"มจร"ระดมสมองทำแผนพัฒนาที่ 13 เล็งปรับให้สอดรับสังคมโลกมากยิ่งขึ้น
จุดแข็งของมหาจุฬาคืออะไร เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของมหาจุฬา อะไรที่ควรทำแต่เรายังไม่ได้ทำนั่นคือจุดอ่อน งานวิสาขบูชาโลกที่มหาจุฬาจัดถือว่าเป็นจุดแข็งถึงระดับโลก ซึ่งการจัดทำแผนจะต้องเริ่มจากการวิเคราะห์ SWOT http://winne.ws/n27708
"มจร" ระดมสมองทำแผนพัฒนามหวิทยาลัยที่ 13 พระเทพวัชรบัณฑิตอธิการบดีแนะ ต้องวิเคราะห์สถานการณ์สังคมโลกในปัจจุบัน แล้วปรับให้สอดรับ นำไอทีมาบริหารจัดการ พร้อมปรับการสื่อสารทั้งในและนอกองค์กรให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย
วันที่ 30 มีนาคม 2564 พระเทพวัชรบัณฑิต,ศาสตราจารย์ ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา กล่าวในการพัฒนาแผนมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยสาระสำคัญว่า เราจะสามารถตอบมหาวิทยาลัยระดับโลกได้อย่างไร ซึ่งเรามองมิติของงานวิสาขบูชาโลกโดยมีคำว่าคุณภาพ และระดับชาติและนานาชาติ เราต้องการ 4.5 ขึ้นไป ปัจจัยสำคัญที่จะต้องมี คือ สายวิชาการต้องมีตำแหน่งทางวิชาการ ผศ. รศ. ศ. 40 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป สายวิชาการต้องระดับปริญญาเอกขึ้นไป และวารสารบทความทางวิชาการ เราจะต้องมีการวิเคราะห์สถานการณ์สังคมโลกในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลง ทิศทางของประชาคมโลก ดูแผนของกระทรวงที่กำกับ ดูแผนพัฒนาของภาครัฐที่สอดคล้อง เช่น ความสามารถเทคโนโลยี ความต้องการของสังคมในสายที่เรากำลังผลิตบัณฑิต ผลิตบัณฑิตออกไปจะต้องมีทิศทาง ในฐานะอธิการบดี มจร มีทิศทางในการบริหารมหาจุฬาฯ คือ
1) Mcu IT เป็นการนำไอทีมาบริหารจัดการบริหารและจัดการเรียนการสอน ใครที่เก่งมีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีอยากให้มีการเชื่อมเป็นเครือข่ายในการทำงานร่วมกัน ระบบจะต้องมีความเสถียรสามารถใช้งานได้จริง 2) Mcu แอปพลิเคชั่น ถือว่ามีการพัฒนาที่ดีในการบริหารจัดการรวมถึงการเรียนการสอน ส่วนกลางจะเป็นเจ้าภาพหลักให้เป็นเอกภาพ มีการสะสมข้อมูลทางวิชาการ มีการบันทึกข้อมูลจากผู้บริหารและคณาจารย์เพื่อเป็นข้อมูล รวมถึงการบริการวิชาการ คำบรรยายลักษณะ How to มีผู้คนเข้าดูจำนวนมาก เป็นการประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัย และบทสวดมนต์มีการเข้าชม รวมถึงดนตรีบำบัด
วัดในมหาวิทยาลัยเน้นสีเขียว เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว รวมถึงชุมชนแห่งการเรียนรู้มหาจุฬา จึงต้องพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นให้เกิดหาร Re Skill และ Up Skill โดยมุ่งด้านวิธีคิดและพัฒนาชีวิต โดยเน้นหลักสูตรวุฒิบัตรและประกาศนียบัตร เป็นการเน้นให้คนเข้ามาในมหาจุฬา หลักสูตรระยะสั้นจึงเป็นการตอบโจทย์ให้คนเข้ามาเรียนรู้มหาจุฬา ทุกหลักสูตรต้องพัฒนาเป็นหลักสูตรระยะสั้น นอกจากนั้นต้องมีทุนทางสังคมสักการะสิ่งเคารพนับถือภายในมหาวิทยาลัย จึงต้องสร้างคุณค่า เราต้องไม่ปล่อยให้มหาจุฬาเงียบเหงา จะต้องมีเสียงสวดมนต์ มีความเป็นวัดมหาวิทยาลัย รวมศาสนวัตถุ ศาสนบุคคล เราจะต้องมีเอกลักษณ์ที่งดงาม รวมถึงนิสิตระดับนานาชาติ จะมีการวางแผนอย่างไร
พระเทพวัชรบัณฑิต กล่าวต่อว่า ขณะที่ปรัชญามหาจุฬาควรจะเป็นอย่างไร จึงขอเสนอปรัชญาว่า ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก ควรจะเป็นปรัชญา คำถามคือพระพุทธศาสนาระดับโลกควรเป็นอย่างไร ทำอะไร จึงเสนอมหาวิทยาลัยสร้างพุทธนวัตกรรม สิ่งที่ย้ำมากคือ ดูสถานการณ์ของโลกในการทำแผนพัฒนามหาวิทยาลัย เพื่อยกระดับมหาวิทยาลัยระดับโลก จึงต้องมีแผนพัฒนามหาจุฬาต้องสอดรับกับสถานการณ์สังคมปัจจุบัน ท่านอธิการบดีมหาจุฬาจึงย้ำว่าระบบเทคโนโลยีต้องครอบคลุมทั่วโลก มีแผนพัฒนามุ่งชุมชนแห่งการเรียนรู้ด้วยการพัฒนาหลักสูตรวุฒิบัตรและประกาศนียบัตร เมื่อนึกถึงการสื่อสารพระพุทธศาสนานึกถึงมหาจุฬา
จากการสรุปของทีมงาน Mcu อธิการบดี มจร คือ สาระในแผนที่ 13 ด้วยการปรับทิศทางชุดความคิดและวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน ปรับวิธีคิดใหม่ทั้งหมดของแผน 13 วิเคราะห์สถานการณ์ในปัจจุบัน ให้ดูทิศทางของประชาคมโลก ศึกษาจากแผนพัฒนา ศึกษาแผนของกระทรวง อว.
MCU IT /MCU Network นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ ต้องรองรับการใช้ในประเทศและต่างประเทศ Smart University
MCU Application การบริหารงานบุคคล ประกันคุณภาพการศึกษา การเงินการบัญชี ระบบทะเบียน หมั่นแลกเปลี่ยนข่าวสารด้านเทคโนโลยี ซึ่งส่วนกลางจะเป็นเจ้าภาพหลักและเป็นเอกภาพ
MCU Boardcasting การเรียนการสอนออนไลน์ทางไกล การสะสมรวบรวมข้อมูลหรือผลงานทางวิชาการ
MCU TV รวบรวมการบรรยายของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย การสอนวิปัสสนากรรมฐานออนไลน์ การบริการวิชาการ การประสัมพันธ์ เล่นการบรรยายธรรมะ บทสวดมนต์ นำเสนอเป็นการบริการวิชาการแก่สังคม
MCU Learning community มีการจัดทำหลักสูตรระยะสั้นเพิ่มมากขึ้นมีแหล่งบริการวิชาการรูปแบบต่างๆ
Monastic University วัดมหาวิทยาลัย เป็นสถานที่กราบไหว้บูชาสักการะ และต้องสร้างคุณูปการภายในมหาวิทยาลัย อยู่ที่การบริหารจัดการ มีการสวดมนต์ทุกวันจันทร์ของเดือน เพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี โดยเริ่มจากส่วนกลาง และอยากให้ส่วนภูมิภาคปฏิบัติเช่นกัน คงอัตตลักษณ์ เอกลักษณ์เฉพาะ
International Buddhist Studies Center ศูนย์การเรียนการสอนพระพุทธศาสนาระดับนานาชาติต้องพัฒนาให้มีหน่วยประสานงานในประเทศเพื่อนบ้าน ที่มาศึกษาอยู่ภายในมหาวิทยาลัยแนวทางการจัดการเรียนการสอนสำหรับนิสิตต่างประเทศ อาจจะทำ MOU กับวัดในประเทศนั้นๆ ต้องการติดต่อหรือต้องการเอกสารสามารถติดต่อได้ที่หน่วยประสานงานนี้ได้หาแนวทางเหล่านี้ไปใส่ในแผน 13
โดยแผนกลยุทธ์การพัฒนาองค์กร ซึ่งการทำแผนเป้าหมายจะต้องชัดเจนที่สุด เพื่อสื่อสารในองค์กร องค์กรต่างๆจะใช้การสื่อสารองค์กรเพื่อให้เข้าถึงคนในองค์กร จึงต้องจัดการความรู้ด้วย KM คำว่า KM หมายถึง องค์ความรู้ในสมองคนที่เชี่ยวชาญไปใส่สมองคนที่ยังไม่เชี่ยวชาญ ความรู้จากบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญ แผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาจะต้องมีการยืดหยุ่น ยุทธศาสตร์คือ จุดเน้นในการดำเนินการขององค์กร เน้นจุดใดถือว่าเป็นยุทธศาสตร์ หัวใจสำคัญต้องเป็น KM มี 2 ประการ คือ 1) มีความรู้ที่ชัดแจ้ง เป็นความรู้ที่ถูกบันทึกมาแล้ว 2)เขียนออกมาเป็นทักษะตนเองออกมา เป็นประสบการณ์ เป็นความรู้ที่ซ่อนในตัวบุคคล เวลาที่ผู้บริหารพูดต้องฟัง องค์ความรู้เหล่านี้สำคัญ ต้องมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคน โดยมีการทดสอบทุก 6 เดือนใน 20 ข้อ ว่าตอนนี้องค์กรมีทิศทาง มีนโยบายอย่างไร ทำให้คนในองค์กรสนใจ ต่อให้สื่อประชาสัมพันธ์ดีขนาดไหนถ้าพฤติกรรมคนในองค์กรไม่เปลี่ยนก็เกิดผลได้ยาก เป็นประสบการณ์จากกระทรวงแห่งหนึ่ง มีความความชัดว่าการสื่อสารต้องการอะไร
ในการประชาสัมพันธ์สื่อต้องง่าย สามารถเข้าถึงอย่างง่าย สื่อสารองค์กรต้องง่ายที่สุด บุคคลภายนอกเวลาจะศึกษาด้านพระพุทธศาสนาต้องนึกถึงมหาจุฬาที่สามารถนำศาสตร์สมัยใหม่มาประยุกต์กับพระพุทธศาสนา ถือว่าเป็นการพัฒนาระดับโลก งานวิจัยของมหาจุฬาตอบโจทย์สังคม ไม่มีใครจะเชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนาเท่ากับมหาจุฬา องค์ความรู้ของมหาจุฬาจึงเปลี่ยนสังคมโลก อดีตเรามองว่าแค่พระมาเรียน แต่ปัจจุบันคนมองเป็นมหาวิทยาลัยที่นำศาสตร์สมัยใหม่และพุทธศาสนามาพัฒนาสังคมโลก การพัฒนาครูอาจารย์จึงต้องต่อเนื่อง เช่น มีบุคลากรได้รับรางวัลต่างๆ เราจะมีการประชาสัมพันธ์อย่างไร
การสื่อสารในองค์กรถือว่าเป็นงานประชาสัมพันธ์ เราจะทำอย่างไรให้คนในองค์กรรับทราบข้อมูล ก่อนจะประชาสัมพันธ์ภายนอกต้องเริ่มจากการประชาสัมพันธ์ภายใน เราจะสื่อสารอย่างไรให้องค์กรมีภาพลักษณ์ที่ดี ให้องค์กรอยู่รอด มหาจุฬาฯเรานำศาสตร์สมัยใหม่และพระพุทธศาสนามาบูรณาการในการพัฒนาสังคมและโลก ถือว่าเป็นจุดแข็งของมหาจุฬาฯ ในการสื่อสารองค์กรจะต้องทำบทสรุปด้วยการทำ KM คือการจัดการความรู้ เป็นเอกสารออกมาเป็นชิ้นหรือคู่มือหรืออะนิเมชั่น การสื่อสารในยุคใหม่จะต้องทราบอะไร สื่อสารองค์กรจะต้องศึกษาความเสี่ยงขององค์กรว่าตอนนี้องค์กรมีการความเสี่ยงอะไรบ้าง เราจึงต้องทำวิจัย 3 ประเด็น คือ
1) สื่อสารภายในองค์กร
2) สื่อสารเพื่อรักษาภาพลักษณ์ขององค์กรให้เกิดความงดงาม
3) สื่อสารเพื่อความอยู่รอดขององค์กร เช่น นิสิตปัจจุบันคิดอย่างไรกับมหาจุฬาฯ ผู้อำนวยการสื่อสารองค์กรจะต้องติดตามนโยบายกลยุทธ์ขององค์กรตลอดแล้วมาย่อยให้ง่ายที่สุด วิสัยทัศน์ง่ายคือ ภาพอนาคตขององค์กร การเรียนศาสนาบางคนติดภาพว่าเรียนจบมาไม่ก้าวหน้า มีโอกาสเจริญเติบโตน้อย แต่ความจริงเรียนศาสนาจะเป็นคนสำคัญของโลกมีความยิ่งใหญ่ ตัววิสัยทัศน์จึงเป็นภาพอนาคตขององค์กรเป็นเป้าหมายสุดท้ายที่ท้าทายและเป็นไปได้
ส่วน พันธกิจคือภาพปัจจุบัน ยุทธศาสตร์คือจุดเน้นในการบรรลุวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์เป็นภาพกว้างกลยุทธ์เป็นวิธีทำ เป้าประสงค์เป็นผลลัพธ์ของยุทธศาสตร์ หน่วยงานมีเป้าหมายที่อยากจะใช้บรรลุยุทธศาสตร์อย่างไร ตัวชี้วัดเป็นการวัดความสำเร็จของเป้าประสงค์ที่เป็นรูปธรรม ซึ่งวัดใคร วัดอย่างไร จะเก็บอย่างไร โดนมีแผนปฏิบัติการเป็น "แผนงาน โครงการ กิจกรรม" มีผู้รับผิดชอบและงบประมาณ คำถามคือ อะไรคือภาพอนาคตของมหาจุฬาถือว่าเป็นโจทย์ท้าทายงานการสื่อสารองค์กรและงานประชาสัมพันธ์
จุดแข็งของมหาจุฬาคืออะไร เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของมหาจุฬา อะไรที่ควรทำแต่เรายังไม่ได้ทำนั่นคือจุดอ่อน งานวิสาขบูชาโลกที่มหาจุฬาจัดถือว่าเป็นจุดแข็งถึงระดับโลก เมื่อเจอจุดแข็งเราต้องทำให้แข็งขึ้น ซึ่งการจัดทำแผนจะต้องเริ่มจากการวิเคราะห์ SWOT คือ 1) "สภาพแวดล้อมภายใน" เป็นจุดแข็ง เป็นข้อเด่นที่ทำให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จ ส่วนจุดอ่อนเป็นข้อด้อยที่ส่งผลเสียต่อการดำเนินการ จุดอ่อนจุดแข็งถือว่าควบคุมได้ 2)"สภาพแวดล้อมภายนอก" เป็นโอกาส ซึ่งเป็นปัจจัยที่เอื้ออำนวยให้ประสบความสำเร็จ และอุปสรรค เป็นข้อจำกัดที่ทำให้กาดำเนินงานไม่ประสบความสำเร็จ โอกาสและอุปสรรคควบคุมไม่ได้ ในสายตาคนภายนอกเชื่อว่ามหาจุฬามีจุดแข็งมาก เราจะประชาสัมพันธ์อย่างไรให้ผู้คนในสังคมเห็นจุดแข็งของเรา จึงมีการแบ่งกลุ่ม 3 ประเด็น คือ 1)การสื่อสารภายในองค์กร 2)การสื่อสารเพื่อภาพลักษณ์ขององค์กร 3)การสื่อสารเพื่ออยู่รอดขององค์กร
ดังนั้น ในการพัฒนาแผนควรสร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใช้กระบวนการแบบ Fa สร้างพื้นที่ปลอดภัย ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) รุ่นบุกเบิก ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับทุกระดับ คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ทุกส่วนงาน 2) รุ่นริ่เริม ประกอบด้วย ผู้บริหารรุ่นใหม่ คณาจารย์รุ่นใหม่ เจ้าหน้าที่รุ่นใหม่ รวมถึงนักการตลาดมองมิติแผนยุคใหม่ 3) รุ่นผู้ใช้ ประกอบด้วย นิสิตทุกสาขาวิชารุ่นเก่าและรุ่นใหม่ ซึ่งมาจากทุกส่วนงานขององค์กรภาครัฐและเอกชนเพื่อสะท้อนแผนพัฒนามหาจุฬาในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างหักศอก ผันผวน ไม่แน่นอน ซับซ้อน ถือว่าเป็นโจทย์ที่ท้าทาย จึงขอให้กำลังใจผู้บริหาร คณาจารย์ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสงฆ์สู่แผนที่วางไว้ "เขียนแผนไม่ยาก ปฏิบัติตามแผนยากกว่า" แต่เชื่อมั่นว่าทำได้อย่างแน่นอน