"นิยม"ชี้ปมปลด 3 เจ้าคณะจังหวัด กมธ.ศาสนายังไม่ยุติเรื่อง
"นิยม"ชี้กรณีปลด 3 เจ้าคณะจังหวัด กมธ.ศาสนายังไม่ยุติเรื่อง เป็นความเห็นส่วนตัวของ "ไพบูลย์" http://winne.ws/n28268
เมื่อวันที่ 15 ต.ค. นายนิยม เวชกามา ส.ส.สกลนคร พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงการที่ายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ออกมาให้ข่าวหลังประชุม กมธ.ศาสนา ว่า กมธ.ศาสนา ไม่มีอำนาจในการสอบเรื่องการปลดเจ้าคณะจังหวัดจึงยุติเรื่องนั้น ว่า เรื่องยังไม่ได้ยุติ ยังมีการดำเนินการสอบต่อ ตนขอชี้แจงว่า เมื่อมีการร้องเรียน กมธ.ก็มีอำนาจในการสอบหาข้อเท็จจริง แต่ไม่มีอำนาจชี้ถูกผิดหรือลงโทษ เมื่อได้ข้อเท็จจริงแล้วก็เสนอประธานสภาฯ เพื่อแจ้งให้นายกฯไปดำเนินการแก้ไขต่อไป การที่บอกว่า กมธ.ศาสนายุติเรื่องแล้ว จึงไม่ตรงกับที่หารือในการประชุม เพราะที่ประชุมเสนอเพียงว่า เนื่องจากเป็นเรื่องละเอียดอ่อน จึงขอไม่ให้มีการให้ข่าว จนกว่าจะเขียนสรุปรายงานผลการศึกษาออกมาเป็นเอกสารก่อน มิเช่นนั้นจะกระทบกับหลายฝ่าย ขณะนี้เพิ่งเรียกสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) มาให้ข้อมูลฝ่ายเดียวเท่านั้น และ พศ.ให้ข้อมูลว่า เจ้าคณะใหญ่เป็นผู้เสนอขึ้นมา ทาง พศ.ไม่ทราบเหตุผล คาดว่า อาจจะมีผู้ร้องเรียน จึงเสนอปลด เมื่อ พศ.ให้ข้อมูลว่า เจ้าคณะใหญ่เป็นผู้เสนอปลด ไม่ใช่ พศ. มันก็ขัดแย้งกันกับที่สมเด็จหลายรูปให้ข้อมูลมาก่อนหน้านี้ว่า ไม่ทราบเรื่องการปลดมาก่อน
นายนิยม กล่าวต่อว่า ตามขั้นตอนของ กมธ.ศาสนาก็ต้องมีหนังสือสอบถามข้อเท็จจริงไปยังเจ้าคณะใหญ่หน หรือเจ้าคณะภาค ว่า ตามที่ พศ.ให้ข้อมูลว่าเจ้าคณใหญ่หนเป็นผู้เสนอปลดนั้น มีขั้นตอนการปลดอย่างไร มีการตั้งคณะกรรมการสอบก่อนหรือไม่ หรือว่าเป็นดุลยพินิจของท่านเอง แล้วมีอะไรเป็นหลักในการใช้ดุลยพินิจ จากนั้นก็จะเรียกฝ่ายที่ร้องเรียนเข้ามาให้ข้อมูล จึงจะสรุปข้อเท็จจริงได้ ดังนั้น กมธ.ศาสนา ยังไม่ได้สรุปอะไร อยู่ในขั้นตอนการเรียก พศ.มาให้ข้อมูลคนเดียว ยังไม่ได้เรียกคนอื่นมา การออกมาให้ข่าวว่า ยุติเรื่องแล้ว จึงเป็นความเห็นส่วนตัวเท่านั้น ยังไม่ใช่ข้อสรุปของ กมธ.ศาสนาแต่อย่างใด ตนเห็นว่า หากไม่มีความรู้ทางคณะสงฆ์ อย่าพูดเสียยังจะดีกว่า ตนขอทำความเข้าใจเรื่องนี้ หากเห็นว่า พระสังฆาธิการถูกร้องเรียนความผิดต่อตำแหน่งทางการปกครอง ก็ตั้งกรรมการสอบจริยาพระสังฆาธิการ ส่วนถ้าถูกร้องเรียนอาบัติก็สอบอธิกรณ์ ว่าผิดอาบัติหรือไม่ กรณีนี้เป็นเรื่องการปลดจากตำแหน่งทางการปกครองในระดับเจ้าคณะจังหวัด ซึ่งเจ้าคณะหนและเจ้าคณะภาคต้องตั้งกรรมการสอบจริยาพระสังฆาธิการ กฎมหาเถรสมาคมกำหนดเอาไว้ชัดเจน เป็นขั้นเป็นตอน หากไม่ตั้งกรรมการสอบ เจ้าคณะหนและเจ้าคณะภาค ก็ผิดจริยาพระสังฆาธิการอย่างร้ายแรง ตนเห็นว่า ไม่ใช่ว่า จริยาพระสังฆาธิการจะเอาไว้ใช้กับ เจ้าอาาส เจ้าคณะตำบล หรือเจ้าคณะอำเภอตัวเล็กตัวน้อยเท่านั้น มันต้องใช้กับเจ้าคณะภาค เจ้าคณะหน หรือแม้แต่ มส. ก็ต้องใช้ด้วยเช่นกัน เหมือนการสอบความผิดวินัยร้ายแรงของข้าราชการ ไม่ใช่จะเอาไว้ใช้แต่กับข้าราชการตัวเล็กตัวน้อยเท่านั้น แต่ใช้กับทุกระดับจนถึงอธิบดี
ขอบคุณเนื้อหา NEW18