ฮือฮาต่อปรากฏการณ์ “ซูเปอร์มูน” ดวงจันทร์โตกว่าปกติช่วงกลางดึกคืน 31 ม.ค.นี้

เมื่อ 28 ม.ค. เอเอฟพีรายงานความฮือฮาต่อปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์หายากครั้งแรกในรอบ 36 ปี ซึ่งจะเกิดขึ้นตรงกับคืนวันที่ 31 ม.ค.นี้ รับชมได้ในหลายพื้นที่ทั่วโลก ทวีปอเมริกาเหนือซีกตะวันตก เอเชีย ตะวันออกกลาง ออสเตรเลีย รัสเซีย เรียกว่า ซูเปอร์ บลัด บลูมูน http://winne.ws/n22031

995 ผู้เข้าชม
ฮือฮาต่อปรากฏการณ์ “ซูเปอร์มูน” ดวงจันทร์โตกว่าปกติช่วงกลางดึกคืน 31 ม.ค.นี้

เมื่อ 28 ม.ค. 2561 เอเอฟพีรายงานความฮือฮาต่อปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์หายากครั้งแรกในรอบ 36 ปี ซึ่งจะเกิดขึ้นตรงกับคืนวันที่ 31 ม.ค. 2561 นี้ และสามารถรับชมได้ในหลายพื้นที่ทั่วโลก อาทิ ทวีปอเมริกาเหนือซีกตะวันตก เอเชีย ตะวันออกกลาง ออสเตรเลีย และประเทศรัสเซีย เรียกว่า ซูเปอร์ บลัด บลูมูน

ปรากฏการณ์ซูเปอร์ บลัด บลูมูน ประกอบด้วยปรากฏการณ์หาชมยาก 3 อย่างที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน ได้แก่ ปรากฏการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงรอบที่สองในเดือนเดียว เรียกว่า “บลูมูน” (และจะเรียกดวงจันทร์เต็มดวงครั้งนั้นว่า “ฟูลมูน” ) ปรากฏการณ์ “ซูเปอร์มูน” ทำให้ดวงจันทร์มีขนาดดวงโตกว่าปกติ เกิดจากการที่ดวงจันทร์เข้าใกล้โลก และปรากฏการณ์จันทรคราส หรือจันทรุปราคาแบบเต็มดวง เกิดจากที่ดวงจันทร์โคจรผ่านเข้ามาในเงาของโลก ทำให้จากดวงอาทิตย์ที่อยู่อีกด้านหนึ่งของโลกส่องลงบนพื้นผิวของดวงจันทร์ไม่ได้อย่างสมบูรณ์

การเรียงตัวเป็นแนวตรงระหว่างดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นนานเป็นเวลา 1 ชั่วโมง 16 นาที และจะสามารถมองเห็นได้ในช่วงกลางดึกของคืนวันที่ 31 ม.ค. 2561 ตามเวลาทวีปอเมริกาเหนือและแคนาดา ส่วนเอเชีย ตะวันออกกลาง ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และประเทศรัสเซีย สามารถมองเห็นได้ในช่วงก่อนค่ำของวันที่ 31 ม.ค. เช่นกัน และไม่จำเป็นต้องสวมแว่นป้องกัน

อ่านข่าวต่อได้ที่: https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_727343

แชร์