มองตนให้เป็น ตอน ทุกข์จากการทำมาหากิน โดยหลวงพ่อทัตตชีโว
หากใครไม่ละเอียดรอบคอบในการแสวงหา - การเก็บรักษา - การใช้จ่ายทรัพย์ เพื่อกำจัดทุกข์จากร่างกาย และทุกข์จากสังคม ย่อมก่อความสิ้นเปลือง ขาดแคลน ทำให้ต้องเหนื่อยทำงานหาเลี้ยงชีพ เสียเวลาเกินเหตุ http://winne.ws/n22029
สัตวโลกทุกชีวิตเกิดมาแล้วต้องตาย ไม่เว้นแม้รายเดียว คือเกิดเท่าไร ก็ตายเท่านั้น ต่างกันแต่ตายช้าหรือตายเร็ว ทุกคนจึงตกอยู่ในฐานะนักโทษรอประหารตั้งแต่เกิด ยิ่งกว่านั้นต่างถูกยัดเยียดให้ต้องผจญกับความทุกข์ 4 ประการตลอดชีวิต คือ
1. ทุกข์จากสรีระ (ทุกข์จากร่างกาย)
2. ทุกข์จากสังคม (ทุกข์จากการอยู่ร่วมกัน)
3. ทุกข์จากอาชีพ (ทุกข์จากการต้องทำงานหาเงิน)
4. ทุกข์จากกิเลส
ทุกข์จากการเลี้ยงชีพ เป็นความทุกข์ที่เกิดจากการต้องทำงาน เพื่อให้ได้มาซึ่งรายได้ แล้วเปลี่ยนรายได้เป็นทรัพย์หรือปัจจัย 4 คือ เสื้อผ้า อาหาร ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค ตลอดจนสิ่งที่เนื่องด้วยปัจจัย 4 เพื่อบริโภคใช้สอยและหล่อเลี้ยงชีวิตตนเองและครอบครัวต่อไป
หากใครไม่ละเอียดรอบคอบในการแสวงหา - การเก็บรักษา - การใช้จ่ายทรัพย์ เพื่อกำจัดทุกข์จากร่างกาย และทุกข์จากสังคม ย่อมก่อความสิ้นเปลือง ขาดแคลน ทำให้ต้องเหนื่อยทำงานหาเลี้ยงชีพ เสียเวลาเกินเหตุ โดยไม่มีโอกาสสั่งสมความดีให้แก่ชีวิต สมกับการได้เกิดมาเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนา
หากไม่สำรวมอาชีพย่อมหลงไปประกอบอาชีพทุจริต ตนเองก็จะต้องประสบทุกข์หนัก เศรษฐกิจของครอบครัว สังคม ก็พลอยเดือดร้อน สิ่งแวดล้อมก็ถูกทำลาย กลายเป็นปัญหาทุกข์จากการเลี้ยงชีพ
1. ความขยัน - ฉลาดเลือกประกอบอาชีพสุจริต
2. ความรอบคอบในการเก็บรักษาทรัพย์ที่หาได้
3. การมีเพื่อนดีเป็นที่ปรึกษาและสร้างเครือข่ายคนดี
4. ความรู้ประมาณในการใช้ทรัพย์
องค์ประกอบครบ 4 ประการนี้ ย่อมชื่อว่า มีความสำรวมอาชีพ เพราะเป็นการเลี้ยงชีพอยู่เหนืออำนาจกิเลส โดยไม่ต้องละเมิดกฎแห่งกรรม
การไม่ละเมิดกฎแห่งกรรม เว้นอาชีพทุจริต มีดังนี้
- เว้นการค้าอาวุธ - ค้ามนุษย์ - ค้ายาพิษ -ค้าสัตว์เอาไปฆ่า - ยาเสพติด
- เว้นอาชีพเกี่ยวกับอบายมุข ไม่ผลิต ไม่จำหน่ายสุรา ไม่เล่น ไม่เปิดบ่อนการพนัน ไม่เปิดสถานบันเทิงเริงรมย์ ไม่ให้บริการ ไม่เปิดสถานบริการทางเพศ
การเลี้ยงชีพเหนืออำนาจกิเลส ประกอบอาชีพสุจริต
- ขยันและฉลาดหาทรัพย์ ในทางที่ชอบ
- รอบคอบเก็บรักษาทรัพย์ไว้
- สร้างเครือข่ายคนดีรอบข้าง
- เลี้ยงชีวิตอย่างเหมาะสม
- ไม่จมหลงมัวเมาในทรัพย์
จากหนังสือ มองตนให้เป็น หน้า 42-44 โดยทตฺตชีโว ภิกขุ