ความยิ่งใหญ่ แห่งศรัทธาของพระพุทธศาสนาในดินแดนพุทธภูมิ!!
พุทธสถานในประเทศอินเดีย ที่เห็นแล้วคุณจะต้องตลึง ในความงดงาม อลังการ สุดเลอค่า ของสถานที่ ที่พุทธศาสนิกชนผู้มีศรัทธาในอินเดียน้อมใจสร้างเพื่อถวายพระพุทธเจ้า ในอดีตกาล http://winne.ws/n6785
พระพุทธรูปสลักภายในถ้ำอชันตา ที่เมืองเอารังคาบาด รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย
ได้ชื่อว่าเป็นวัดเก่าแก่ที่สุดในโลก และยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ สร้างขึ้นราว พ.ศ. 350
หลักฐานที่ปรากฏ ช่วยให้นักประวัติศาสตร์ปะติดปะต่อเรื่องราวของพุทธศาสนา
ได้ชัดเจนขึ้น
หมู่ถ้ำอชันตา, รัฐมหาราษฎระ
หมู่ถ้ำอชันตา ตั้งอยู่ใกล้เมืองออรังกาบาด ถือเป็นหนึ่งในพุทธสถานสำคัญที่สุดของอินเดีย
หมู่ถ้ำอชันตา ถูกสร้างขึ้นระหว่างช่วง 200 ปี ก่อนคริสตกาล จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 6 ที่นี่ได้
รับการขึ้นทะเบียนมรดกโลกของยูเนสโก เมื่อปี 1983.
หมู่ถ้ำอชันตา, รัฐมหาราษฎระ
ภายในหมู่ถ้ำอชันตา มีทั้งภาพเขียนสีและงานประติมากรรม ซึ่งนักโบราณคดีอินเดีย
เรียกว่า "ตัวอย่างงานศิลปะที่วิจิตรที่สุดของอินเดียที่หลงเหลืออยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ภาพเขียนสี" ภาพเขียนเหล่านี้ เป็นภาพวาดเรื่องราวทั้งในพุทธประวัติและพุทธชาดก
มหาสถูปสาญจี, รัฐมัธยประเทศ
มหาสถูปสาญจี เป็นโครงสร้างหินเก่าแก่ที่สุดในอินเดีย ถูกสร้างขึ้นตามคำสั่งของ
พระเจ้าอโศก ในช่วง 300 ปี ก่อนคริสตกาล ใจกลางของสถูปเป็นโครงสร้างอิฐ
ครึ่งวงกลม ซึ่งภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
รอบมหาสถูป เป็นซุ้มประตู หรือโตรณะ ซึ่งเชื่อกันว่า ถูกสร้างขึ้นโดยช่างฝีมือในยุค
ราชวงศ์สัตวาหนะ แกะสลักเป็นเรื่องราวในพุทธประวัติและพุทธชาดก
วัดรุมเต็ก, รัฐสิกขิม
วัดรุมเต็ก เป็นวัดพุทธที่ใหญ่ที่สุดในรัฐสิกขิม ที่นี่เป็นทั้งที่พำนักของพระสงฆ์ และที่
ประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อของนิกายกากยูของทิเบต ภายในสถูปทองคำ
เป็นที่บรรจุพระธาตุของพระสังฆราชการ์มาปะ
วัดรุมเต็ก, รัฐสิกขิม
วัดรุมเต็ก เคยเป็นศูนย์กลางความขัดแย้งระหว่างลามะ 2 กลุ่ม ที่แย่งชิงกรรมสิทธิ
ในการดูแลวัดรุมเต็ก หรืออีกชื่อหนึ่งว่า ศูนย์ธรรมจักร ทำให้ศาลอินเดียต้องสั่งให้
ทหารเข้ามาตรึงกำลังภายในวัดแห่งนี้ เพื่อป้องกันการทะเลาะเบาะแว้งของทั้งสองกลุ่ม
วัดตาวัง, รัฐอรุณาจัลประเทศ
วัดพุทธที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย มีพื้นที่กว้าง 140 ตารางกม. แบ่งได้เป็น 3 ระดับ มีทั้ง
อาคารที่พักอาศัย 65 หลัง และโครงสร้างอื่นๆอีก 10 หลัง
วัดตาวัง, รัฐอรุณาจัลประเทศ
วัดตาวัง ซึ่งสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 17 บนเนินเขาเหนือเมืองตาวัง ถือเป็นหนึ่งในวัดพุทธ
ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ชาวทิเบตเรียกที่ว่า กัลเดน นัมเกย์ ลัตเซ แปลว่า สรวงสวรรค์แห่ง
ค่ำคืนฟ้าใสกระจ่าง
วัดเฮมิส, ลาดัก, รัฐจัมมู-แคชเมียร์
วัดเฮมิส ตั้งอยู่ห่างจากเมืองเลห์ ลาดัก 45 กม. ถูกบูรณะขึ้นใหม่ในปี 1672 ตามคำสั่ง
ของกษัตริย์เซ็งเก นัมกยัล แห่งลาดัก เชื่อกันว่า วัดแห่งนี้เป็นวัดที่มั่งคั่งที่สุดในอินเดีย
เป็นสถานที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุล้ำค่ามากมาย รวมทั้งพระพุทธรูปทองแดง สถูปเงิน
และทองคำ ทังกา และงานศิลปะอีกหลายอย่าง
วัดเฮมิส, ลาดัก, รัฐจัมมู-แคชเมียร์
เทศกาลประจำปี ที่จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงพระปัทมาสัมภวะ ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวพุทธ
ในทิเบต ถูกจัดขึ้นที่นี่ ในช่วงต้นเดือนมิ.ย. โดยมีนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกมาเข้าร่วม
ชมพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ที่เปี่ยมด้วยสีสันครั้งนี้
วัดตาโบ, เขตสปิติ, รัฐหิมาจัลประเทศ
วัดตาโบ ตั้งอยู่ในหมู่บ้านตาโบ เขตสปิติ ซึ่งเป็นพื้นที่ราบสูงที่เต็มไปด้วยทะเลทราย
วัดตาโบ ตั้งอยู่ที่ระดับความสูง 3,050 เมตร สร้างขึ้นในปีค.ศ. 996 ซึ่งตรงกับปีลิงไฟ
ของชาวทิเบต
วัดตาโบ, เขตสปิติ, รัฐหิมาจัลประเทศ
วัดตาโบ สร้างขึ้นโดยรินเชน ซังโป (มหาอุรุ รามาภัทรา) ผู้เป็นกษัตริย์แห่งแคว้นกูเก
ทางตะวันตกของเทือกเขาหิมาลัย ที่นี่ได้ชื่อว่า เป็นพุทธสถานเก่าแก่ที่สุดในอินเดีย
และประเทศแถบหิมาลัย ที่ยังมีกิจกรรมทางศาสนาต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
วัดมหาโพธิ, พุทธคยา, รัฐพิหาร
สถานที่ที่มีความสำคัญที่สุดทางพุทธศาสนา วัดมหาโพธิ ตั้งอยู่บนจุดที่พระพุทธองค์
ทรงตรัสรู้อริจยสัจ ภายในเขตวัดมหาโพธิ มีต้นโพธิ์เก่าแก่ ซึ่งเชื่อกันว่า เป็นหน่อเนื้อ
ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่พระพุทธเจ้าทรงนั่งทำสมาธิอยู่ข้างใต้ต้นนั้น ก่อนจะค้นพบ
อริยสัจ
ศานติสถูป, ลาดัก, รัฐจัมมู-แคชเมียร์
ศานติสถูป เป็นเจดีย์ทรงโดมสีขาว ตั้งอยู่ในเมืองจันสปา แคว้นลาดัก สร้างขึ้นเมื่อปี
1991 โดยคณะเจดีย์เพื่อสันติภาพของญี่ปุ่น ภายในสถูปแห่งนี้ บรรจุพระบรมสารีริก
ธาตุ นอกจากจะมีความสำคัญทางศาสนาแล้ว สถานที่แห่งนี้ ยังเป็นจุดชมวิวที่
งดงามอีกด้วย
แมคลอดกันจ์, รัฐหิมาจัลประเทศ
หลายคนเรียกที่นี่ว่า "ลิตเติลลาซา" เพราะประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวทิเบต วัดแมคลี
ออดกันจ์ ในเมืองธรรมศาลา เป็นที่พักพิงขององค์ทะไลลามะ นักท่องเที่ยวและพุทธศาสนิกชนหลายพันคน เดินทางมาที่นี่ เพื่อหวังจะได้เห็นหรือเข้าเฝ้าองค์ทะไลลามะ
ผู้นำจิตวิญญาณแห่งทิเบต ซึ่งลี้ภัยออกจากทิเบตมาอยู่ในอินเดีย
ธรรมเมกขสถูป, สารนาถ
ธรรมเมกขสถูป สร้างขึ้นในปีค.ศ. 500 แทนที่โครงสร้างเดิมที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้า
อโศก บนพื้นที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน หรือป่ากวาง ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา
แก่ปัจญวัคคีย์
มหาวิทยาลัยนาลันทา, รัฐพิหาร
นาลันทามหาวิหาร ได้ชื่อว่า เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัย ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ที่นี่เป็น
ศูนย์กลางการศึกษาพระธรรม ตั้งแต่ศตวรรษที่ 5 จนถึง 12 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในสมัยของราชวงศ์คุปตะ
สาลีหันทัม, รัฐอันตระประเทศ
สาลีหันทัม เป็นหมู่บ้านเล็กๆในเขตศรีกากุลัม ของรัฐอันตระประเทศ หรือเรียกอีกชื่อว่า
สาลีวัตติกะ ซึ่งแปลว่า ศูนย์กลางการค้าข้าว ที่นี่มีโบราณสถานที่เป็นซากวัดวาอาราม
หลายแห่ง
จะเห็นได้ว่าความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ในดินแดนพุทธภูมิ เคยยิ่งใหญ่ อลังการ จนไม่อยากจะเชื่อว่าจะมาถึงยุคเสื่อม ที่ในประเทศอินเดียจะยังคงเหลือพุทธศาสนิกชนเป็นแค่ชนกลุ่มน้อย ที่เป็นเช่นนี้ ไม่ใช่เพราะความเสื่อมของพระศาสนา หรือเพราะศรัทธาในใจของคนเสื่อม แต่เป็นเพราะภัยที่รุกรานมาจากภายนอกพระพุทธศาสนา ซึ่งเคยเกิดขึ้นมาแล้ว ถึงตอนนี้ในประเทศไทยก็เหมือนกัน ถ้าไม่อยากให้เมืองไทยเป็นอดีตเมืองพุทธ ชาวพุทธไทยต้องช่วยกัน
ขอบคุณเรื่องและภาพจากmsn.co.th