สุดอาลัย!อุบาสิกาผู้สร้าง"วัดป่าภูก้อน" วัดพระพุทธรูปหินอ่อนงดงามและใหญ่ที่สุดในประเทศ

คุณแม่ ปิยวรรณ วีรวรรณ อุบาสิกาผู้สร้างวัดป่าภูก้อน และได้อุปัจฐากอีกหลายวัด เช่น วัดป่าบ้านเพิ่ม วัดป่านาคำน้อย วัดป่าดอยลับงา กำแพงเพชร ได้ถึงแก่อนิจกรรม ที่โรงพยาบาลศิริราช ในวันนี้(20 ก.ค.61) เวลา 17.38 น.ด้วยโรคมะเร็ง http://winne.ws/n24518

1.9 หมื่น ผู้เข้าชม
สุดอาลัย!อุบาสิกาผู้สร้าง"วัดป่าภูก้อน" วัดพระพุทธรูปหินอ่อนงดงามและใหญ่ที่สุดในประเทศ

วันที่ 23 ก.ค.2561 คุณแม่ปิยวรรณ วีรวรรณ อุบาสิกาผู้สร้างวัดป่าภูก้อน  บ้านคำใหญ่ ต.บ้านก้อง อ.นายูง จ.อุดรธานี สร้าง"พระพุทธไสยาสน์โลกนาถศาสดามหามุนี" และได้อุปัฏฐากอีกหลายวัด เช่น วัดป่าบ้านเพิ่ม วัดป่านาคำน้อย วัดป่าดอยลับงา กำแพงเพชร ได้ถึงแก่อนิจกรรมที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ 20 ก.ค.2561 ที่ผ่านมา 

 ลูกหลานเล่าให้ฟังว่าคุณแม่ ได้เตรียมตัวอย่างอาจหาญ กล้าหาญ ไม่เกรงกลัวต่อความตายเลย มีสติตลอดเวลาจนสิ้นใจ ห้ามหมอ ใช้เครี่องช่วยต่างๆ ห้ามเจาะคอถ้าหายใจไม่ได้ ห้ามใช้สารเคมีที่จะทำให้ขาดสติขาดการภาวนาเด็ดขาด ห้ามปั๊มหัวใจถ้าไม่มีสัญญาณชีพ ติดตามดูการเคลื่อนย้ายของจิต ด้วยความสงบแบบแน่น จนหมดลมหายใจ ที่ฝึกภาวนามาทั้งชีวิต ก็เพื่อนำมาใช้วันนี้เอง "เวทนาทั้งหลาย ก็สักแต่ว่า เวทนา "กาย​ ก็สักแต่ว่า​ กาย"จิตเต อสังกิลิฏเฐ สุคติ ปาฏิกังขา" เมื่อจิตผ่องใสไม่เศร้าหมอง  สุคติเป็นที่ไปอย่างแน่นอน 

วัดป่าภูก้อน บ้านคำใหญ่ ต.บ้านก้อง อ.นายูง จ.อุดรธานี

สุดอาลัย!อุบาสิกาผู้สร้าง"วัดป่าภูก้อน" วัดพระพุทธรูปหินอ่อนงดงามและใหญ่ที่สุดในประเทศ

อุบาสิกาปิยวรรณ วีรวรรณผู้สร้างวัดป่าภูก้อน-พระพุทธไสยาสน์โลกนาถศาสดามหามุนี

สุดอาลัย!อุบาสิกาผู้สร้าง"วัดป่าภูก้อน" วัดพระพุทธรูปหินอ่อนงดงามและใหญ่ที่สุดในประเทศ

จัดพิธีรดน้ำศพ  ณ วัดธาตุทอง ศาลา 4   ในวันเสาร์ที่ 21 ก.ค.61 เวลา 16.00 น สวดอภิธรรมเวลา 19.00 น.ทุกวัน จนถึงวันที่ 26 กค. 61 จึงจะนำร่างสังขารคุณแม่ไปที่ วัดป่าภูก้อน บ้านคำใหญ่ ต.บ้านก้อง อ.นายูง จ.อุดรธานี จึงเรียนเชิญมายังทุกท่านโดยเคารพยิ่ง อุบาสก-อุบาสิกา วัดป่าภูก้อน

คุณแม่ปิยวรรณนั้นเป็นผู้หญิงในสังคมชั้นสูงที่เพียบพร้อมไปด้วยทรัพย์สินเงินทอง ธุรกิจ  ได้ตัดสินใจทิ้งชีวิตในสังคมสละทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อมาต่อสู้ให้กับการรักษาผืนป่าแห่งหนึ่งในจังหวัดอุดรธานี และการสร้างวัดป่าภูก้อนบนเนื้อที่กว่า 3,000 ไร่ เพื่อรักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

บันไดขึ้นวัดป่าภูก้อน บ้านคำใหญ่ ต.บ้านก้อง อ.นายูง จ.อุดรธานี

สุดอาลัย!อุบาสิกาผู้สร้าง"วัดป่าภูก้อน" วัดพระพุทธรูปหินอ่อนงดงามและใหญ่ที่สุดในประเทศ

คุณแม่ปิยวรรณเคยเล่าถึงเหตุการณ์ที่ทำให้เธอฉุกคิดเรื่องชีวิตขึ้นมาในวันหนึ่งว่า “ครั้งหนึ่งแม่ได้เห็นมหาเศรษฐีคนหนึ่งที่ตอนนั้นแก่มากแล้ว เรี่ยวแรงในการเดินแทบจะไม่มี เดินอยู่คนเดียว ตอนนั้นแม่เกิดความสลดสังเวชใจ และเกิดความกลัวขึ้นมา ว่า...แล้วฉันจะอยู่อย่างไร เกิดความกลัวเจ็บ กลัวตายขึ้นมา” 

“แม่เป็นคนที่ไม่กลัวใคร พูดจากโผงผาง ตรงไปตรงมา เวลาทำอะไรผิดพลาดก็ไม่เคยมีใครกล้าบอกกล่าวตักเตือน อาจเพราะเกรงใจ  จนวันหนึ่งมีเพื่อนมาชวนทำบุญ แต่ด้วยความที่แม่เป็นชาวพุทธแต่ในนาม ไม่เคยเชื่อถือว่าพระพุทธเจ้ามีจริง! และไม่เชื่อเรื่องการทำบุญ แม่จึงกล่าวท้าว่า “ถ้าพระพุทธเจ้ามีจริง คืนนี้ขอให้ท่านมาให้เราเห็น แล้วเราจะยอมเป็นขี้ข้าม้าคอก จะนับถือพระพุทธเจ้าองค์เดียว แต่ถ้าไม่มาให้เห็นในคืนนี้ เราก็จะไม่นับถือท่าน และท่านก็อย่าได้โกรธเรา”

วัดป่าภูก้อน บ้านคำใหญ่ ต.บ้านก้อง อ.นายูง จ.อุดรธานี

สุดอาลัย!อุบาสิกาผู้สร้าง"วัดป่าภูก้อน" วัดพระพุทธรูปหินอ่อนงดงามและใหญ่ที่สุดในประเทศ

นับจากคืนนั้นเป็นต้นมา “คุณแม่ปิยวรรณ” ก็หันมารับใช้พระพุทธศาสนามาตลอด จนถึงวันนี้เป็นเวลาร่วม 30 ปีแล้วที่เธอได้ทำนุบำรุงพุทธศาสนาและศาสนสถานตั้งแต่ภาคเหนือจรดภาคใต้ กระทั่งครั้งหนึ่งเธอได้ออกธุดงค์ไปทางภาคอีสาน และบังเอิญได้อ่านหนังสือปฏิปทาของพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ทำให้เธอเกิดความซาบซึ้งและเห็นคุณค่าของป่าไม้ว่า เป็นที่ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ป่าเป็นที่ปฏิบัติธรรมของพระอริยสงฆ์ เมื่อได้รู้คุณค่าของป่าแล้ว ก็เกิดความรักและความหวงแหน ถึงขั้นปฎิญาณว่า จะทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อรักษาป่าไว้ โดยการเสียสละทรัพย์ เพื่อรักษาอวัยวะ การเสียสละอวัยวะ เพื่อรักษาชีวิต และยอมเสียชีวิตเพื่อรักษาธรรม ความมุ่งหมายของตนให้ได้” ซึ่งนี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นและก้าวแรกที่ทำให้ คุณแม่ปิยวรรณ วีรวรรณ สร้างสิ่งอัศจรรย์ขึ้นบนแผ่นดินไทย             

ครั้งนั้นเองขณะไปธุดงค์วัดในแถบภาคอีสาน ได้มีพระรูปหนึ่งเล่าให้เธอฟังว่า “ป่าที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งบนภูก้อนกำลังถูกสัมปทานตัดไม้” คุณแม่เกิดความเสียดายอย่างยิ่ง จึงรีบไปดูป่าแห่งนี้ ขณะเดินอยู่ในป่าเธอได้ยินเสียงกระซิบว่า “ทศพิธราชธรรม กรรมพินิจ จิตขจร ภมรมาศ อาสนะเทวา” ถึง 3 ครั้ง... “แม่รู้สึกว่ารุกขเทวดาอยากให้เรารักษาป่านี้ไว้ จึงได้ตั้งปณิธานว่าจะต้องหาทางรักษาป่านี้ไว้ให้ได้ สุดท้ายเลยคิดว่าควรสร้างวัดขึ้นในป่านี้ เพื่อที่รักษาป่าไม้ เพราะวัดซึ่งเป็นพุทธสถานที่จะสามารถรักษาป่าให้อยู่ได้ตราบนานเท่านาน” ...และนี่คือจุดกำเนิดของวัดป่าภูก้อน 

พระพุทธไสยาสน์หินอ่อนขาวบริสุทธิ์ที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย

สุดอาลัย!อุบาสิกาผู้สร้าง"วัดป่าภูก้อน" วัดพระพุทธรูปหินอ่อนงดงามและใหญ่ที่สุดในประเทศ

คุณแม่ปิยวรรณ เล่าว่า “ในเมืองไทย ยังไม่ค่อยได้พบเห็นพระพุทธไสยาสน์ขนาดใหญ่ที่แกะสลักด้วยหินอ่อนขาวบริสุทธิ์ทั้งองค์มาก่อน จึงคิดสร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทำทั้งทีก็ต้องทำให้งามที่สุด และอยู่คงกระพันชั่วลูกชั่วหลาน ปรากฏว่าได้พบกับช่างปั้น อ.นริศ รัตนวิมล ผู้เป็นยอดศิลปินประติมากรหินเป็นผู้ออกแบบและแกะสลักองค์พระพุทธรูปรวมทั้งเหล่าศิลปินที่มีฝีมือมากมายได้มาร่วมกันสร้างปาฎิหารย์นี้ให้เกิดขึ้นบนผืนแผ่นดินไทย”

พระพุทธไสยาสน์หินอ่อนขาวบริสุทธิ์ที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย

สุดอาลัย!อุบาสิกาผู้สร้าง"วัดป่าภูก้อน" วัดพระพุทธรูปหินอ่อนงดงามและใหญ่ที่สุดในประเทศ

พระพุทธไสยาสน์หินอ่อนขาวบริสุทธิ์ที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย

สุดอาลัย!อุบาสิกาผู้สร้าง"วัดป่าภูก้อน" วัดพระพุทธรูปหินอ่อนงดงามและใหญ่ที่สุดในประเทศ

การก่อสร้างและขั้นตอนในการแกะสลักพระพุทธไสยาสน์ ก็ใช่ว่าจะราบเรียบดั่งใจ หลังจากเดินทางรอบโลกเพื่อหาหินอ่อนที่ขาวบริสุทธิ์และมีความทนทานที่สุด คุณแม่ปิยวรรณ วีรวรรณ ก็ได้พบแหล่งหินอ่อนที่งามที่สุดของโลกอยู่ที่เมืองคาราร่า ประเทศอิตาลี ...โดยหินอ่อนมีน้ำหนักเฉลี่ยหนักก้อนละ 15-30 ตันและ 55 ตัน ถูกลำเลียงข้ามมหาสมุทรมาขึ้นฝั่งที่เมืองไทย  และลำเลียงขึ้นสู่ยอดเขาภูก้อนเพื่อแกะสลักเป็นองค์พระพุทธไสยาสน์หินอ่อนขาวบริสุทธิ์ที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย โดยใช้เวลารวม 2 ปี จึงเสร็จสมบูรณ์ในปลายปี 2551 และที่นำความปลื้มปิติสุด ๆ มาให้คือ เมื่อการแกะสลักพระพุทธไสยาสน์อันงดงามเสร็จสิ้นลงแล้วก็ได้รับพระมหากุรณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่า “พระพุทธไสยาสน์โลกนาถศาสดามหามุนี” แปลว่า พระพุทธรูปปางไสยาสน์แห่งพระมหามุนีผู้ทรงเป็นบรมครู ที่ทรงเป็นที่พึ่งของชาวโลก 


  

หมายเหตุ: ขอบคุณภาพจากเฟซบุ๊กมหิงษา อนัตตาและข้อมูลประวัติ

ข้อมูลจาก

https://siampongsnews.blogspot.com/2018/07/blog-post_246.html

แชร์