เลขาธิการสมาพันธ์ชาวพุทธฯ ชี้การถอดถอนเจ้าคณะจังหวัด 3 จังหวัด “ผิดพระธรรมวินัย

นายกรณ์ มีดี แสดงความคิดเห็นต่อกรณีการถอนถอนเจ้าคณะจังหวัด 3 จังหวัด กรณีจะถอดถอนพระสังฆาธิการออกจากตำแหน่งได้นั้น กระทำได้สถานเดียวคือละเมิดจริยาอย่างร้ายแรง http://winne.ws/n28262

928 ผู้เข้าชม
เลขาธิการสมาพันธ์ชาวพุทธฯ ชี้การถอดถอนเจ้าคณะจังหวัด 3 จังหวัด “ผิดพระธรรมวินัย

นายกรณ์ มีดี เลขาธิการสมาพันธ์ชาวพุทธแห่งประเทศไทย หัวหน้าพรรคแผ่นดินธรรม แสดงความคิดเห็นต่อกรณีการถอนถอนเจ้าคณะจังหวัด 3 จังหวัด คือ จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดกาฬสินธุ์ (ธ) ว่า การถอดถอนพระสังฆาธิการนั้น เสมือนหนึ่งว่า ท่านได้กระทำความผิดร้ายแรง เพราะในกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 24 พ.ศ.2541 ว่าด้วยการแต่งตั้งและถอดถอนพระสังฆาธิการ หมายความว่า กรณีจะถอดถอนพระสังฆาธิการออกจากตำแหน่งได้นั้น กระทำได้สถานเดียวคือละเมิดจริยาอย่างร้ายแรง 

“มส.ทำผิดพระธรรมวินัย” การจะฟ้องร้องหรือสอบสวนพระสงฆ์นั้น พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสเอาไว้ในพระวินัย ภาษาพระเรียกว่า อธิกรณ์ ซึ่งตามพระธรรมวินัย ได้ให้วิธีระงับอธิกรณ์ไว้ว่า คณะสงฆ์จะต้องประชุมกัน ไต่สวน วินิจฉัย ตัดสิน และลงโทษ ผู้ก่อให้เกิดอธิกรณ์ ตามควรแก่กรณี จากการตรวจสอบพบว่า กรณีของเจ้าคณะจังหวัดทั้ง 3 จังหวัดนั้น ยังไม่พบหลักฐานใดๆ ว่า เจ้าคณะปกครองและมหาเถรสมาคมมีการดำเนินการตามพระธรรมวินัยแล้ว

“มส.ทำผิดกฎหมาย” การถอดถอนเจ้าคณะจังหวัดทั้ง 3 จังหวัด ผิดกฎหมาย พรบ.คณะสงฆ์ ตามมาตรา 15 ตรี (1) และ (5) ดังนี้ มาตรา 15 ตรี ( แก้ไข พ.ศ.2535 (ฉบับที่ 2) (1) ปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นไปโดยเรียบร้อยดีงาม (5) รักษาหลักพระธรรมวินัยของพระพุทธศาสนาผิดมาตรา 15 ตรี (1) เพราะไม่สามารถปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นไปโดยเรียบร้อยดีงาม และเมื่อไม่ดำเนินการตามพระธรรมวินัย คือ เมื่อเกิดอธิกรณ์ คณะสงฆ์ต้องประชุมกัน ไต่สวน วินิจฉัย ตัดสิน และลงโทษหากทำผิดจริง 

“มส.ทำผิดกฎมหาเถรสมาคม” อีกทั้ง กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 24 (พ.ศ.2541) ว่าด้วยการแต่งตั้งและถอดถอนพระสังฆาธิการ ระบุไว้ในมาตรา 55 อย่างชัดเจนว่า การจะดำเนินการถอดถอนพระสังฆาธิการได้นั้นต้องเกิดจากการละเมิดจริยาพระสังฆาธิการอย่างร้ายแรงเท่านั้นอันหมายถึงมีความผิดร้ายแรง ซึ่งเมื่อมีความผิดร้ายแรงก็ต้องมีการสอบอธิกรณ์ และเมื่อสอบอธิกรณ์เสร็จแล้วก็ต้องดำเนินการตาม กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 24 ว่าด้วยการแต่งตั้งและถอดถอนพระสังฆาธิการ แก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 1 (พ.ศ.2563) ข้อ 5/1 (2) การถอดถอนจากตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่ เจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัด และเจ้าอาวาสพระอารามหลวง เมื่อได้ดำเนินการตามกฎมหาเถรสมาคมนี้แล้ว ให้เสนอมหาเถรสมาคมพิจารณาทุกกรณี ซึ่งตอนนี้ยังไม่พบทั้งการแต่งตั้ง และการถอดถอน เจ้าคณะจังหวัด ว่า ผ่านการพิจารณาของมหาเถรสมาคม ก่อนที่จะนำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระราชดำริ

“หากไม่มีการสอบอธิกรณ์ หากไม่เสนอให้มหาเถรสมาคมพิจารณาทุกกรณี การถอดถอนเจ้าคณะจังหวัดทั้ง 3 แห่ง อาจเข้าข่ายผิดกฎหมายอาญามาตรา 157 ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพราะเจ้าคณะผู้ปกครองรวมถึงกรรมการมหาเถรสมาคม มีสถานะเป็นเจ้าพนักงาน ตาม พรบ.คณะสงฆ์ มาตรา 45 ที่ระบุว่า ให้ถือว่าพระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์และไวยาวัจกร เป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญา ผิดกฎหมายอาญามาตรา 157 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับเจ้าคณะผู้ปกครองและกรรมการมหาเถรสมาคม จึงมีความสุ่มเสี่ยงหลายประการ ทั้งทำผิดมาตรา 157 ฐานเป็นเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทั้งอาจทำผิดจริยาพระสังฆาธิการอย่างร้ายแรงเสียเอง

ขอบคุุณเนื้อหา The Sender

แชร์