บางคนคิดว่า "ขนมจีน" ไม่มีประโยชน์..จริงแล้วเป็นทั้งอาหารและกินเป็น "ยา"ได้ด้วย
ขนมจีนถือว่าเป็นอาหารไทยที่มีมานานแล้ว โดยพบว่ามีสถานที่คือ คลองขนมจีนและคลองน้ำยา อยู่ที่อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จึงสันนิษฐานได้ว่าคนไทยน่าจะรู้จักกินขนมจีนน้ำยาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา http://winne.ws/n6772
ชื่อขนม แต่ไม่หวาน "ขนมจีน" ใครว่าไม่มีประโยชน์..เป็นทั้งอาหารและกินเป็น "ยา"ได้ด้วย
ขนมจีนถือว่าเป็นอาหารไทยที่มีมานานแล้ว โดยพบว่ามีสถานที่คือ คลองขนมจีนและคลองน้ำยา อยู่ที่อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จึงสันนิษฐานได้ว่าคนไทยน่าจะรู้จักกินขนมจีนน้ำยาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
ปัจจุบันขนมจีนน้ำยายังเป็นอาหารจานเดียวที่นิยมกันทุกภาคทั้งที่เป็นอาหารทั่วไปและเป็นอาหารจัดเลี้ยงในงานบุญงานพิธีต่าง ๆ
ขนมจีนไม่ใช่ อาหารจีน หากแต่เป็นอาหารมอญ คำว่า "ขนมจีน" มาจากภาษามอญว่า "ขฺนํจินฺ" [คะ -นอม-จีน] คำว่า "คะนอม" มีความหมายอย่างหนึ่งว่าเส้นขนมจีน คำว่า "จีน" มีความหมายว่า "สุก"
คำว่า "ขนมจีน" หรือ "หนมจีน" คำนี้พบได้ในบทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนกินเลี้ยง คราวที่เจ้าล้านช้างถวายนางสร้อยทองแก่พระพันวษาความว่า
"ถึงวังยับยั้งศาลาชัย วิเสทในยกโภชนามาเลี้ยงเป็นเหล่าเหล่าลาวคอยชี้ ข้าวเหนียวหักหลังดีไม่เมื่อยขาแจ่วห้าแจ่วหกยกออกมา ทั้งน้ำยาปลาคลุกหนมจีนพลัน"
เส้นขนมจีนแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
1. ขนมจีนแป้งหมัก เป็นเส้นขนมจีนที่นิยมทำทางภาคอีสาน เสันมีสีคล้ำออกน้ำตาล เหนียวนุ่มกว่าขนมจีนแป้งสด และเก็บไว้ได้นานกว่า ไม่เสียง่าย การทำขนมจีนแป้งหมักเป็นวิธีการทำเส้นขนมจีนแบบ โบราณ ต้องเลือกใช้ข้าวแข็ง คือข้าวที่เรียกว่า ข้าวหนัก เช่น ข้าวเล็บมือนาง ข้าวปิ่นแก้ว ข้าวพลวง ถ้าข้าวยิ่งแข็งจะยิ่งดี เวลาทำขนมจีนแล้ว ทำให้ได้เส้นขนมจีนที่เหนียวเป็นพิเศษ นอกจากนี้แหล่งน้ำธรรมชาติก็เป็นสิ่งสำคัญ ต้องใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ จากคลองชลประทาน หรือน้ำบาดาล ไม่ควรใช้น้ำประปา เพราะเส้นขนมจีนจะเละทำให้จับเส้นไม่ใด้ ไม่น่ากิน
ขนมจีนน้ำยาป่า
2. ขนมจีนแป้งสด ใช้วิธีการผสมแป้ง ขนมจีนแป้งสด เส้นจะมีขนาดใหญ่กว่าขนมจีนแป้งหมัก เส้นมีสีขาว อุ้มน้ำมากกว่า ตัวเส้นนุ่ม แต่จะเหนียวน้อยกว่าแป้งหมัก วิธีทำจะคล้ายๆกับขนมจีนแป้งหมัก แต่จะทำง่ายกว่าเพราะไม่ต้องแช่ข้าวหลายวัน และได้เส้นขนมจีนที่มีสีขาว น่ารับกิน การเลือกซื้อขนมจีนแป้งสด ควรเลือกที่ทำใหม่ๆ เส้นจับวางเรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบ เส้นขนมจีนไม่ขาด ดมดูไม่มีกลิ่นเหม็นแป้ง ไม่มีเมือก ขนมจีนแป้งสดจะเก็บได้ไม่นาน ควรนำมานึ่ง ก่อนกิน
ภาคกลาง นิยมรับประทานกับน้ำพริก น้ำยาและแกงเผ็ดชนิดต่าง ๆ น้ำยาของภาคกลาง นิยมรับประทานกับน้ำยากะทิ เน้นกระชายเป็นส่วนผสมหลัก ส่วนน้ำพริกเป็นขนมจีนแบบชาววัง ปนด้วย ถั่วเขียว ถั่วลิสง รับประทานกับเครื่องเคียงทั้งผักสด ผักลวก และผักชุบแป้งทอด ขนมจีนซาวน้ำ เป็นขนมจีนที่นิยมในช่วง สงกรานต์ รับประทานกับ สับประรดขิง พริกขี้หนู กระเทียม มะนาว ราดด้วยหัวกะทิเคี่ยว ทางสมุทรสงครามและเพชรบุรีจะปรุงรสหวานด้วยน้ำตาลมะพร้าว]
ขนมจีนกับน้ำยาป่า น้ำพริก ผักเคียง
ภาคเหนือ เดิมทีนั้นขนมจีนน่าจะยังไม่แพร่หลายในภาคเหนือ เนื่องจากว่าน้ำเงี้ยวเดิมนิยมรับประทานกับ เส้นก๋วยเตี๋ยวและภาคเหนือมีน้ำขนมจีนเพียงชนิดเดียวคือน้ำเงี้ยว คำว่า เงี้ยว ในภาษาเหนือหมายถึง ชาวไทใหญ่ และปัจจุบันมีขนมจีนน้ำย้อย โดยจะกินขนมจีนคลุกกับน้ำพริกน้ำย้อย แล้วใส่น้ำปลาหรือผงปรุงรสตามชอบเรียกว่า ขนมเส้น หรือข้าวเส้น หรือข้าวหนมเส้น นิยมรับประทานร่วมกับน้ำเงี้ยวหรือน้ำงิ้ว ที่มีเกสรดอกงิ้วป่า เป็นองค์ประกอบสำคัญ
รับประทานกับแคบหมูและข้าวกั้นจิ๊น (ข้าวเงี้ยว, จิ๊นส้มเงี้ยว) เป็นเครื่องเคียง ในจังหวัดแพร่มีขนมจีนน้ำต้ม เป็นขนมจีนแบบหนึ่ง ลักษณะคล้ายขนมจีนน้ำเงี้ยวแต่น้ำเป็นน้ำใส ไม่ใส่น้ำแกง น้ำซุปได้จากการต้มและเคี่ยวกระดูกหมู ใส่รากผักชี เกลือและน้ำปลาร้า มีรสเปรี้ยวจากมะเขือเทศ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ เรียกว่า ข้าวปุ้น อีสานใต้เรียกว่า นมปั่นเจ๊าะ คล้ายกับกัมพูชา นิยมรับประทานกับน้ำยาใส่ปลาร้า ใส่กระชายเหมือนน้ำยาภาคกลาง และข้าวปุ้นน้ำแจ่วที่รับประทานขนมจีนกับน้ำต้มกระดูก ปรุงรสด้วยน้ำปลาร้า ไม่ใส่เนื้อปลา และนำขนมจีนมาทำส้มตำเรียกตำซั่ว นิยมขนมจีนแป้งหมัก
ขนมจีนกับส้มตำ อาหารและผักเคียงอื่น ๆ
ขนมจีนนานาชาติ เรียกว่า โหน้มจีน โดยเป็นอาหารเช้าที่สำคัญของภาคใต้ฝั่งตะวันตก เช่น ระนอง พังงา ภูเก็ต รับประทานกับผักเหนาะชนิดต่าง ๆ ทางภูเก็ตนิยมรับประทานกับ ห่อหมกปาท่องโก๋ ชาร้อน กาแฟร้อน ทางชุมพรนิยมรับประทานขนมจีนเป็นอาหารเย็น รับประทานกับทอดมันปลากราย ส่วนที่นครศรีธรรมราชรับประทานเป็นอาหารเช้าคู่กับ ข้าวยำน้ำยาทางภาคใต้ใส่ขมิ้นไม่ใส่กระชายเหมือนภาคกลาง ถ้ารับประทานคู่กับแกงจะเป็นแกงไตปลา
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ เรียกว่า ข้าวปุ้น อีสานใต้เรียกว่า นมปั่นเจ๊าะ คล้ายกับกัมพูชา นิยมรับประทานกับน้ำยาใส่ปลาร้า ใส่กระชายเหมือนน้ำยาภาคกลาง และข้าวปุ้นน้ำแจ่วที่รับประทานขนมจีนกับน้ำต้มกระดูก ปรุงรสด้วยน้ำปลาร้า ไม่ใส่เนื้อปลา และนำขนมจีนมาทำส้มตำเรียกตำซั่ว นิยมขนมจีนแป้งหมัก
ขนมจีนนานาชาติ เรียกว่า โหน้มจีน โดยเป็นอาหารเช้าที่สำคัญของภาคใต้ฝั่งตะวันตก เช่น ระนอง พังงา ภูเก็ต รับประทานกับผักเหนาะชนิดต่าง ๆ ทางภูเก็ตนิยมรับประทานกับ ห่อหมกปาท่องโก๋ ชาร้อน กาแฟร้อน ทางชุมพรนิยมรับประทานขนมจีนเป็นอาหารเย็น รับประทานกับทอดมันปลากราย ส่วนที่นครศรีธรรมราชรับประทานเป็นอาหารเช้าคู่กับ ข้าวยำน้ำยาทางภาคใต้ใส่ขมิ้นไม่ใส่กระชายเหมือนภาคกลาง ถ้ารับประทานคู่กับแกงจะเป็นแกงไตปลา
ขนมจีน แกงไตปลา
ลาว เรียกว่า ข้าวปุ้น นิยมรับประทานกับน้ำยาปลาร้า
กัมพูชา เรียกว่า นมปันเจ๊าะ นิยมยมรับประทานกับน้ำยาปลาร้า น้ำยากะทิ
ชาวไทยมีรสนิยมในการรับประทานขนมจีน ดังนี้
เมื่อเรียงจับขนมจีนลงในจับแล้ว ผู้รับประทานจะราดน้ำยาลงไปบนเส้นขนมจีนให้ทั่ว น้ำยาขนมจีนนั้น มีลักษณะคล้ายน้ำแกง ไม่เหลวจนเกินไป ใช้ราดไปบนเส้นขนมจีนในจาน แต่ละท้องถิ่นจะมีน้ำยาแตกต่างกันไป เช่น น้ำยากะทิ น้ำยาป่า น้ำพริก แกงกะทิต่าง ๆ เช่น แกงเขียวหวาน น้ำเงี้ยว แกงไตปลา ซาวน้ำ สำหรับเด็กก็ยังมี น้ำยาหวานที่ไม่มีรสเผ็ดและมีส่วนผสมของถั่ว เป็นต้นใช้ช้อนตัดเส้นขนมจีนให้มีความยาวพอดีคำ แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากับน้ำยา บางท่านนิยมรับประทานขนมจีนกับน้ำปลา นอกจากน้ำยาแล้ว ยังมีเครื่องเคียงเป็นผักสดและผักดอง ตามรสนิยมในแต่ละท้องถิ่น เครื่องเคียงประเภททอด เช่น ทอดมัน ดอกไม้ทอด หรืออื่น ๆ ตามแต่ความชอบและความนิยมในแต่ละภาค
ขนมจีนตำซั่ว
ผักที่รับประทานคู่กับขนมจีน
ผักที่รับประทานกับขนมจีนแต่ละภาคของประเทศไทยมีความแตกต่างกัน ดังนี้ภาคกลาง เรียกผักที่รับประทานคู่กับขนมจีนว่า "เหมือด" ได้แก่ หัวปลีซอย ถั่วฝักยาว แตงกวา ถั่วงอก ใบแมงลัก กระหล่ำปลี ผักกระเฉด ใบบัวบก ผักลวก มีมะระจีน ผักบุ้ง ผักชุบแป้งทอดที่รับประทานกับขนมจีนน้ำพริกเท่านั้น ได้แก่ ใบผักบุ้ง ใบเล็บครุฑ ใบกระเพรา ดอกแค ดอกอัญชัญ ดอกพวงชมพู ดอกเข็ม ผักดอง เช่น ผักกาดดอง เครื่องเคียงอื่น ๆ เช่น พริกขี้หนูแห้งคั่ว ไข่ต้มยางมะตู
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผักสดได้แก่ ยอดจิก ยอดมะกอก ผักติ้ว ใบแต้ว ผักชีลาว ผักชีล้อม ผักแขยง ผักไผ่ ยอดชะอม ยอดกระถิน เม็กกระถิน
ภาคเหนือ รับประทานกับผักกาดดองและถั่วงอกดิบ
ภาคใต้ เรียกผักที่รับประทานกับขนมจีนว่า "ผักเหนาะ" ผักสด ได้แก่ ยอดมันปู ยอดมะม่วงหิมพานต์ ยอดมะกอก ยอดสะตอ ลูกเนียง เม็ดกระถิน ถั่วฝักยาว ถั่วงอก ถั่วพู มะเขือเปราะ ใบบัวบก ผักดอง เช่น แตงกวา หอมกระเทียม มะละกอ ส้มมุด ถั่วงอก หัวไชโป๊หวาน หน่อไม้รวก ผักต้มกะทิ เช่น สายบัว ผักบุ้ง หัวปลี ขนุนอ่อน
ขนมจีนน้ำยา ภาคใต้
ประโยชน์ของขนมจีน การกินขนมจีนน้ำยาจะได้คุณค่าทางโภชนาการดังนี้
๑ หน่วยบริโภค เท่ากับ ๔๒๐ กรัม ประกอบด้วย
ขนมจีน ๑๒๐ กรัม น้ำยา ๑๗๐ กรัม
ผักและเครื่องเคียง ๑๓๐ กรัม
ไข่ต้ม ๑/๒ ฟอง
พลังงาน ๓๐๗ กิโลแคลอรี
ไขมันทั้งหมด ๘.๔ กรัม
โปรตีน ๑๕.๑ กรัม
คาร์โบไฮเดรต (รวมใยอาหาร) ๔๒.๘ กรัม
ที่มาของข้อมูล : จากรายงานการวิจัย "คุณค่าอาหารไทยเพื่อสุขภาพ" โดยทีมวิจัยสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
ขนมจีนน้ำยาเป็นแหล่งที่ดีของใยอาหาร (เพราะมีผักเครื่องเคียงประกอบค่อนข้างมาก) แต่มีไขมันอิ่มตัวค่อนข้างสูง เนื่องจากมีกะทิเป็นส่วนประกอบหลัก จึงไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีโรคความดัน โรคหัวใจ และผู้ที่มีโคเลสเตอรอลสูง ท่านที่มีความเสี่ยงต่อโรคเหล่านี้ควรหลีกเลี่ยง ขอแนะนำให้กินน้ำยาป่าแทนจะดีกว่าเพราะไม่มี ส่วนของกะทิให้กังวลใจ การกินขนมจีนไม่ว่าจะขนมจีนน้ำยาหรือสูตรอื่นก็ตามจะให้ได้ประโยชน์ อย่างเต็มที่ ต้องกินผักเครื่องเคียงมากๆ หรือถ้าอยากจะเพิ่มลูกชิ้นปลาด้วยก็ได้ไม่ว่ากัน
อ้างอิง : https://www.doctor.or.th/article/detail/2154
และ เว็บ วิกิพีเดีย เสรีนุกรม