บทบาท "มูลนิธิธรรมกาย" ในฐานะสมาชิกองค์การสหประชาชาติ (UN)
กว่าสิบปีที่ "มูลนิธิธรรมกาย" ในฐานะที่ปรึกษา คณะมนตรีความั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ ในการสนับสนุนงานสร้างสันติภาพและการพัฒนาคุณภาพชีวิตและจิตใจของพลเมืองโลก ร่วมกับหลายภาคส่วนของยูเอ็น ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย http://winne.ws/n14492
มูลนิธิธรรมกาย ในฐานะภาคีสมาชิกองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น UN) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการสนับสนุนงานสร้างสันติภาพและการพัฒนาคุณภาพชีวิตและจิตใจของพลเมืองโลก ร่วมกับหลายภาคส่วนของยูเอ็น ไม่ว่าจะเป็นองค์การยูเนสโก UNESCO, องค์การ NPI และอื่น ๆ ทำให้ในปี พ.ศ. 2549 มูลนิธิธรรมกายได้รับการเสนอชื่อให้มีสถานะเป็น ที่ปรึกษาแห่งคณะมนตรีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (ECOSOC)
นอกจากนี้ทางมูลนิธิยังได้ออกแถลงการ (statement)ในเรื่องต่าง ๆ มาตลอดต่อเนื่องหลายปี หนึ่งในแถลงการณ์คือเรื่อง "สมาธิคือส่วนสำคัญของกระบวนการเยียวยาและป้องกันความรุนแรงต่อสตรีและเด็กผู้หญิง" (Meditation as an integral part of the healing and regenerative process in the elimination and prevention of violence against women and girls)
แถลงการณ์เหล่านี้ล้วนได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านเวปไซท์ยูเอ็นอย่างต่อเนื่อง และได้แปลออกมาถึง 6 ภาษาหลักของยูเอ็น คือ ภาษาอังกฤษ, ภาษาจีน, ภาษาฝรั่งเศส, ภาษาอารบิก, ภาษาสเปน, และภาษารัสเซีย เพื่อแจกจ่ายไปยังสมาชิกขององค์การสหประชาชาติทั่วโลก
อ้างอิง
http://www.un.org/womenwatch/daw/csw/csw57/documentation.htm
https://www.un.org/esa/socdev/geneva2000/text-version/events/panels.htm
http://undocs.org/E/CN.6/2016/NGO/82
ตราสัญลักษณ์ยูเอ็น