัน
ให้ค่อย ๆ ทำทีละน้อย ทำทีละอย่าง เปรียบเหมือนการฝึกภาษาใหม่ เริ่มจากการ
นำคำที่ละคำ มาร้อยเรียงเป็นประโยค จนกระทั่งเขียนเป็นบทความได้ หรือ
ตัวอย่าง เช่น การซ้อมวิ่งมาราธอน เราไม่ต้องไปสนใจว่าระยะทางจะไกลแค่ไหน
ให้วิ่งให้ถูกก่อน เริ่มจากการลงเท้า ใส่ใจในการลงเท้าทีละนิด ๆ จับจังหวะมันไปเรื่อยๆ
จนเท้าได้ช่วงท่าที่ถูกต้อง เรื่อยขึ้นมาช่วงตัว ระบบหายใจแล้วนำมาปะติดปะต่อกัน
ควบคุมมันไปเรื่อย ๆ ก็จะสมบูรณ์แบบต่อไปนั่นเอง
วิธีฝึกฝนจนชำนาญคือการฝึกจากส่วนย่อย ๆ แล้วนำมารวมกัน
เหมือนการฝึกซ้อมดนตรี ค่อย ๆ จำจากส่วนเล็ก ๆ คือตัวโน๊ตที่ละตัว
ปะติดปะต่อจนเป็นเพลง 1 เพลง
3. ขัดเกลาทักษะ ให้สมบูรณ์แบบ
ไม่ทำอะไรหลายอย่างพร้อมกัน เพราะจะเป็นเพียงการทำไปงั้น ๆ
ให้โฟกัสสิ่งที่เราต้องการและตั้งใจทำอย่างเต็มร้อย เช่น
การซ้อมการเสริฟลูกของนักเทนนิส ต้องทำซ้ำ ๆ เป็นร้อย ๆ ครั้ง
เป็นการสะสมความเก่งที่สมบูรณ์แบบ ใช้ได้จริง และอยู่ยืนยาว
4. จงดิ้นรน ตะเกียกตะกาย
เพราะความคับข้องใจ ความยากลำบาก จะทำให้เราต้องการก้าวผ่านให้ได้
สมองจะทำงานด้วยความปวดร้าวและเจ็บปวด เมื่อยิ่งเจ็บจะแข็งแกร่ง
เหมือนการเล่นยกน้ำหนัก นักกล้ามต้องไปออกกำลังกายให้กล้ามเนื้อ
ฉีกออกจากมัดกล้ามเดิมซ้ำ ๆ ร่างกายพัฒนาพอกพูนเซลล์ขึ้นก็แข็งแรงขึ้นเรื่อย ๆ
กล้ามเนื้อจะพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ จากความเจ็บปวด
5. ซ้อมทุกวัน ควรทำต่อเนื่องอย่างต่ำ 21 วัน
โดยซ้อมวันละนิด ๆ ดีกว่าหักโหมซ้อม สมองต้องค่อย ๆ พัฒนา
สมองไม่สามารถพัฒนาแบบก้าวกระโดด
ทำซ้ำทุก ๆ วัน จดจ่ออย่างเต็มที่ มองหาข้อผิดพลาดทั้งหมด
ลงมือแก้ไขข้อผิดพลาดทั้งหมดแม้เพียงเล็กน้อยก็ตาม แล้วทำใหม่ไปเรื่อย ๆ
6. ให้คิดว่าทุกเรื่องคือเกมส์
ให้สนุกกับสิ่งที่เราทำ
7. ซ้อมตามลำพัง
ทำให้เราสามารถหาจุดกลมกล่อมตรงจุดสิ้นสุดของเราได้ นั่นคือว่า
เราจะเจอเพดานของเรา แล้วเราก็จะสามารถสร้างวินัยให้ตัวเอง
ผู้ชนะคือผู้ที่ยินดีจะฝึกซ้อมจนเหงื่อโทรมกาย หรือหมดสภาพ
ในยามที่ไม่มีใครเฝ้ามองดูอยู่เลย หมายความว่า ไม่ต้องรอให้ใคร
มาคอยให้กำลังใจ แต่เราทำเอง รู้เอง เหนื่อยจนล้มพับเอง
8. คิดเป็นภาพ
ทำให้สมองเชื่อมโยงถึงกันได้ง่าย การทำอะไรให้เป็นภาพ
การจินตนาจนจะทำให้ทุกอย่างง่ายขี้น
9. เมื่อผิดพลาดให้แก้ไขทันที
ความผิดพลาดจะเป็นเข็มทิศไปสู่ความถูกต้องจงจัดการกับความผิดพลาดทันที
อย่าเพิกเฉย ตัวอย่าง เช่น ซ้อมเพลงไปได้ครึ่งหนึ่งแล้วผิดพลาดให้เริ่มต้นใหม่เสมอ
10. ทำสมาธิ-การสร้างความเชื่อว่าทำได้
เป็นแรงผลักดันภายใน สร้างเซลล์สื่อสมองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ระหว่างทำสมาธิให้สร้างมโนทัศน์ว่าเราทำได้
ถ้าเราทำสมาธิ และสร้างความเชื่อว่าเราทำได้ สมองก็จะสั่งการว่าได้
แต่ถ้าเราคิดว่ามันไม่ได้ สมองก็ไม่สั่งการใด ๆ
11. ฝึกฝนในที่แคบ ๆ
การฝึกฝนในที่แคบ เป็นการดิ้นรนในพื้นที่แคบ ๆ เช่น การฝึกครองบอล
วิธีการคืออยู่ในห้องที่กว้างเท่ากับห้องน้ำ มีผู้เล่น 2 คน และลูกบอล 1ลูก
กติกาคือคนที่ครองบอลได้นานที่สุดคือผู้ชนะ เป็นการสร้างสถานการณ์
ที่บีบคั้น ต้องดิ้นรนตลอดเวลา เพื่อให้ผู้เล่นได้ตอบสนองทักษะออกมา
ซึ่งมันได้ผล แม้ในการเขียน เช่น Twitter บังคับตัวอักษรไม่เกิน140 ตัวอักษร
ซึ่งเป็นผลทำให้เราต้องเขียนให้กระชับ และเนื้อหาครอบคลุม
12. หลับตาฝึก
ทำให้สร้างภาพเหมือนจริงขึ้นมาจากทักษะที่มองไม่เห็น เช่น ไมเคิลจอร์แดน
หลับตาฝึกชู๊ทลูกโทษ หน่วยซิลของกองทัพอเมริกา ฝึกประกอบอาวุธท่ามกลาง
ความมืด และบางครั้งต้องฝึกกางเต็นท์โดยมองไม่เห็นอะไรเลยหรือแม้การฝึก
ศิลปะป้องกันตัวหรือโยคะก็หลับตาฝึก เพื่อพัฒนาประสาทสัมผัสและการทรงตัว
อีกทั้งทำให้มีสมาธิเร็วขึ้น และทำให้มีทักษะที่เสถียรมากขึ้น
13. ควรงีบ หรือแอบงีบ
เนื่องจากสมองทำงานหนักมากมันต้องการพักเพื่อถูกรีเฟรช
บรรดาอัจฉริยะระดับโลกล้วนเป็นนักงีบ
การงีบหลับ 90 นาที ทำให้ความจำดีขึ้น 10%
ฉะนั้นช่วงที่เราอดนอน ก็จะทำให้ความจำของเราแย่ลง 10% เช่นกัน
ดร. แมททิว วอร์คเกอร์ กล่าวว่าการงีบหลับกลางวัน ทำให้ไม่ง่วงในตอนบ่าย
ยังช่วยเสริมสร้างสมอง และช่วยความทรงจำให้ด้วย ช่วยให้การเรียนรู้ดีขึ้น
14. การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ แบบสุดโต่ง
คือจะเรียนรู้อะไรก็เรียนให้สุดแตะเพดานเลย ให้ยาก ให้ลำบาก เพราะ
มันจะเจอขีดความจำกัดของศักยภาพของคุณ แล้วคุณจะทราบว่า
ความพอดีอยู่ที่ไหน เพราะถ้าทำเบา ๆ สบาย ๆ คุณจะไม่สามารถ
ทราบได้ว่าคุณจะทำได้ไกลแค่ไหน
อีกทั้งหากสุดโต่งแล้ว พอเรารู้ว่าความพอดีอยู่ตรงไหน
มันจะสร้างความแม่นยำขึ้นมาด้วย
15. การโฟกัสกับเป้าหมาย
คือการจดจ่อกับเป้าหมาย การโฟกัสหรือการส่องแสง หรือการส่องสายตา
หรือการเพ่งสมาธิไปสู่สิ่งที่เราทำจริง ๆ มันจะสร้างศักยภาพชั้นสูงให้กับสิ่งที่ทำมาก ๆ
สมอง ร่างกาย ความเก่ง เติบโตได้ที่ละนิด ต้องสม่ำเสมอซึ่งจะทำให้ความผิดพลาดน้อยลง
ความสม่ำเสมอ ทำให้เกิดโฟกัส เกิดความเชี่ยวชาญ โดยต้องอดทน ทำให้เป็นนิสัย
คนที่ประสบความสำเร็จ ต้องกล้าผ่านความยาก ความอาย ให้ได้
กฎ 10,000 ชั่วโมง ยังใช้ได้ ให้กำลังใจตัวเอง ทำซ้ำแล้วเพิ่มระดับความยาก
บางวันไม่ ok ก็พักบ้าง สนุกบ้าง ทำไปจนหาจุดพอดีซึ่งคือความสมดุล
ถ้าต้องการเก่งขึ้น จุดพอดีก็ต้องเพิ่มขึ้น
“วันนี้เราจะทำสิ่งที่เจ๋งที่สุด เราทำได้ ทำเลย!!!”
ขอขอบคุณ : ณ.หนวด ห้องนั่งเล่นแห่งความคิด
https://www.youtube.com/watch?v=cp2kO8IOY_k
http://comvariety.com/wp-content/uploads/2010/10/CV_Brain.jpg