คราบหินปูนที่ฟันคืออะไร ไม่ขูดออกจะเป็นอันตรายหรือไม่ ??
หินปูน หรือที่บางคนเรียกว่า หินน้ำลาย เป็นการพัฒนามาจากคราบแบคทีเรีย พลาค (Plaque) หรือเรียกตามภาษาชาวบ้านว่า “ขี้ฟัน” มีลักษณะคล้ายฟิล์มใส ๆ บาง ๆ เกาะตัวอยู่บริเวณโคนฟันใกล้ขอบเหงือก อาจมีสีออกเหลือง หรือเทาได้เล็กน้อย http://winne.ws/n18580
หินปูนที่ฟัน คืออะไร?
หินปูน หรือที่บางคนเรียกว่า หินน้ำลาย เป็นการพัฒนามาจากคราบแบคทีเรีย พลาค (Plaque) หรือเรียกตามภาษาชาวบ้านว่า “ขี้ฟัน” มีลักษณะคล้ายฟิล์มใสๆ บางๆ เกาะตัวอยู่บริเวณโคนฟันใกล้ขอบเหงือก อาจมีสีออกเหลือง หรือเทาได้เล็กน้อย
คราบเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้แม้หลังการแปรงฟันเพียง 2-3 นาที เป็นเมือกใสๆ ของน้ำลายมาเกาะที่ตัวฟัน
คราบหินปูน เกิดขึ้นได้อย่างไร?
หินปูนเกิดจากการตกตะกอนของแคลเซียม และฟอสเฟต ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่มีอยู่ในน้ำลาย ขณะที่เรากำลังทานอาหาร โดยเฉพาะอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ที่มีแป้ง และน้ำตาล แล้วเราทำความสะอาดฟันไม่เพียงพอ แบคทีเรียที่อยู่ในปากของเรา ก็จะใช้น้ำตาลที่ติดอยู่ตามซอกฟันของเราเป็นแหล่งพลังงาน เพื่อสร้างกรด และสารพิษ
หากปล่อยทิ้งไว้นานๆ แคลเซียมในอาหารก็จะเข้ามาเกาะรวมอยู่ด้วย จนทำให้เกิดเป็นคราบแข็งที่ติดแน่นมาก จนกลายเป็นหินปูนที่เราไม่สามารถแปรงฟันออกได้ด้วยตนเองในที่สุด ต้องให้ทันตแพทย์เป็นผู้ขูดหินปูนออกให้เท่านั้น
ไม่ขูดหินปูนออกจากฟันได้ไหม?
บางคนไม่อยากไปขูดหินปูนออกจากฟัน เพราะไม่อยากเสียเงิน แต่หากปล่อยให้หินปูนมาเกาะที่ฟัน หรือทับถมเพิ่มขึ้นนานๆ เข้า ก็จะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดฟันผุได้ และยังอาจลามไปถึงเหงือกอักเสบ หรืออาจถึงขั้นทำลายรากฟัน จนอาจต้องทำรากฟันเทียม ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายมากกว่าการไปขูดฟันหลายเท่านัก
ป้องกันการเกิดคราบหินปูนได้อย่างไร?
หากเราแปรงฟันให้ถูกวิธี เราก็จะป้องกันการเกิดคราบหินปูนได้ เราควรแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ใช้ไหมขัดฟันหลังการแปรงฟัน รวมถึงการไปพบหมอฟันทุกๆ 6 เดือน เพื่อขูดเอาหินปูนออก