รอยสักกับนักบวช เปิดตำราพระวินัย ข้อห้ามที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้มีอะไรบ้าง ?
มีดราม่าใน social เรื่องรอยสักวันก่อนนะครับ ว่ามีคนชื่อทศพร มาขอ "บวชแก้บน"ที่วัดทวีการะอนันต์ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี แต่พระอุปัชฌาย์ (พระครูมงคลกิจจารักษ์) ท่านไม่บวชให้ เพราะสักทั้งตัวทั้งใบหน้า ญาติโยมที่ไหนอยากจะใส่บาตร http://winne.ws/n18527
มีดราม่าใน social เรื่องรอยสักวันก่อนนะครับ ว่ามีคนชื่อทศพร มาขอ "บวชแก้บน"ที่วัดทวีการะอนันต์ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี แต่พระอุปัชฌาย์ (พระครูมงคลกิจจารักษ์) ท่านไม่บวชให้ เพราะสักทั้งตัวทั้งใบหน้า ญาติโยมที่ไหนอยากจะใส่บาตร(https://goo.gl/Hsz9Pj) แล้วทีนี้เขาก็เลยไปตัดพ้อออก social ว่า คนสักเป็นคนดีไม่ได้เหรอ ทำไมไม่ให้โอกาส ทำไมไม่ดูที่จิตใจล่ะ (ใครจะเห็นเนี่ย ?)
ซึ่ง social ก็ดราม่ากันตามเคย บางท่านก็บอกว่าดีแล้ว พระอุปัชฌาย์ตัดสินใจเหมาะสมแล้ว เพราะรอยสักขนาดนี้อย่าบวชเลย สักขนาดนี้ดูน่ากลัวไม่เหมาะกับพระ ไม่เป็นที่น่าเลื่อมใส บางท่านอาจคิดว่าไม่เมตตา แค่รอยสักเองมันก็แค่ภายนอก คนสักก็ไม่ได้ต้องเป็นคนไม่ดีเสมอไปนะ พระพุทธเจ้ายังบวชให้องคุลีมาลได้เลย เป็นพระต้องให้โอกาสคนกลับใจสิ บางคนบอกให้สึกไปเลยเพราะไม่เมตตา ว่าไปโน่น ฯลฯ
................................................................
แต่ถ้าลองฟังคลิปนี้ จะทราบเลยนะครับ ว่าเหตุการณ์นี้เกิดจากการลัดขั้นตอนของเขาเองจากความไม่ตั้งใจ ( https://youtu.be/7aSyT_ZL7dU )
................................................................
เพราะที่เขาคุยไว้คือคุยกับเจ้าอาวาสซึ่งเป็นคนอนุญาต แต่เขาไม่ได้คุยกับพระอุปัชฌาย์ ซึ่งเป็นพระคนละรูปกัน ทีนี้เจ้าตัวก็นึกไปเองว่าได้บวชแน่ ๆ เลยเตรียมข้าวของ และนัดคนมาที่วัดหวังว่าจะได้บวชเต็มที่ แต่กลับไม่ได้บวช เพราะพระอุปัชฌาย์ท่านไม่ยอมรับเรื่องรอยสัก
คือคนสักก็เป็นคนดีได้ครับ คนไม่ได้สักก็เป็นคนไม่ดีได้เช่นกัน แต่ใครจะไปรู้ว่าเป็นคนดีหรือไม่ เพราะถ้าเป็นคนไม่ดีมาบวชก็เสื่อมเสียพระศาสนาอีก เรื่องคนดีไม่ดีก็ประเด็นหนึ่ง แต่เรื่องรอยสักก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ว่าเหมาะสมหรือไม่ ดังนั้นเพื่อกันการครหาหลวงพ่อพระอุปัชฌาย์ท่านก็เลยไม่บวชให้ และเพราะเห็นว่าเป็นเพียงการบวชแก้บน ซึ่งท่านก็เห็นว่าไม่ได้เป็นวัตถุประสงค์ในพระพุทธศาสนา แต่ถ้าจะไปบวชที่อื่นท่านอาจจะบวชให้ก็ได้
................................................................
ซึ่งข่าวเรื่องรอยสัก ทีแรกแสนดีก็ไม่ได้สนใจนะครับ จนมาเจอคอมเม้นจำนวนหนึ่ง ประมาณว่าไปบวชที่วัดพระธรรมกายสิ บวชง่าย มีรอยสักก็รับ (ประมาณว่ารับหมดเน้นปริมาณ) บางคนก็ว่า ขนาดเก่งลายพรางยังมาบวชที่วัดนี้เลย เจอบิดเบือนมาก็เลยเขียนขึ้นมาชี้แจงนะครับ เพราะที่จริงเก่งลายพราง บวชวัดลาดปลาเค้า (ปี 2559) (http://www.tvpoolonline.com/content/145663 )
ซึ่งที่วัดพระธรรมกาย ก็มีข้อกำหนดเรื่องการสักนะครับ ว่าไม่ให้มีรอยสักขนาดใหญ่นอกร่มผ้า ยิ่งถ้าสักทั้งตัวขึ้นถึงหน้านี่คงไม่รับล่ะครับ เข้าไปดูรายละเอียดได้นะครับ เผื่อใครสนใจอยากบวชที่วัดพระธรรมกาย และจะได้รู้ว่าเป็นอย่างไร บวชฟรีครับ
ข้อกำหนดเรื่องการบวชวัดพระธรรมกาย
อ่านต่อ http://www.dmycenter.com
ทีนี้ประเด็นคือ คนมีรอยสักจะบวชได้ไหม เพราะบางวัดก็บวชได้ บางวัดก็ไม่ให้บวช ไม่ใช่ว่านึกจะบวชแล้วจะต้องได้บวชเสมอไปนะครับ ทุกอย่างมันมีกติกาว่า
1. พระวินัยว่าอย่างไร (มีรายละเอียดแต่ยาว เลยยกไปไว้ด้านล่างนะครับ)
2. กฎระเบียบของวัดนั้น
3. มติของสงฆ์ และพระอุปัชฌาย์
คือในการบวช พระวินัยไม่ได้มีข้อห้ามเรื่องรอยสักที่เป็นลวดลายแบบปัจจุบัน แต่มีระบุแน่ ๆ เรื่องของลายสักนักโทษที่สักไว้ว่า คน ๆ นี้เคยต้องโทษ ถ้าอุปัชฌาย์บวชให้จะต้องอาบัติทุกกฏ ชัดเจนนะครับ ซึ่งจะเห็นได้ว่า เรื่องของการสักหมายโทษ... และแม้คนมีรอยเฆี่ยนด้วยหวาย..ก็ยังทรงไม่ให้บรรพชาแม้เป็นเณรเลยครับ เนื่องจากบุคลิกภาพภายนอก ที่ไม่ยังความน่าเลื่อมใสศรัทธา แต่ในปัจจุบันบางอย่างก็ผ่อนปรนบ้าง หากเป็นการบวชระยะสั้นนะครับ
แต่ถ้าเป็นเรื่องของการสักลวดลาย ก็อยู่ที่กฎระเบียบของวัดนั้น และความเห็นพระอุปัชฌาย์เป็นหลัก ว่าท่านจะให้บวชหรือเปล่า อันนี้แล้วแต่วัด ถ้าอยากบวชก็ไปบวชวัดที่เขาให้มีรอยสักได้สิครับ (ลองไปขอบวชวัดอ้อใหญ่ แถวนครปฐมไหมครับ ที่นั่นมีราดอึด้วยน๊า)
ส่วนประเด็นที่ว่าบวชจะได้กลับตัวเป็นคนดี ดูองคุลีมาลพระพุทธเจ้ายังบวชให้เลย คืออยากจะบอกว่า องคุลีมาลก็ไม่ได้มีรอยสักขนาดใหญ่ และนอกจากพระพุทธเจ้าแล้ว ใครกล้าสั่งสอนอบรมองคุลีมาลบ้างครับ มันคนละเคสกัน องคุลีมาลนั่นท่านสั่งสมบุญมามากจนจะเป็นพระอรหันต์อยู่แล้ว
วัดช่วยฝึกคนได้
แต่วัดไม่ได้เป็น
สถานดัดสันดานคนนะครับ
ถ้าเอาคนไม่ตั้งใจจริงมาบวช เดี๋ยวหากเขาทำเรื่องเสื่อมเสีย ก็ด่าพระกันอีก แล้วใครด่าล่ะครับ ก็คนในโซเชียลนี่แหละ เผลอ ๆ ก็พวกที่ออกมาด่าว่าหลวงพ่อท่านไม่มีเมตตาให้บวชนั่นแหละครับ พอมีข่าวพระไม่ดี ก็มาโทษศาสนา โทษพระอุปัชฌาย์กันอีก คนที่เชียร์ให้บวชมารับผิดชอบอะไรด้วยไหมครับ ??
................................
สรุปว่า ถ้ายังไม่ได้สัก ก็อย่าสักจะดีกว่าครับ แต่หากสักไปเยอะแล้ว ถ้าเขาไม่ให้บวช ก็ทำความดีได้นะครับ จะถือศีล 8 ไปก่อนก็ได้ ปฏิบัติธรรมก็ได้ ซึ่งถ้าอยากบวชวัดนั้นจริงๆ ก็ไปลบรอยสักดีกว่า เดี๋ยวคนใส่บาตร คนมาวัดจะตกใจเอาน่ะครับ
อย่าว่าแต่การบวชพระซึ่งควรดูให้น่าเลื่อมใสศรัทธาเลยครับ ถ้าสักขนาดนี้แม้ไปสมัครงานบางบริษัท หรือสมัครงานราชการยังยากเลยครับ วิบากกรรมแท้ ๆ เชียว เจ็บตัวตอนไปสักแล้วยังต้องเจ็บตัวไปลบออกอีกนะเนี่ย แต่ที่แน่ ๆ พระพุทธเจ้าท่านไม่สักนะครับ
น้องแสนดี
199 สัก
สักวา สักตัว ไปทั่วหน้า
ทั้งกายา ดำสลัก ทั้งสักสี
ถ้าบวชกาย ลายไป ดูไม่ดี
กราบไหว้ที ตักบาตร อาจตกใจ
ไม่ได้บวช ก็ต้อง ลองฝึกหัด
ปฏิบัติ ขัดเกลา เท่าที่ไหว
แม้บวชกาย ต้องชวด ก็บวชใจ
หรือถ้าไป ลบรอยสัก จักดีเอย
น้องแสนดี
31 สิงหาคม พ.ศ.2560
พระวินัยว่าด้วยข้อห้ามการบวช (พระวินัยปิฎก มหาวรรค)
ลักษณะของคนที่บวชพระในพระพุทธศาสนาไม่ได้
๑. ผู้ที่มีอายุไม่ครบ ๒๐ ปี บริบูรณ์
๒. อุภโตพยัญชนกะ คือ คนที่มี ๒ เพศ ได้แก่มีทั้งเพศชายและเพศหญิงในตัว
๓. ภิกขุณีทูสกะ คือ คนที่เป็นผู้ทำร้ายนางภิกษุณี
๔. เถยยสังวาสกะ คือ คนที่ลักเพศ ได้แก่ คนที่ถือเพศภิกษุเอาเอง (ปลอมบวช)
๕. ติตถิยปักกันตกะ คือ ภิกษุผู้ไปเข้ารีตเดียรถีย์
๖. มาตุฆาตกะ คือ ผู้ฆ่ามารดา
๗. ปิตุฆาตกะ คือ ผู้ฆ่าบิดา
๘. อรหันตฆาตกะ คือ ผู้ฆ่าพระอรหันต์
๙. โลหิตุปปาทกะ คือ ผู้ทำร้ายพระพุทธเจ้าแม้เพียงทำพระโลหิตให้ห้อขึ้น (ห้อเลือด)
๑๐. สังฆเภทกะ คือ ภิกษุผู้ทำให้สงฆ์แตกกัน
๑๑. เป็นบัณเฑาะก์ คือ เป็นกระเทย
๑๒. ภิกษุผู้ต้องปาราชิก แล้วต้องการกลับมาบวชใหม่
บุคคลทั้ง ๑๒ จำพวกนี้ เรียกว่า วัตถุวิบัติ ห้ามอุปสมบทเด็ดขาด
..........................................
ทรงห้ามบรรพชา (บวชเณร) คน ๓๒ จำพวก [๑๓๕] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายบรรพชาคนมือด้วน
ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
๑.) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงบรรพชา คนมือด้วน. .
๒.) ไม่พึงบรรพชา คนเท้าด้วน...
๓.) ไม่พึงคนทั้งมือทั้งเท้าด้วน...
๔.) ไม่พึงบรรพชา คนหูขาด...
๕.) ไม่พึงบรรพชา คนจมูกแหว่ง...
๖.) ไม่พึงบรรพชา คนทั้งหูขาดทั้งจมูกแหว่ง...
๗.) ไม่พึงบรรพชา คนนิ้วขาดและเท้าขาด...
๘.) ไม่พึงบรรพชา คนง่ามมือง่ามเท้าขาด...
๙.) ไม่พึงบรรพชา คนเอ็นขาด...
๑๐.) ไม่พึงบรรพชา คนมือเป็นแผ่น...
๑๑.) ไม่พึงบรรพชา คนค่อม. .
๑๒.) ไม่พึงบรรพชา คนเตี้ย...(แคระ)
๑๓.) ไม่พึงบรรพชา คนคอพอก...
๑๔.) ไม่พึงบรรพชา คนถูกสักหมายโทษ...
๑๕.) ไม่พึงบรรพชา คนมีรอยเฆี่ยนด้วยหวาย...
๑๖.) ไม่พึงบรรพชา คนถูกออกหมายสั่งจับ...
๑๗.)ไม่พึงบรรพชา คนเท้าปุก (เท้าผิดปกติตั้งแต่กำเนิด มีลักษณะผิดรูป ข้อเท้าจิกลงล่าง บิดเข้าใน และฝ่าเท้าหงายขึ้น ทำให้มีรูปร่างเหมือนไม้กอล์ฟ)...
๑๘.) ไม่พึงบรรพชา คนมีโรคเรื้อรัง...
๑๙.) ไม่พึงบรรพชา คนมีรูปร่างไม่สมประกอบ...
๒๐.) ไม่พึงบรรพชา คนตาบอดข้างเดียว...
๒๑.) ไม่พึงบรรพชา คนง่อย...
๒๒.) ไม่พึงบรรพชา คนกระจอก (ท่าทางผิดปกติ เช่น เดินเขยก ฯลฯ)...
๒๓.) ไม่พึงบรรพชา คนเป็นโรคอัมพาต...
๒๔.) ไม่พึงบรรพชา คนมีอิริยาบถขาด (เปลี้ย เคลื่อนไหวเองไม่ได้)...
๒๕.) ไม่พึงบรรพชา คนชราทุพพลภาพ...
๒๖.) ไม่พึงบรรพชา คนตาบอดสองข้าง...
๒๗.) ไม่พึงบรรพชา คนใบ้...
๒๘.) ไม่พึงบรรพชา คนหูหนวก...
๒๙.) ไม่พึงบรรพชา คนทั้งบอดและใบ้...
๓๐.) ไม่พึงบรรพชา คนทั้งบอดและหนวก...
๓๑.) ไม่พึงบรรพชา คนทั้งใบ้และหนวก...
๓๒.) ไม่พึงบรรพชา คนทั้งบอด ใบ้ และหนวก
รูปใดบรรพชาให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ห้ามบวชพระ รูปใดให้บวช
ต้องอาบัติทุกกฏ
1 กุลบุตรผู้ถูกโรค ๕ ชนิด คือ โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ(ไอเรื้อรัง) โรคลมบ้าหมู
2 ข้าราชการ (ที่ไม่ลาให้เรียบร้อย)
3 โจรผู้หนีเรือนจำ
4 โจรผู้ถูกออกหมายสั่งจับ
5 บุรุษผู้ถูกลงอาญาเฆี่ยนด้วยหวาย
6 บุรุษผู้ถูกลงอาญาสักหมายโทษ
Cr. น้องแสนดี
ที่มา: http://nongsaandee.blogspot.jp/2017/09/blog-post.html