วันนี้ในอดีต 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 รัชกาลที่ 6 ทรงประกาศใช้ "พุทธศักราช" (พ.ศ.)

ก่อนหน้าที่จะใช้พุทธศักราชและรัตนโกสินทร์ศก ประเทศไทยเคยใช้ “มหาศักราช” (ม.ศ.) และ “จุลศักราช” (จ.ศ.) มาก่อน http://winne.ws/n26901

6.2 พัน ผู้เข้าชม
วันนี้ในอดีต 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 รัชกาลที่ 6 ทรงประกาศใช้ "พุทธศักราช" (พ.ศ.)

         วันนี้ เมื่อ 108 ปีก่อน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ทรงมีพระราชดำริให้ใช้ "พุทธศักราช" (พ.ศ.) เป็นศักราชประจำชาติ แทน "รัตนโกสินทร์ศก" (ร.ศ.) เนื่องจากประเทศไทยเป็นเมืองพุทธศาสนา และเพื่อให้สอดคล้องกับประเทศต่างๆ ที่นับถือพุทธศาสนา จึงได้มีการประกาศเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร์ศก 131 (พ.ศ. 2455) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ “พระพุทธศักราช” ในราชการทั่วไป โดยถือเอาวันขึ้นปีใหม่ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2456 เป็นวันเปลี่ยนมาใช้พุทธศักราชตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

        ข้อมูลจากสำนักข่าวสับปะรด ระบุว่า รัตนโกสินทร์ศก หรือ รัตนโกสินทร์ศักราช (ร.ศ.) ถูกกำหนดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โดยเริ่มนับจากปีที่มีการสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวง คือ พ.ศ. 2325 นับเป็นรัตนโกสินทร์ศก 1 (ร.ศ. 1) แต่ในทางพระพุทธศาสนา ยังคงใช้พุทธศักราช (พ.ศ.) ตามธรรมเนียมที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

        โดย ประเทศไทย กัมพูชา และ สปป.ลาว เริ่มนับ พ.ศ. 1 เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้วครบ 1 ปี ส่วนที่ศรีลังกาและเมียนมา เริ่มนับปีพุทธศักราชตั้งแต่ปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน คือเมื่อ 544 ปีก่อนคริสตศักราช พุทธศักราชของศรีลังกาและเมียนมาจึงเร็วกว่าไทย 1 ปี

        ทั้งนี้ ก่อนหน้าที่จะใช้พุทธศักราชและรัตนโกสินทร์ศก ประเทศไทยเคยใช้ “มหาศักราช” (ม.ศ.) และ “จุลศักราช” (จ.ศ.) มาก่อน

อ่านต่อที่ https://www.facebook.com/WorkpointNews

แชร์