อธิษฐานจิตเข้าพรรษา คืออะไร ทำไมต้องอธิษฐาน อธิษฐานแล้วดีอย่างไร?
อธิษฐานจิตเข้าพรรษา คืออะไร ทำไมต้องอธิษฐาน อธิษฐานแล้วดีอย่างไร? http://winne.ws/n4744
อธิษฐานพรรษาหรืออธิษฐานอยู่จำพรรษา
คำกล่าวอธิษฐานพรรษาเป็นภาษาบาลีว่า "อิมัสะมิง อาวาเส อิมัง เตมาสัง วัสสัง อุเปมิ" แปลว่า "ข้าพเจ้าขออยู่จำพรรษาในวัดนี้ ตลอด ๓ เดือน" โดยกล่าวเป็นภาษาบาลีดังนี้ ๓ ครั้ง ต่อจากนั้นพระผู้น้อยก็กระทำสามีกิจกรรม คือ กล่าวขอขมาพระผู้ใหญ่ว่า "ขอขมาโทษที่ได้ล่วงเกินไปทางกาย วาจา ใจ เพราะประมาท"
ช่วงอธิษฐานจิต “ทำดี ละชั่ว”
วันเข้าพรรษา หมายถึง วันที่พระภิกษุในพระพุทธศาสนาอธิษฐานอยู่ประจำที่ ไม่จาริกไปค้างแรมตามสถานที่ต่างๆ เว้นแต่มีกิจจำเป็น เป็นระยะเวลา ๓ เดือนในฤดูฝน คือตั้งแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ ซึ่งวันเข้าพรรษาปีนี้ ตรงกับวันที่ ๒๒ กรกฏาคม ๒๕๔๘
โดยทั่วไปการจำพรรรษา หรือ การอธิษฐานอยู่ประจำที่เป็นเวลา ๓ เดือน จะมี ๒ ระยะ คือ
๑.“ปุริมพรรษา” หรือ “เข้าพรรษาแรก” นับตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ (วันออกพรรษา) แต่ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือมีเดือน ๘ สองหน ก็จะเลื่อนไปเริ่มจำพรรษาในวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ หลัง
๒. “ปัจฉิมพรรษา” หรือ “เข้าพรรษาหลัง” จะเริ่มตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๙ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒
ในประเทศไทย พระภิกษุส่วนใหญ่จะจำพรรษาในช่วงปุริมพรรษาหรือพรรษาแรกมากกว่าปัจฉิมพรรษาหรือพรรษาหลัง ยกเว้นพระภิกษุที่อาพาธ(ป่วย)หรือมีกิจจำเป็นจึงจะอธิษฐานจำพรรษาในช่วงปัจฉิมพรรษา ส่วนการที่มีเดือนแปดสองหน หรือปีอธิกมาส ก็เพราะเป็นการนับทางจันทรคติ(วันขึ้น วันแรม)ซึ่งแต่ละปีจะมีจำนวนวันน้อยกว่าการนับทางสุริยคติ(การนับวันตามแบบปัจจุบัน) ทำให้ต้องเพิ่มเดือนในบางปีเพื่อชดเชยจำนวนวันที่หายไป มิให้ปีทางจันทรคติและสุริยคติคลาดเคลื่อนกันไปมากความเป็นมาของวันเข้าพรรษาเกิดขึ้น
การที่พระภิกษุจำนวนมากอยู่จำพรรษาถึง ๓ เดือนนี้ ดีอย่างไร?
นับเป็นโอกาสเหมาะที่จะได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย และประพฤติปฏิบัติธรรมกับพระเถระที่เป็นอุปัชาย์อาจารย์อย่างเต็มที่ ในขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสให้พุทธศาสนิกชนได้ไปบำเพ็ญกุศล เช่น ทำบุญตักบาตร รักษาศีล สวดมนต์ ฟังธรรม เจริญภาวนา ตลอดจนไปศึกษาหาความรู้กับพระภิกษุ ซึ่งต่อมาได้เกิดเป็นประเพณีนิยมที่จะให้ลูกหลานไปบวชเรียนในช่วงเข้าพรรษา เพื่อให้ได้ศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ และได้ฝึกฝนตนเองอย่างต่อเนื่องทำให้ได้ความรู้ในธรรมะและเกิดเป็นนิสัยที่ดีในการฝึกตนอีกด้วย
ข้อปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนช่วงเทศกาลเข้าพรรษา
ปัจจุบัน ได้มีพุทธศาสนิกชนจำนวนไม่น้อยที่ถือเอาวันเข้าพรรษาเป็นวันสำรวจพฤติกรรมของตนที่ผ่านมา และตั้งจิตอธิษฐานที่จะลด ละ เลิกสิ่งที่ไม่ดีต่างๆ เช่น เลิกเหล้า อดบุหรี่ การพูดจาหยาบคาย ฯลฯ ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา ๓ เดือน โดยใช้วันนี้เป็นวันเริ่มต้นในการกระทำดี ซึ่งก็นับว่าเป็นระยะเวลาที่ยาวนานเพียงพอสำหรับความตั้งใจสร้างเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้เกิดขึ้น อันมีอานิสงส์ทำให้ตนเอง ครอบครัวและสังคมเกิดความสุข
ช่วงเทศกาลเข้าพรรษาทำให้เกิดประเพณีสำคัญขึ้นอีก ๒ ประเพณีคือ ประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝน และประเพณีแห่เทียนพรรษา ประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝน
เข้าพรรษาเป็นเทศกาลพิเศษ ที่พุทธศาสนิกชนจึง ขะมักเขม้นในการบุญกุศลยิ่งกว่าธรรมดาบางคนตั้งใจรักษาอุโบสถตลอด ๓ เดือน บางคนตั้งใจฟังเทศน์ทุกวันพระตลอดพรรษา มีผู้ตั้งใจทำความดีต่าง พิเศษขึ้น ทั้งมีผู้งดเว้นการกระทำบาปกรรมในเทศกาลเข้าพรรษา และคนอาศัยสาเหตุแห่งเทศกาลเข้าพรรษาตั้งสัตย์ปฏิญาณเลิกละอายมุกและความชั่วสามานย์ต่าง ๆ โดยตลอดไป จึงนับเป็นบุคคลที่ควรได้รับการยกย่องสรรเสริญและได้รับสิ่งอันเป็นมงคล
อ้างอิง http://eng.bu.ac.th/2007/traditional/5.htm
ขอบคุณภาพจาก www.google.com