เผย! งานวิจัย Harvard นานที่สุดในโลกถึง 75 ปีเพื่อค้นหาว่า ‘ความสุข’ ของมนุษย์ คืออะไร ?
งานวิจัยที่ว่านี้คือ Harvard Study of Adult Development การศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาของผู้ใหญ่จากมหาวิทยาลัย Harvard ที่ใช้ระยะเวลาในการศึกษาค้นคว้าทั้งสิ้น 75 ปีเต็ม เปลี่ยนผ่านผู้ควบคุมงานวิจัยมาถึง 4 รุ่น!! http://winne.ws/n20008
งานวิจัยที่ว่านี้คือ Harvard Study of Adult Development การศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาของผู้ใหญ่จากมหาวิทยาลัย Harvard ที่ใช้ระยะเวลาในการศึกษาค้นคว้าทั้งสิ้น 75 ปีเต็ม เปลี่ยนผ่านผู้ควบคุมงานวิจัยมาถึง 4 รุ่น!!
โดยงานวิจัยชิ้นนี้ริเริ่มจากการติตามศึกษาชีวิตของวัยรุ่นชาย 2 กลุ่มคือนักศึกษาชายชั้นปีที่ 2 ของมหาวิทยาลัย Harvard 268 คน และวัยรุ่นชายอายุ 12 – 16 ปี เติบโตแบบตามมีตามเกิดในเมือง Boston ทั้งหมด 456 คนด้วยกัน
ทุก ๆ 2 ปี ทีมวิจัยจะให้ทั้ง 724 คนมาทำแบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจในชีวิต ทั้งด้านหน้าที่การงาน ด้านสังคม ด้านชีวิตส่วนตัว รวมไปถึงการขอสัมภาษณ์ภายในบ้านเพื่อพูดคุยกับบุคคลในครอบครัวด้วย และทุกๆ 5 ปี พวกเขาก็จะได้รับการตรวจสุขภาพด้วย
จนกระทั่งตลอดระยะเวลาที่ทำการติดตามศึกษาชีวิตของวัยรุ่นทั้ง 724 คนนี้ ทีมวิจัยให้เห็นการเติบโตของพวกเขาในแต่ละปี มีหน้าที่การงานทำ สามารถไต่ระดับจากการสร้างเนื้อสร้างตัวจนมีหน้ามีตาในสังคม แต่ก็มีอีกจำนวนไม่น้อยที่ประสบกับความล้มเหลว จมดิ่งลึกลงไปในห้วงแห่งความผิดหวังถึงขั้นติดเหล้าเมายาก็มี
จนกระทั่งมาถึงปัจจุบัน จากจำนวน 724 คน เหลือชีวิตรอดอยู่เพียงแค่ 60 คน ซึ่งแต่ละคนก็มีอายุไม่ต่ำกว่า 90 ปีแล้ว และจากการเรียนรู้ชีวิตของบุคคลเหล่านี้ทำให้ทีมวิจัยได้เรียนรู้ว่า ความร่ำรวย มีหน้ามีตาในสังคม หรือ การทำงานอย่างหนักนั้นไม่ใช่คำตอบของชีวิตที่มีความสุข
ซึ่งคำตอบที่แท้จริงของชีวิตที่มีความสุขก็คือ ‘ความสัมพันธ์ที่ดี’ นั่นเอง จากความเชื่อแรกเริ่มในช่วงวัยรุ่นที่ว่า ชื่อเสียงและเงินทอง จะทำให้มีชีวิตที่ดีและมีความสุข
แต่จากการศึกษามาตลอดระยะเวลา 75 ปี กลับพบว่า บุคคลที่ให้ความสำคัญกับ ‘ความสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้คนรอบข้าง’ นั้นจะเป็นผู้ที่พบกับความสุขที่แท้จริง
Robert Waldinger ผู้ควบคุมงานวิจัยคนปัจจุบันได้กล่าวเอาไว้ว่า ความสัมพันธ์ที่ดีเป็นสิ่งที่หลายคนมองข้าม มักจะคิดว่าชื่อเสียง เงินทอง เป็นสิ่งที่สร้างความสุขได้ง่ายกว่า
ทำให้หลายคนเลือกที่จะทำงานหาเงินอย่างเดียว เพราะคิดว่าความสัมพันธ์ที่ดีนั้นเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ต้องคอยเอาใจใส่อยู่ตลอดเวลา และเป็นเรื่องที่ยากเกินไป
แต่มันก็ไม่ได้ยากอะไรขนาดนั้น เพราะความสัมพันธ์ที่ดีเริ่มต้นได้จากการเงยหน้าขึ้นมาจากจอโทรศัพท์ สบตาคนที่อยู่ข้างๆ ชวนกันออกไปทำอะไรใหม่ๆ เติมเต็มความสัมพันธ์ที่จืดจางให้มีชีวิตชีวาอีกครั้ง
แล้วความสุขที่ได้กลับมาจะมีค่ายิ่งกว่าเงินที่ต้องเสียไปซะอีก แต่กว่าที่เราจะรู้ตัวก็สายไปเสียแล้ว เพราะชีวิตคนเรามันสั้นนัก
อ่านเพิ่มได้ที่ : http://www.catdumb.com/longest-harvard-study-75-years-290/
“Good relationships keep us happier and healthier.”
ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด (Key Massage)
โรเบิร์ต บอกต่อว่า พวกเขาได้เรียนรู้อีก 3 บทเรียนล้ำค่า ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ (Relationship) คือ...
1. Connection is really good for us,loneliness kills.
คุณจำเป็นต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นคู่ครอง เพื่อน ครอบครัว หรือสังคม ก็ตาม ซึ่งความสัมพันธ์เหล่านี้จะทำให้คุณ มีความสุขกว่า แข็งแรงกว่า และมีอายุที่ยืนยาวกว่า
ในทางกลับกันความเหงาและโดดเดี่ยวนั้น เป็นสิ่งอันตรายอย่างยิ่ง เพราะมันจะทำให้คุณมีความสุขน้อยลง ทำให้ร่างกายคุณเริ่มแย่ลงตั้งแต่วัยกลางคน สมองเสื่อมเร็วขึ้น และมีชีวิตสั้นกว่า
2. Quality is not Quantity
มันไม่สำคัญที่ปริมาณ หรือรูปแบบของความสัมพันธ์ เช่น "จะต้องแต่งงานเท่านั้น"แต่เป็น “คุณภาพของความสัมพันธ์” ต่างหากที่จะเป็นตัวบ่งชี้งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ชี้ให้เห็นว่าความสัมพันธ์ที่ไม่ดีของสามีภรรยาจะส่งผลลบมากกว่าการหย่าร้างที่เข้าใจกันเสียอีก
3. "Good relationships don’t just protect our bodies they protect our brains."
ความสัมพันธ์ที่อบอุ่น มั่นคง ไว้ใจได้ พึ่งพาได้ ไม่เพียงแต่ช่วยให้มีสุขภาพกายที่ดีเท่านั้น ยังดีต่อสมองด้วย ความสัมพันธ์ที่ดี จะทำให้มีความทรงจำที่ดี และสมองยังคงใช้งานได้ดีอยู่ซึ่งความสัมพันธ์ที่ดีในที่นี้ไม่ได้หมายถึงความสัมพันธ์ที่ราบรื่นสุดๆ ไม่ทะเลาะกันเลย แต่เป็นความสัมพันธ์ที่รู้ว่า เมื่อถึงเวลาที่ต้องการจริง ๆ เราจะมีคนที่พึ่งพาได้ นั่นคือสิ่งที่ "โรเบิร์ต วาล์ดินเจอร์ " และทีมงานวิจัยของ ฮาวาร์ด ค้นพบ ซึ่ง โรเบิร์ต บอกว่า
จริง ๆ แล้ว ผู้ถูกวิจัยเหล่านี้ในช่วงที่ยังเป็นวัยรุ่น หรือเริ่มเป็นผู้ใหญ่ใหม่ๆนั้น ก็เชื่อเหมือนกับที่คนในยุคนี้ว่า"ชื่อเสียง เงินทอง" จะทำให้พวกเขา "ประสบความสำเร็จและมีชีวิตที่ดี" แต่ความจริงจากการศึกษากว่า 75 ปี กลับกลายเป็นว่า คนที่ให้ความสำคัญกับ"ความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง" ต่างหาก คือ คนที่มีชีวิตที่ดีที่สุด
โรเบิร์ต ชวนคิดว่า...
สิ่งที่ทำให้คนเรามองข้าม “ความสัมพันธ์ที่ดี”แล้วหันไปใส่ใจกับ "ชื่อเสียง เงินทอง" หรือ "หน้าที่การงาน" อาจเป็นเพราะ...การมีความสัมพันธ์ที่ดีนั้น เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ยากและไม่รู้จบ แถมยังต้องได้รับการใส่ใจตลอดเวลา จนหลายคนเลือกจะ "ทำงานหาเงิน" อย่างเดียว
แต่...การเอาใจใส่ และการทำความสัมพันธ์ให้ดี ไม่ได้ยากขนาดนั้น แค่เงยหน้าจากจอมือถือ แล้วสบตาคนรอบตัวให้มากขึ้น หาอะไรใหม่ ๆ ทำร่วมกัน เพื่อให้ความสัมพันธ์ที่จืดจาง กลับมามีสีสันอีกครั้ง ทำอะไรง่าย ๆ ที่ไม่ต้องเสียเงิน เช่น ชวนคนรักไปเดินเล่น หรือติดต่อญาติที่ไม่ได้เจอกันมานานแล้ว เพราะชีวิตเรานั้น
"มาร์ก เทวน" บอกว่า...
มันช่างสั้น แล้วก็สั้นเหลือเกิน สั้นเกินกว่าที่จะมาโกรธกัน ทะเลาะกัน หรืออิจฉาริษยากัน ควรมีแต่เวลารักกันเท่านั้น ซึ่งแค่นี้มันก็แทบจะไม่พออยู่แล้ว นั่นคือสิ่งที่ "โรเบิร์ต วาล์ดินเจอร์ "
ฟังข้อมูลต้นฉบับเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.ted.com/talks/robert_waldinger_what_makes_a_good_life_lessons_from_the_longest_study_on_happiness?language=en