อย่าไว้วางใจ “น้องน้ำ” แม้เข้าฤดูฝน!! คำเตือนของ “เสรี ศุภราทิตย์”
รศ.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต ให้สัมภาษณ์ถึงสภาพภูมิอากาศ ภายหลังที่กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศให้ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการ http://winne.ws/n26077
** ฤดูฝน จะเพียงพอในการบริหารจัดการน้ำหรือไม่?
เรายังประเมินได้ว่า ฝนจะมาน้อยกว่าปกติ ประเด็นหลัก ถ้าน้อยจะทำให้ปี 2563 ช่วงต้นปีน่าจะเหนื่อย โดยเฉพาะภาคเกษตรกรรม น้ำต้นทุนไม่มี ถ้าฝนไม่เข้า ถือว่ายังไม่วางใจไม่ได้ ใน 6 เดือนข้างหน้า ปลายเดือน พ.ค.น่าจะตกดีขึ้น แต่ มิ.ย.ถึงก.ค. 2-3 เดือน ฝนน้อยกว่าปกติ ตกปลายพ.ค. แล้วจะทิ้งช่วง 2 เดือน ไปหนักอีกท่ีปลาย ส.ค.และก.ย. หวังว่าถ้าฝนมาก พอมีน้ำให้เติมเขื่อนก็ดี หากปลายปีถ้าตกเหนือเขื่อนไม่มีอะไร แต่ที่ยังกังวล 2 เขื่อนใหญ่ ทั้งเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ ช่วงปลายๆ ส.ค. กย. ถ้าฝนจะลงมาต่ำกว่าเขื่อน หมายถึงภาคเหนือจะไม่ค่อยได้น้ำเก็บกักไว้ใช้
**ปรากฏการณ์เอลนิโญ ส่งผลอีกยาวนานแค่ไหน
ขณะนี้มีอิทธิพลเอลนิโญ ยังมีผลต่อประเทศไทย คาดการณ์กระทบไปถึงปลายปี เกิดฝนน้อย แต่ส.ค.ฝนมาเยอะ ช่วงนี้อาจมีน้ำท่วมบ้าง จึงต้องระวัง ซึ่งภาคตะวันตกปีนี้จะดีน้ำมากในลุ่มน้ำเพชรบุรี พื้นที่บางสะพานอาจท่วมได้จึงต้องระวัง ลุ่มน้ำภาคตะวันออก แถวปราจีนบุรี ก็เป็นไปได้ที่จะท่วมเพราะฝน
สำหรับภาคเหนือ อีสาน ให้ระวังเรื่องแล้ง ซึ่งก็แล้งอยู่แล้วแต่จะยาวไปถึงก.ค. จน สค.กย.มีฝนบ้าง แค่พอให้กระชุ่มกระชวย
**ทำฝนหลวงหรือฝนเทียม ช่วยได้หรือไม่
การทำฝนเทียม ขึ้นอยู่กับความชื้นมีระดับเหมาะสมอหรือไม่ ส่วนใหญ่ฝนเทียมช่วยไม่ได้มาก เนื่องจากทำฝนเทียมต้องการให้คลายความร้อน แต่จะให้เติมน้ำในแหล่งน้ำคงไม่มีประสิทธิผลมากนัก เพราะไม่ได้น้ำก้อนใหญ่
**อุณหภูมิร้อนจัดในปีนี้ ภัยแล้งจะยาวนานถึงเมื่อไร?
อุณหภูมิที่ร้อนขึ้น อนาคตก็หนีไม่พ้น ช่วงร้อนก็จะร้อน แล้ง ปัจจัยหลักคือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โลกร้อนเป็นอันดับแรก อันดับสอง สภาพอากาศแปรปรวน หมายความว่าถ้ามีปรากฎการณ์เอลนิโญเข้ามา ผลพวงจะกระทบเพิ่มขึ้นอีก 30-40% ทำให้แล้งมากขึ้น เช่นกรณีแล้งและร้อนปีนี้ ก็เพิ่มขึ้น ปีถัดๆไปอีก 30-40 ปี อุณหภูมิก็จะสูงขึ้นเรื่อยๆ เฉลี่ยประมาณ 30 ปีสุงราว 1องศาเซลเซียส แสดงว่าอุณหภูมิจะสูงถึง 45 องศาเซลเซียลขึ้นไป ซึ่งไทยเราก็เจอมาแล้ว จึงต้องมาคิดกันจะอยู่กันอย่างไร จะช่วยแบบไหน
การรณรรงค์ใช้ถุงผ้า ลดใช้พลาสติกเป็นเรื่องโลกาภิวัตน์ ส่วนในเชิงประสิทธิผลยังไม่มากการทำให้บ้านเมืองอยู่สำคัญที่สุดคือปลูกต้นไม้ให้ความชุ่มชื้นกลับมาก่อนรัฐต้องมีวางแผนให้เป็นวาระแห่งชาติว่าจะปลูกอย่างไรปีละกี่ต้น
ทั้งนี้ไทยไม่ได้ปล่อยก๊าวเรือนกระจกไม่ถึง 1%ของโลก น้อยมาก แต่เวลานานาชาติประชุม พูดคุยกันหลายประเทศ อย่างการประชุมโลกร้อน สรุปก็ทะเลาะกันเรื่อย จะคิดถึงความร่ำรวยของตัวเอง ฉะนั้น พูดง่ายๆ หวังเพิ่มจีดีพีของประเทศตัวเองให้มาก ให้ประชาชนร่ำรวยขึ้น เน้นอุตสาหกรรมมากขึ้น
** ผลกระทบแค่ไหนอย่างไร ถ้าน้ำแล้ง
เกษตรกรจะได้รับผลกระทบก่อนเลย ถ้าไม่มีน้ำก็เดือดร้อน จึงถึงเวลาที่เราต้องกลับมาดุตัวผู้ใช้ น้ำ 100% เป็นเกษตรกรใช้ไป 70% ฉะนั้น หากมีอะไรผันผวน ภาคเกษตรจะได้รับผลกระทบอันดับแรก อดีตที่ผ่รานมาเราไม่ได้ให้ความสำคัญกับผู้ใช้ ทุกปีเกษตรกรจะปลูกผลผลิตตามองค์ความรู้ที่ตนมีอยู่ หลังจากนี้ต่อไปก็ไปไม่ได้ ยิ่งน้ำ และฝนน้อยลง เราต้องอบรมให้ความรู้ว่า พืชที่ปลูกปัจจุบัน ทำอย่างไรให้ใช้น้ำน้อยลง ต้องให้องค์ความรู้กับเกษตรกร จากเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น อย่างทุเรียนยังใช้น้ำหยดกันได้ จะได้มีประโยชน์และประสิทธิผลมาก ใช้น้ำน้อยแต่ผลผลิตได้เท่าเดิม ต้องลงไปที่ผู้ใช้น้ำ ไม่ต้องไปพยายามสร้างอ่าง เขื่อนให้เยอะแยะ ฉะนั้น ใช้น้ำเท่าที่มีอยู่ เน้นไปที่ผู้ใช้เป็นหลักคือหลักการ
ฝากถึงเกษตรกร ให้ติดตามสถานการณ์หาองค์ความรู้ใส่ตัว สามารถหาได้ในโลกออนไลน์ ต่างประเทศทำอย่างไร นำมาปรับใช้กับเราได้ไหม ถ้าอุณหภูมิเหมือนหรือคล้ายกัน เช่น ปลูกข้าวในเวียดนาม อินเดีย จีน เขาใช้น้ำน้อย แต่ไทยใช้น้ำเท่าตัว ผลผลิตออกมาเท่ากัน ซึ่งรัฐบาลของประเทศเหล่านี้ให้ความสำคัญในการสนับสนุน ส่งเสริมกับผู้บริโภค เกษตรกรผู้ใช้น้ำ ไทยปล่อยให้ใช้เต็มที่ได้ผลผลิตที่ใช้น้ำมาก ดูได้แต่ละนาน้ำขังเต็มมากเกินไป
หลังจากนี้ต่อไป ปลายเดือน พ.ค.ฝนมาเยอะ ให้ระวังน้ำท่วม ตกมาแล้วระบบระบายน้ำไม่ได้ผล จากนั้นฝนจะทิ้งช่วง มาหนักอีกทีเดือนส.ค. ต้องติดตามข่าวสารข้อมูล ประเด็นทั้งหลาย เกิดจากธรรมชาติที่ให้มา เพียงแต่เราต้องบริหารจัดการอย่างไรเท่านั้นเอง
อ่านต่อที่ https://www.springnews.co.th