สวนสัตว์สงขลา จัดบุฟเฟ่ต์อาหารแรดขาว วันอนุรักษ์แรดโลก 22 กันยายนของทุกปี
ฐานเรียนรู้การอนุรักษ์แรด เพื่อตอกย้ำและแสดงให้ตระหนักถึงการลดลงของจำนวนประชากรของแรด ที่มีสาเหตุหลักมาจากการล่าของมนุษย์ http://winne.ws/n27435
สวนสัตว์สงขลา จัดบุฟเฟ่ต์อาหารแรดขาว วันอนุรักษ์แรดโลก 22 กันยายนของทุกปี
กิจกรรมเกาหลังแรดด้วยแปรงขนนุ่ม ฐานเรียนรู้การอนุรักษ์แรด เพื่อตอกย้ำและแสดงให้ตระหนักถึงการลดลงของจำนวนประชากรของแรด ที่มีสาเหตุหลักมาจากการล่าของมนุษย์ โดยสวนสัตว์สงขลา ยังคงคัดกรองนักเรียนที่มาร่วมกิจกรรมทุกคน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19
วันนี้ (22 ก.ย. 63) เป็น "วันแรดโลก" งานส่งเสริมพฤติกรรมและสวัสดิภาพสัตว์ สวนสัตว์สงขลา ได้จัดกิจกรรม "วันแรดโลก" ระหว่างวันที่ 22-27 กันยายน 2563 มีกิจกรรมมากมาย อาทิ จัดบุฟเฟ่ต์อาหารแรดขาว กิจกรรมเกาหลังแรดด้วยแปรงขนนุ่ม ฐานเรียนรู้การอนุรักษ์แรด สำหรับแรดขาวภายในสวนสัตว์สงขลา มีพฤติกรรมที่น่าสนใจ สามารถใกล้ชิดกับคนทั่วไป มีความน่ารัก เชื่อง ไม่ดุร้าย ที่พิเศษสุดก็คือ เมื่อเรียกชื่อ "น็อต" มันก็จะเดินมาหาทันที ทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความประทับใจเมื่อได้สัมผัส เจ้าน็อต อย่างใกล้ชิด โดยสวนสัตว์สงขลา ยังคงคัดกรองนักเรียนที่มาร่วมกิจกรรมทุกคน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19
ดร.เฉลิมวุฒิ เกษตรสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสวนสัตว์สงขลา กล่าวว่า สำหรับวันอนุรักษ์แรดโลก นับตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา ในวันที่ 22 กันยายนของทุกปี จัดเป็นวันอนุรักษ์แรดโลก มีวัตถุประสงค์เพื่อตระหนักถึงการลดจำนวนลงของแรดสายพันธุ์ต่าง ๆ ที่สาเหตุส่วนใหญ่มาจากฝีมือมนุษย์ จากการลักลอบล่าเพื่อนำแรดไปแปรรูป เช่น เอาไปเป็นเครื่องประดับต่าง ๆ หรือนำไปเป็นส่วนผสมของยาตามความเชื่อ ซึ่งแรดจัดเป็นสัตว์เลือดอุ่นที่มีขนาดใหญ่อันดับ 2 รองจากช้าง โดยประชากรแรดมีแนวโน้มลดลงทุกปี
องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (World Wildlife Fund : WWF) ประจำประเทศไทย รายงานข้อมูลล่าสุดว่า แรดสายพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธ์ที่สุดคือรายพันธุ์ แรดชวา ปัจจุบันมีจำนวนประชากรที่สำรวจได้เพียง 44 ตัวเท่านั้น อาศัยอยู่ในป่าอุทยานแห่งชาติอูจุงกูลนบนเกาะชวา ของอินโดนีเซีย ซึ่งครั้งหนึ่งแรดชวานั้นเคยอาศัยอยู่ในประเทศไทย และเพื่อนบ้านอย่าง ลาว เวียดนาม และกัมพูชา แต่ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว โดยตัวสุดท้ายที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ถูกสังหารไป เมื่อปี 2553 ที่ประเทศเวียดนาม ส่วนแรดสายพันธุ์อื่น ๆ อย่างแรดอินเดีย มีประชากรราว ๆ 3,300 ตัว แรดดำ 5,000 ตัว และราดขาว 20,400 ตัวทั่วโลก
สำหรับในประเทศไทย แรดจัดเป็นสัตว์ป่าสงวน มีหลักฐานพบแรดป่าสองสายพันธุ์ ได้แก่ แรดชวา และแรดสุมาตรา (กระซู่) ซึ่งทั้งสองชนิดสูญพันธุ์แล้วในประเทศไทย จากหลักฐานชิ้นสุดท้ายเมื่อปี 2540 ได้พบร่องรอยของกระซู่บริเวณป่าฮาลา-บาลา ในจังหวัดยะลา และนราธิวาส แต่ไม่มีใครพบตัวมัน โดยคาดว่าอาจหลบหนีนายพรานไปยังมาเลเซีย และถูกฆ่าในที่สุด
ขอบคุณข้อมูลข่าว/ภาพ : สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์