2 นักวิจัยวิธีรักษามะเร็ง ได้รับรางวัลโนเบลปี2018
ศาสตราจารย์ เจมส์ อัลลิสัน และศาสตราจารย์ ทาสุกุ ฮอนโจ (Tasuku Honjo) ได้รับเลือกให้เป็นผู้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ ประจำปี ค.ศ. 2018 จากผลงานการค้นพบวิธีรักษาโรคมะเร็ง http://winne.ws/n25146
ศาสตราจารย์ เจมส์ พี. แอลลิสัน ( James Allison) จากมหาวิทยาลัยเทกซัสของสหรัฐฯ และ ศาสตราจารย์ ทาซุกุ ฮอนโจ(Tasuku Honjo) จากมหาวิทยาลัยเกียวโตของญี่ปุ่น คือสองนักวิจัยด้านวิทยาภูมิคุ้มกันผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ประจำปีนี้ จากผลงานการค้นพบ cytotoxic T-lymphocyte-associated protein 4 (CTLA-4) และ programmed cell death protein 1 (PD-1) บนผิวของ T cells จนเป็นที่มาของวิธีรักษามะเร็งแนวใหม่ด้วยวิธีการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด หรือ Immunotherapy
ซึ่งเป็นการรักษาโรคมะเร็งโดยอาศัยหลักการทำงานของภูมิคุ้มกัน กล่าวคือ เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันจะถูกกระตุ้นให้ทำการกำจัดสิ่งแปลกปลอมนั้นออกจากร่างกาย เป็นการส่งเสริมให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานเพื่อให้สามารถกำจัด หรือ ควบคุมเซลล์มะเร็งในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Immune checkpoint คืออะไร
ความสมดุลของ immune checkpoints บนผิวของ T cells มีความสำคัญในการควบคุมการ ทำงานของ T cells ให้เป็นไปอย่างสมดุล คือ กระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันโจมตีสิ่งแปลกปลอมในร่างกายให้พอเหมาะโดยไม่กระตุ้นให้เกิดการอักเสบที่มากจนเกินไป และยับยั้งไม่ให้ร่างกายทำลายเซลล์ปกติตนเอง
จากหลักการดังกล่าวพบว่า เซลล์มะเร็งกลับฉวยโอกาสในการกระตุ้นกลไกลนี้ เพื่อที่จะไม่ให้ภูมิคุ้มกันของร่างกาย ไปทำลายเซลล์มะเร็ง โดยผ่านปฏิกิริยาของ PD-1 หรือ CTLA-4 หรือ co-inhibitory receptors อื่นๆ เช่น เซลล์มะเร็งมีการเพิ่มการแสดงออกของ ligand: PD-L1 บริเวณผิวเซลล์มะเร็งให้มากขึ้น ส่งผลให้ PD-1 receptor ส่งผลให้เกิดการยับยั้งการทำลายมะเร็งผ่านทาง PD-1/PD-L1 มากขั้น ทำให้เซลล์มะเร็งมีการลุกลามมากขึ้น
ฉะนั้นวิธีการจะหยุดกลไกนี้ได้ คือการสร้างตัวยับยั้งต่อ co-inhibitory checkpoints เช่น CTLA-4 และ PD-1 หรือตัวยับยั้งต่อ ligands เช่น PD-L1 หรือ PD-L2 ทั้งหมดน้ี เรียกว่า checkpoint inhibitors
ยาในกลุ่ม immune checkpoint inhibitors ที่ใช้กันอยู่ขณะนี้เป็นยาที่ออกฤทธิ์ขัดขวาง immune checkpoint ชนิด inhibitory checkpoint ซึ่ง checkpoint ชนิดนี้จะขัดขวางการปลุกฤทธิ์และการทำหน้าที่ของ T cells ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่ทำงาน จึงไม่อาจขัดขวางการเจริญของเนื้องอก
ดังนั้นยาในกลุ่ม immune checkpoint inhibitors จึงทำให้ระบบภูมิคุ้มกันกลับมาทำหน้าที่กำจัดเนื้องอกได้ตามเดิมที่ควรจะเป็น โดยนำมาใช้รักษาโรคมะเร็งชนิดต่างๆ ตัวอย่างยาในกลุ่ม immune checkpoint inhibitors ที่ออกฤทธิ์ขัดขวางการจับระหว่าง programmed death ligand-1 (PD-L1) กับ programmed cell death protein 1 (PD-1) ซึ่งอยู่ที่เซลล์เมมเบรนของเซลล์หลายชนิดรวมทั้ง T cells และมีจำหน่ายแล้ว ได้แก่ pembrolizumab, nivolumab, atezolizumab และ avelumab เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันได้มีการศึกษาการใช้ยากลุ่มในผู้ป่วย Hepatocellular carcinoma ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วย ยากลุ่ม sorafinib ซึ่งเป็นยากลุ่มtargeted therapy ที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซีนไคเนส ซึ่งผลการรักษายังไม่ดีมาก ปัจจุบันพบว่าได้เริ่มมีการพัฒนาการรักษาโรคมะเร็งตับและมะเร็งชนิดต่างๆ ด้วยวิธีการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดมากขึ้น ซึ่งการค้นพบของทั้ง 2 ท่าน ถือได้ว่าได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างยิ่งใหญ่ในวงการแพทย์ ขอคารวะในการค้นพบอันยิ่งใหญ่นี้
ขอบคุณภาพ / ข้อมูล : VOA ,