ข้อความแชทยืมเงิน ใช้แทนสัญญากูืยืมได้

ในกรณีที่เป็นการกู้ยืมเงินเกิน 2,000 บาทขึ้นไป เจ้าหนี้สามารถใช้การสนทนาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินหรือฟ้องคดีได้ โดยให้ถือว่าข้อความดังกล่าวเป็นหนังสือและหลักฐานการกู้ยืมเงิน http://winne.ws/n26066

1.9 พัน ผู้เข้าชม

     หลายๆ คนอาจจะเคยเจอปัญหาการให้ยืมเงิน แต่ผู้ยืมไม่นำเงินมาคืน และเมื่อจะแจ้งความดำเนินคดีก็ไม่สามารถทำได้ เพราะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือหรือสัญญากู้ยืมเงินที่มีการลงลายมือชื่อผู้กู้ยืม มีเพียงข้อความแชทตกลงกันในสื่อสังคมออนไลน์เท่านั้น

     กรณีเช่นนี้ แท้ที่จริงแล้ว ในกรณีที่เป็นการกู้ยืมเงินเกิน 2,000 บาทขึ้นไป เจ้าหนี้สามารถใช้การสนทนาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินหรือฟ้องคดีได้ โดยให้ถือว่าข้อความดังกล่าวเป็นหนังสือและหลักฐานการกู้ยืมเงิน

ข้อความแชทยืมเงิน  ใช้แทนสัญญากูืยืมได้

     โดยให้รวบรวมหลักฐานดังนี้

1.  Chat: ข้อความสนทนาในการขอกู้ยืมเงินผ่านแชทหรือกล่องข้อความออนไลน์

2.  User Account: บัญชีผู้ใช้ของผู้ยืมเงิน

3.  Slip: หลักฐานการโอนเงินผ่านธนาคาร หรือสลิปแอปพลิเคชันของธนาคาร


     ข้อมูลแบบไหนใช้เป็นหลักฐานการพิจารณาคดีได้บ้าง?

1.  ข้อมูลที่ระบุบัญชีผู้ใช้ของผู้ยืมเงิน

2.  ข้อมูลในระบบที่ปลอดภัย มั่นคง และเชื่อถือได้ เช่น Line, Facebook, Twitter

3.  เก็บหลักฐานทันทีเมื่อมีการยืมเงิน และรักษาข้อมูลให้อยู่ในสภาพเดิม ไม่แก้ไข วัน เวลา ที่รับส่งข้อความ

     สำหรับอายุความฟ้องคดีกู้ยืมเงิน ต้องฟ้องภายใน 10 ปี นับแต่วันถึงกำหนดชำระเงินกู้ยืมคืน หรือ 5 ปี ถ้าเป็นสัญญากู้มีกำหนดชำระเงินต้น พร้อมดอกเบี้ยเป็นงวดๆ

ข้อความแชทยืมเงิน  ใช้แทนสัญญากูืยืมได้

ที่มา : mthai


อ้างอิง : 
1. https://www.etda.or.th/files/1/files/26.pdf
2. สำนักงานกิจการยุติธรรม
3. http://web.krisdika.go.th/data/law/law4/%BB03/%BB03-20-9999-update.pdf

แชร์