อย่า!!มองข้าม "พัฒนาบุคลิกภาพ"

ปรับปรุงหรือพัฒนาบุคลิกภาพภายในก่อน ทำให้การพัฒนาบุคลิกภาพภายนอกประสบความสำเร็จได้ การพัฒนาบุคลิกภาพภายใน คนที่มีบุคลิกภาพโดดเด่น ไม่ใช่แค่วางตัวดี แต่งตัวดี กิริยาวาจาดี ลึก ๆ แล้ว บุคลิกภาพที่ดีเริ่มจากภายในทั้งสิ้น ภายในก็คือในใจ http://winne.ws/n1954

2.0 พัน ผู้เข้าชม
อย่า!!มองข้าม "พัฒนาบุคลิกภาพ"

การพัฒนาบุคลิกภาพ

         การพัฒนาบุคลิกภาพ( Personal Development ) ความหมายของคำว่า “บุคลิกภาพ (Personality)” คำว่า “บุคลิกภาพ” มาจากคำละตินว่า Persona หมายถึง หน้ากากที่ตัวละครในสมัยกรีกโรมันใช้สวมเวลาออกแสดง เพื่อแสดงบทบาทตามที่ถูกกำหนดมา 

        ให้ผู้ดูเห็นได้ในระยะไกล ๆ ความหมายของคำว่าบุคลิกภาพนั้นยากที่จะให้คำจำกัดความได้แน่นอนตายตัว เพราะโดยปกติเรามักจะตัดสินบุคลิกภาพของผู้อื่น โดยเอาความรู้สึกของตนเอง เป็นเครื่องวัดโดยวัดจากปฏิกิริยาที่บุคคลอื่นแสดงต่อตนเองเป็นเกณฑ์

อย่า!!มองข้าม "พัฒนาบุคลิกภาพ"

บุคคลจะมีบุคลิกภาพที่ดีต้องมีการปรับและพัฒนา โดยเริ่มต้นจาก

1. สำรวจตนเอง โดยอยู่หน้ากระจกแล้วสังเกตบุคลิกภาพที่ประกอบกันขึ้นมาจากหลายๆสิ่งหลายๆอย่างซึ่งรวมเป็นหมวดหมู่แล้วก็จะมีอยู่ 5 หัวข้อต่อไปนี้

        1.1 ร่างกาย หมายถึงรูปลักษณ์ภายนอกของคุณที่ปรากฏต่อผู้อื่น รวมตั้งแต่รูปร่างหน้าตา การแต่งกาย ทรงผม กระทั่งการดูแลรักษาความสะอาด และน้ำเสียงหรือถ้อยวาจาที่ออกมาจากปาก

        1.2 สติปัญญา ก็คือความสามารถในการรับรู้ การทำความเข้าใจปรากฏการณ์ต่างๆด้วยเหตุและผล ตลอดจนความสามารถในการแยกแยะข้อเท็จจริงต่างๆ

        1.3 อารมณ์ เป็นปฏิกิริยาของจิตใจที่ตอบสนองต่อเรื่องราวที่มากระทบตามธรรมชาติมนุษย์ เช่น อารมณ์ขัน อารมณ์เศร้าโศกเสียใจ อารมณ์หดหู่เบื่อหน่าย และอีกหลายอารมณ์ ซึ่งบางครั้งก็เกิดขึ้นเฉพาะในการรับรู้ของแต่ละคนเอง หรือบางครั้งก็อาจปรากฏตัวออกมาให้เป็นที่รู้เห็นของบุคคลอื่นได้เหมือนกัน

        1.4 นิสัย คือพื้นฐานพฤติกรรมต่าง ๆ อันเกิดจาก ความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม ซึ่งเกิดขึ้นจากการสะสมข้อมูลรวมทั้งการกระทำตามความเคยชินและข้อมูลที่ได้รับรู้มาจากแหล่งต่างๆประกอบกัน

         1.5 สังคม หมายถึง สิ่งแวดล้อมในทุกด้านของชีวิต ทั้งที่เป็นบุคคลและเป็นปรากฏการณ์ต่างๆนับตั้งแต่เกิดมาจนถึงปัจจุบัน

อย่า!!มองข้าม "พัฒนาบุคลิกภาพ"

2. จดลงสมุดบันทึก ว่ามีอะไรบ้างในตัวเองที่รู้สึกไม่พอใจและรู้สึกชื่นชม พิจารณาดูว่าสิ่งใดที่เราไม่พอใจและอยากปรับเปลี่ยน

3. ถามคนรอบข้าง ถามว่าพวกเขาอยากให้เราปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง การเปิดใจรับฟังเสียงของคนรอบข้าง เหมือนเราได้กระจกส่องชั้นดีทีเดียวมาช่วยส่องอีกทาง เพราะถึงที่สุดแล้วคนที่จะตัดสินว่าเราน่าคบค้าสมาคม น่าส่งเสริมสนับสนุน หรือน่าเบื่อหน่ายก็คือคนรอบข้างของเรา

4. ขอคำแนะนำจากคนที่มีความรู้ในการพัฒนาบุคลิกภาพ หรือผู้ที่มีบุคลิกภาพที่ดีว่าควรทำอย่างไร หรือมีเคล็ดลับพิเศษของแต่ละคนหรือไม่ และพึงรับฟังคำแนะนำด้วยท่าทีที่แจ่มใส ฟังด้วยหัวใจมิใช่ฟังด้วยหู

5. หาหนังสือมาอ่าน ซึ่งเป็นหนังสือที่แนะนำวิธีสำรวจตรวจตราตนเอง มารยาทที่พึงปฏิบัติ

6. หาใครสักคนช่วยฝึกฝน หรือจะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านบุคลิกภาพและมารยาทสังคม ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาได้ในระยะเวลาอันสั้น ดังนั้น การที่บุคคลจะมีบุคลิกภาพที่ดีนั้น ไม่ใช่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแค่ภายนอกด้วยการแต่งกายหรือพฤติกรรมที่แสดงออกเท่านั้น หากจำเป็นต้องมี

ปรับปรุงหรือพัฒนาบุคลิกภาพภายในก่อน จึงจะทำให้การพัฒนาบุคลิกภาพภายนอกประสบความสำเร็จได้ 

         การพัฒนาบุคลิกภาพจากภายใน ในบรรดาผู้คนที่มีบุคลิกภาพโดดเด่นทั้งหลาย ไม่ใช่เป็นเพียงคนที่วางตัวดี แต่งตัวดี กิริยาวาจาดี วางตัวเหมาะกับกาลเทศะและบุคคลแต่เพียงเท่านั้น หากมองกันลงไปลึก ๆ แล้ว เชื่อไหมว่าบุคลิกภาพที่ดีของบุคคลเหล่านั้นเริ่มต้นขึ้นจากภายในทั้งสิ้น ภายในก็คือในใจ ในความคิด ที่มีต่อตนเอง ต่อโลกและสังคมนั่นเอง และเมื่อเริ่มต้นดีภายในดีแล้วบุคลิกภาพดี ๆ ก็จะสะท้อนออกมาจนเป็นที่ปรากฏต่อสายตาของประชาชนทั่วไปเองในที่สุด เรื่องนี้เป็นความจริง ใครจะลองฝึกดูก็ไม่น่าจะเสียหายอะไร กลับจะช่วยให้ค่อยๆมีบุคลิกที่ดียิ่งขึ้นด้วยซ้ำไป สาระสำคัญของบุคลิกภาพภายใน (Internal Personality) ที่ต้องพัฒนามี 11 หัวข้อ คือ

           1. การสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง                    2. ความกระตือรือร้น

           3. ความรอบรู้                                                              4. ความคิดริเริ่ม

           5. ความจริงใจ                                                            6. การรู้กาลเทศะ

           7. ปฏิภาณไหวพริบ                                                  8. ความรับผิดชอบ

            9. ความจำ                                                                 10. การมีอารมณ์ขัน

           11.ความมีคุณธรรม การฝึกพัฒนาบุคลิกภาพภายใน 

อย่า!!มองข้าม "พัฒนาบุคลิกภาพ"

เทคนิคการทักทาย

การทักทาย สิ่งแรกสำหรับการเริ่มต้นการทักทายคือ รอยยิ้มที่แสดงออกถึงความเป็นมิตรก่อนที่จะกล่าวทักทายตามความเหมาะสมกับบุคคลและสถานที่ ซึ่งหัวใจของการยิ้มมีดังนี้

         1. จงทำตัวให้ผ่อนคลาย แสดงความเป็นมิตรและยืนยันท่าทีดังกล่าว ด้วยรอยยิ้ม

         2. รอยยิ้มที่ใครก็อยากเห็นคือ รอยยิ้มที่จริงใจ

         3. รอยยิ้มที่ดีต้องเกิดจากการมองโลกในแง่ดี และความเบิกบานภายใน เพราะรอยยิ้มที่กลั่นมาจากความรู้สึกดังกล่าวจะดูร่าเริงสดชื่นและมีมนต์ เสน่ห์แก่ผู้พบเห็น

         4. รอยยิ้มเป็นภาษาทางกายและกิริยาอื่น ๆ ที่ไม่ต้อง “มากเกินไป” ยิ้มด้วยความผ่อนคลาย ยิ้มด้วยใจสบาย ไม่มีความวิตกกังวลหรือกระวนกระวาย แต่จงยิ้มด้วยความเชื่อมั่น พึงระลึกไว้ว่ารอยยิ้มบ่งบอกถึงความจริงใจ เป็นรอยยิ้มที่สร้างมิตรภาพน่าจดจำ และดึงดูดผู้คนได้มากที่สุด

         5. รอยยิ้มต้องเริ่มต้นจากความเป็นมิตร เมื่อใดที่รู้สึกเป็นมิตรเกิดขึ้นจงสื่อสารออกมาเป็นรอยยิ้ม จงฝึกตนเองให้มีความเป็นมิตร และยิ้มออกมาเพื่อสร้างมิตรจากใจจริง ท่วงท่าที่ดีต้องมีความเป็นธรรมชาติ เพราะเรื่องของบุคลิกภาพนั้น เป็นเรื่อง ที่เน้นความเป็นธรรมชาติ ไม่เน้นการปรุงแต่งอย่างแข็งขืน ดังนั้น ความเข้าใจว่า เราต้องเก๊กท่าเก๊กทาง อย่างนั้นอย่างนี้ตลอดทั้งวันจึงไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง ไม่ใช่ความงามสง่า แต่เป็นการเก๊กท่าที่ดูไม่เป็นธรรมชาติ วิธีสังเกตพฤติกรรม และท่วงท่าเพื่อปรับเปลี่ยนให้คุณมีบุคลิกที่ดี และมีเสน่ห์กว่าที่เคยเป็น คือ หากระจกเงาบานใหญ่ แนวตั้ง สีเหลี่ยมผืนผ้าตั้งไว้ด้านหน้า พิงผนังหรือกระจกเงาแบบมีขาตั้ง

          เดินจากจุดเริ่มต้นไปหากระจกเงา และมองที่กระจกนั้น จะเห็นท่วงท่าของตัวเอง จุดที่ต้องแก้ไข

          ทำใจยอมรับว่าตัวตนของตัวเองเป็นแบบนี้ จะปรับเปลี่ยนอย่างไรมองเห็นจุดที่ควรปรับเปลี่ยนผ่าน กระจกเงา

         หมั่นฝึกท่วงท่า และยอมปรับตัวเอง อาจจะต้องปรับให้ดูเหมาะสมและดูดียิ่งๆ ขึ้น

กล้าแสดงออกในส่วนที่ไม่เคยเป็น และเคยชิน เพื่อความดูดี และบุคลิกใหม่ที่น่ามอง “ เวลามองตัวเองในกระจกเงาแล้ว เห็นจุดบกพร่องที่ควรจะมองเพื่อแก้ไข ” บางครั้งเราเคยชินกับการที่เป็นแบบนี้มานาน หรืออาจจะเกิดจากกรรมพันธุ์ที่เราเติบโตมา เช่น เดินท่าเหมือนพ่อ กิริยาท่าทางเหมือนแม่เป็นได้ทั้งหญิงและชาย พฤติกรรมในการเดิน การนั่ง การยืน ล้วนถูกปลูกฝัง

ที่มา: http://www.personality.ob.tc/Personal%20Development.html

ขอบคุณภาพจาก www.google.com

แชร์