คำศัพท์ที่มีใช้เฉพาะพระพุทธศาสนา ที่มักได้ยินและเห็นได้บ่อย ๆ

อนุโมทนา แปลว่า ความยินดีตาม, ความพลอยยินดี หมายถึงการแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ อนุโมทนา อาจทำได้ด้วยการพูด เขียนหนังสือ หรือแสดงกิริยาก็ได้ เช่นเมื่อได้ยินเสียงสวดมนต์ก็ยกมือประนมไหว้กล่าวว่าสาธุ http://winne.ws/n22552

1.0 หมื่น ผู้เข้าชม
คำศัพท์ที่มีใช้เฉพาะพระพุทธศาสนา ที่มักได้ยินและเห็นได้บ่อย ๆแหล่งภาพจาก xn--42c0afc5c3ab1a6a5d3bb9qne.com

1. อนุโมทนา แปลว่า 

       อนุโมทนา แปลว่า ความยินดีตาม, ความพลอยยินดี หมายถึงการแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ

       อนุโมทนา อาจทำได้ด้วยการพูด เขียนหนังสือ หรือแสดงกิริยาก็ได้ เช่นเมื่อได้ยินเสียงย่ำฆ้องกลองที่วัดในตอนเย็น แสดงว่าพระท่านทำวัตรเย็นจบ ก็ยกมือขึ้นประนมไหว้เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้นสาธุ เป็นการอนุโมทนาบุญของเขาด้วย

      เรียกการพูดแสดงความยินดีในความดีของผู้อื่นว่า อนุโมทนากถา (ดูสัมโมทนียกถาประกอบ)

       เรียกหนังสือรับรองการบริจาคที่วัดออกให้แก่ผู้บริจาคทรัพย์ทำบุญว่า อนุโมทนาบัตร หรือ ใบอนุโมทนา

      เรียกบุญที่เกิดจากการอนุโมทนาตามตัวอย่างข้างต้นว่า อนุโมทนามัยบุญ

คำศัพท์ที่มีใช้เฉพาะพระพุทธศาสนา ที่มักได้ยินและเห็นได้บ่อย ๆแหล่งภาพจาก พลังจิต

2. สาธุ แปลว่า

      คำวิเศษณ์ 

       1. ดีแล้ว, ชอบแล้ว, เป็นคำที่พระสงฆ์เปล่งวาจาเพื่อยืนยัน หรือรับรองพิธีทางศาสนาที่กระทำไป.

      คำกริยา 

       1. (ภาษาปาก)เปล่งวาจาแสดงความเห็นว่าชอบแล้ว หรืออนุโมทนาด้วย, มักใช้คู่กับคำว่า โมทนา เป็น โมทนาสาธุ.

        2. ไหว้, เป็นคำบอกให้เด็กแสดงความเคารพตามธรรมเนียม, ใช้สั้น ๆ ว่า ธุ ก็มี.

คำศัพท์ที่มีใช้เฉพาะพระพุทธศาสนา ที่มักได้ยินและเห็นได้บ่อย ๆแหล่งภาพจาก YouTube


  1. 3. บรรพชา แปลว่า

       บรรพชา (อ่านว่า บันพะชา, บับพะชา) (บาลี: ปพฺพชฺช; สันสกฤต: ปฺรวฺรชฺย) แปลว่า การบวช (แปลว่า เว้นความชั่วทุกอย่าง) หมายถึง การบวชทั่วไป, การบวชอันเป็นบุรพประโยคแห่งอุปสมบท, การบวชเป็นสามเณร (เดิมทีเดียว คำว่า บรรพชา หมายความว่า บวชเป็นภิกษุ เช่น เสด็จออกบรรพชาอัครสาวกบรรพชา เป็นต้น ในสมัยต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้ คำว่า บรรพชา หมายถึง บวชเป็นสามเณรถ้าบวชเป็นภิกษุ ใช้คำว่า อุปสมบท โดยเฉพาะเมื่อใช้คอบกันว่า บรรพชาอุปสมบท)

คำศัพท์ที่มีใช้เฉพาะพระพุทธศาสนา ที่มักได้ยินและเห็นได้บ่อย ๆแหล่งภาพจาก youtube.com

4. อุปสมบท แปลว่า

       อุปสมบท (อ่านว่า อุปะ-, อุบปะ-) แปลว่า การเข้าถึง คือการบวช เป็นศัพท์เฉพาะในศาสนาพุทธ ใช้หมายถึงการบวชเป็นภิกษุและภิกษุณี เรียกเต็มว่า อุปสมบทกรรม

       อุปสมบทเป็นสังฆกรรมอย่างหนึ่ง ในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงวางหลักเกณฑ์และระเบียบปฏิบัติไว้รัดกุมและละเอียดมากโดยทรงบัญญัติให้สวดอนุสาวนาไม่ต้องระบุนามแต่ระบุบุเพียงโคตร(สกุล)ได้และสวดประกาศครั้งละ ๒-๓ รูปได้โดยมีอุปัชฌายะ และทรงอนุญาตให้นับอายุผู้บวชว่าครบ ๒๐ โดยคิดตั้งแต่อยู่ในครรภ์ 

       ทั้งนี้เพื่อให้ได้ศาสนทายาทที่ดีไว้สืบสานพระพุทธศาสนา ในประเทศไทยจะถือเป็นประเพณีเลยว่า ลูกชายของครอบครัวเป็นพุทธต้องบวชสักครั้งในชีวิตเพื่อให้แม่เกาะชายผ้าเหลือง ชดใช้ค่าน้ำนม อันเป็นสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาโดยเปลี่ยนจากผู้นับถือพระรัตนตรัยขึ้นไปเป็นส่วนหนึ่งของพระรัตนตรัย

คำศัพท์ที่มีใช้เฉพาะพระพุทธศาสนา ที่มักได้ยินและเห็นได้บ่อย ๆแหล่งภาพจาก จังหวัดกำแพงเพชร

5. ทอดผ้าป่า หมายถึง 

       ผ้าป่า คือผ้าที่ผู้ถวายนำไปวางพาดไว้บนกิ่งไม้เพื่อให้พระชักเอาไปเองโดยไม่กล่าวคำถวายหรือประเคนเหมือนถวายของทั่วไป กริยาที่พระหยิบผ้าไปใช้แบบนั้น เรียกว่า "ชักผ้าป่า" ส่วนการถวายผ้าป่านิยมจัดของใช้เป็นบริวารผ้าป่าเหมือนบริวารกฐิน เรียกว่า "ทอดผ้าป่า"

ประวัติความเป็นมา

       ผ้าป่า เรียกดังนี้เพราะถือคติโบราณ คือสมัยพุทธกาล ผ้าหายาก ภิกษุต้องแสวงหาผ้าที่เขาทิ้งไว้ตามป่าช้าบ้าง ตามทางเดินในป่าบ้างมาทำจีวรนุ่งห่ม คนใจบุญสมัยนั้นจึงนำผ้าไปแขวนไว้ตามต้นไม้ข้างทางที่พระเดินผ่าน ทำนองว่าทิ้งแล้วพระไปพบเข้าจึงหยิบไปทำจีวร โดยถือว่าเป็นผ้าไม่มีเจ้าของ ผ้าชนิดนั้นเลยเรียกว่า "ผ้าป่า"

คำศัพท์ที่มีใช้เฉพาะพระพุทธศาสนา ที่มักได้ยินและเห็นได้บ่อย ๆแหล่งภาพจาก พลังจิต

6. สังฆทาน แปลว่า

       สังฆทาน (บาลีสงฺฆทาน) เป็นศัพท์ในพระสูตร เป็นชื่อเรียกการถวายทานแก่พระสงฆ์อย่างหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่ามีอานิสงส์มาก ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ทักขิณาวิภังคสูตร[1] ว่าการถวายสังฆทานแก่คณะพระสงฆ์ มีอานิสงส์มากกว่าการถวายทานเฉพาะเจาะจงแก่พระพุทธเจ้า แม้ยังทรงพระชนม์อยู่

       การถวายสังฆทานนั้น เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าคือการนำถังใส่จตุปัจจัยสีเหลืองไปถวายแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งหรือหลายรูปเท่านั้น แต่ความจริงแล้วสังฆทานอาจหมายถึงการถวายปัจจัยวัตถุใด ๆ ก็ได้ ที่เป็นประโยชน์แก่คณะสงฆ์โดยส่วนรวม เช่นการถวายกุฏิวิหาร หนังสือ ปากกา จาน หรือ แม้กระทั่งไม้กวาด แม้จะกล่าวคำถวายหรือไม่กล่าว หรือกล่าวคำถวายเป็นอย่างอื่น แต่อาการแห่งการถวายเป็นการอุทิศให้แก่สงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่สงฆ์ ก็จัดเป็นสังฆทานได้

       ทานพิธีที่มีชื่อเรียกอย่างอื่น ที่เข้าลักษณะของสังฆทาน ก็จัดว่าเป็นสังฆทานได้ เช่น การตักบาตร การถวายผ้ากฐิน การถวายผ้าป่า เป็นต้น

คำศัพท์ที่มีใช้เฉพาะพระพุทธศาสนา ที่มักได้ยินและเห็นได้บ่อย ๆแหล่งภาพจาก m.dmc.tv

7. ทอดกฐิน แปลว่า

       กฐิน (บาลี: กน) เป็นศัพท์ในพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นชื่อเรียกผ้าไตรจีวรที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว สามารถรับมานุ่งห่มได้ โดยคำว่าการทอดกฐิน หรือการกรานกฐิน จัดเป็นสังฆกรรมประเภทหนึ่งตามพระวินัยบัญญัติเถรวาท ที่มีกำหนดเวลา คือพระสงฆ์สามารถกระทำสังฆกรรมนี้ได้นับแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เท่านั้น โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ และอนุเคราะห์ภิกษุผู้ทรงคุณที่มีจีวรชำรุด

คำศัพท์ที่มีใช้เฉพาะพระพุทธศาสนา ที่มักได้ยินและเห็นได้บ่อย ๆแหล่งภาพจาก กัลยาณมิตร

8. เวียนประทักษิณ แปลว่า 

       น. การเวียนขวา โดยให้สิ่งที่เรานับถือหรือผู้ที่เรานับถือเป็นต้นอยู่ทางขวาของผู้เวียน. 

อ้างอิงจาก: วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แชร์