พระพุทธศาสนา ตอนที่ 12 : กุศลกรรมบถ 10 ???

กุศลกรรมบถ 10 คือ กรรมดี 10 อย่าง เมื่อแบ่งแยกเสียใหม่ เหลือแค่ 3 กลุ่ม คือ ทาน ศีล และภาวนา http://winne.ws/n25152

2.1 พัน ผู้เข้าชม

เรามาศึกษาพระพุทธศาสนา ผ่านการพูดคุยของคนที่อยากรู้ตัวจริง

พระพุทธศาสนา ตอนที่ 12 : กุศลกรรมบถ 10 ???

แอลัน :  พรเมื่อคราวที่แล้วคุณพูดถึงอกุศล

            กรรมบถ และผลกระทบ  แล้วกุศล

            กรรมบถล่ะครับ ท่านแบ่งอย่างไร?

พร      : เรื่องกุศลกรรมบถ สามารถอธิบาย

            ได้ 2  แบบ แบบหนึ่ง คือ การหลีก

            เลี่ยงอกุศลกรรมบถ10 นั่นคือ 

            หลีกเลี่ยงการฆ่า การขโมย

            การทำผิดทางเพศ ฯลฯ

            อีกแบบหนึ่ง คือ การทำบุญ หรือ

            ทำความดี ได้แก่ การทำทาน

            รักษาศีล เจริญภาวนา  การอ่อน

            น้อมถ่อมตน  ช่วยเหลือผู้อื่น

            อุทิศส่วนบุญให้ผู้อื่น  อนุโมทนา

            บุญกับผู้อื่น  การฟังธรรม

            สั่งสอนธรรม ทำความเห็นให้ตรง

             (เป็นสัมมาทิฏฐิ)

แอลัน :  ถ้าอย่างนั้น กุศลกรรมก็มี 10

            อย่างด้วยกัน ใช่ไหมครับ?

พร      : ถูกแล้วครับ การอธิบายแบบที่สอง

            นี้เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ  การกระ

            ทำเหล่านี้ย่อมส่งผลที่เป็นกุศล 

            มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกว่า

            การทำทานย่อมส่งผลให้เกิดความ

           มั่งคั่งร่ำรวย การฟังธรรมและเจริญ

            ภาวนา ย่อมส่งผลเป็นความฉลาด

            ปราดเปรื่อง  กรรมดีย่อมส่งผลดี

            เช่นเดียวกันกับกรรมนั้นแหละครับ

แอลัน :  ทำดีย่อมได้ดีเสมอ

พร      : ครับ คุณพูดถูกแล้ว พระสัมมาสัม

            พุทธเจ้ายังได้ตรัสด้วยว่า

            หว่านพืชเช่นใด  ย่อมได้ผล

             เช่นนั้น

แอลัน :  เป็นพระพุทธวจนะที่มีเหตุผล

            อย่างยิ่ง

พร      : เมื่อคนเราคุ้นกับกรรมดี  ก็ย่อมจะ

            ไม่ทำกรรมชั่ว เพราะกลัวจะเป็น

            บาป  เกี่ยวกับผลของกรรมดีต่าง ๆ

            พระพุทธศาสนาสอนให้พวกเราใส่

            ใจในเรื่องทาน  ยิ่งให้ทานมาก

            ความเห็นแก่ตัวก็จะลดน้อยลง

            ขณะเดียวกันเราก็สามารถช่วย

            ผู้อื่นและสังคมได้ด้วย

            พระพุทธองค์ตรัสว่า “การให้ย่อม

            ผูกไมตรีไว้ได้” และ “ผู้ให้ย่อม

            เป็นที่รักเสมอ ”  การให้ (ทาน)

            ย่อมนำความสุขมาให้ในชีวิตนี้

            ทั้งจะก่อให้เกิดความมั่งคั่งใน

            ชีวิตหน้าด้วย  คนที่เกิดมามั่งคั่ง

            ร่ำรวยย่อม (มีโอกาส) หลีกเลี่ยง

            งานที่เป็นมิจฉาชีพได้  สถานภาพ

            เช่นนี้ย่อมเอื้ออำนวยให้บุคคลตั้ง

            อยู่ในศีลธรรมได้

แอลัน :  คนเราจะสามารถหลีกเลี่ยงอกุศล

            กรรม แล้วประกอบกุศลกรรมอยู่

            เป็นอาจิณได้ยังไงครับ?

พร      : ท่านแนะนำว่า การปฏิบัติภาวนา

            และการฟังธรรมเป็นกิจวัตรอย่าง

            สม่ำเสมอจะช่วยสร้างนิสัยให้คุ้น

            อยู่กับกรรมดี  กิจทั้ง 2 อย่างนี้

            จะยังผลให้เป็นคนฉลาดทั้งชาตินี้

            และชาติหน้า ทั้งยังเอื้อให้เกิด

            สัมมาทิฏฐิ ซึ่งจะยังผลต่อไปให้

            เราเป็นคนรู้ลึกซึ้งว่า อะไรถูก

            อะไรผิด  อะไรบุญ อะไรบาป

            อะไรควรทำ  อะไรไม่ควรทำ

            โดยสรุปก็คือ เราจะปฏิบัติตัว

            ห่างไกลจากอกุศลกรรมเสมอ

แอลัน :  คุณกำลังบอกว่า การเจริญภาวนา

            เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคนใช่ไหม

            ครับ ?

พร      : ครับ จำเป็นทีเดียว  และเพื่อ

            ประโยชน์ในเชิงปฏิบัติ กรรมดีทั้ง

            10 อย่างนี้ท่านก็แบ่งแยกเสียใหม่

            เหลือแค่ 3 กลุ่ม คือ ทาน ศีล และ

            ภาวนา

แอลัน :  พร ผมคิดว่า ทุกคนต้องการเป็นคน

            ดี   คนที่ทำชั่วก็อาจเป็นเพราะถูก

            บีบคั้นจากสถานการณ์บางอย่าง

            หรือเพราะความโง่เขลาเบาปัญญา

            นั่นเอง

พร      : นี่คือเหตุผลที่พระพุทธศาสนาสอน

            ให้เราเลือกคบบัณฑิตและกัลยาณ-

            มิตร แทนที่จะคบกับคนพาลคนชั่ว

แอลัน :  คงจะไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับคนยาก

            จนที่จะมีโอกาสคบค้าสมาคมกับ

            บัณฑิตหรือกัลยาณมิตร เพราะ

            ส่วนมากอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อม

            ที่เลวร้าย

พร      : จากประสบการณ์ของผม ได้พบว่า

            คนยากจนเป็นจำนวนมากตั้งอยู่ใน

            ศีลธรรม และปฏิบัติตามกฎหมาย

            ในทำนองกลับกัน ได้พบว่าคนร่ำ

            รวยมากมายดำรงชีวิตอย่างผิดศีล

            ธรรมและกฎหมาย  อย่างไรก็ตาม

            คนที่เกิดในครอบครัวที่มีอันจะกิน

            ย่อมมีโอกาสทำดีได้มากกว่าเกิด

            มาในครอบครัวยากจนข้นแค้น

            พระพุทธศาสนาสอนว่า กรรมที่เรา

            ก่อขึ้นในชาตินี้ จะเป็นตัวกำหนด

            สภาพในชีวิตหน้าของเรา คุณจำ

            ได้ไหมครับ ?

แอลัน :  จำได้ครับ นี่หมายความว่า

            พระพุทธศาสนาเชื่อเรื่องการเวียน

            ว่ายตายเกิด ใช่ไหมครับ แล้วคุณ

            เชื่อไหมครับ ?

พร      : แน่นอนครับ แอลัน  ขอให้ผมย้อน

            กลับไปที่กุศลกรรมอีกครั้งนะครับ

            ผมเชื่อว่าการประกอบกุศลกรรม

            จนเป็นนิสัย ย่อมปกป้องผู้กระทำ

            ให้พ้นจากการประกอบอกุศลกรรม

            ทำนองเดียวกับไม่มีความมืดใน

            ความสว่างนั่นแหละครับ

แอลัน :  ผมก็คิดอย่างนั้นเหมือนกัน พร

            การคุยธรรมะกับคุณนี้มีคุณค่ามาก

พร      : ขอบคุณครับ

 

ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ :อ. สุวณีย์ ศรีโสภา (Cr. ครูบาอาจารย์ผู้ทุ่มเท)

แชร์