"ครุฑยุดนาค" ตำนานลึกลับที่ ครุฑทำไมต้องจับนาคกิน ?
เมื่อพญาครุฑกลับมา ก็นำน้ำอมฤตไปไถ่ตัวมารดา แล้วออกอุบายให้พวกนาคไปชำระร่างกายก่อนดื่มน้ำอมฤต เมื่อพวกนาคหลงกล พระอินทร์ก็ฉวยเอาน้ำอมฤตกลับสวรรค์ http://winne.ws/n11221
พญาครุฑต่อสู้กับพญานาค นาคมักจะพ่ายแพ้
ตำนานในคัมภีร์โบราณของชาวฮินดู ที่เล่าขานสืบต่อกันมาระหว่าพญานาคนาคและพญาครุฑ ที่กลายเป็นศรัตรูกัน เจอกันไม่ได้ต้องทำลายห้ำหั่นจับกินเหมืิอนพังพอนกับงูเห่าเลยทีเดียว
มาฟังเรื่องราวที่ทำให้ครุฑต้องเป็นศรัตรูคู่แค้นกันที่เกิดเป็นตำนาน "ครุฑยุดนาค"
คัมภีร์ปุราณะของฮินดูเล่าถึงกำเนิดพญาครุฑไว้ว่า ครั้งหนึ่งพระทักษะปชาบดีได้ยกสิบสามนางให้พระกัศยปเทพบิดร (Kasyapa) ซึ่งธิดาสององค์ คือนางวินตา (Vinta) และนางกัทรุ (Kadru) แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน โดยนางกัทรุขอพรจากพระกัศยปให้มีบุตรเป็นนาคหนึ่งพันตัว ส่วนนางวินตาขอพรให้มีบุตรเพียงสององค์ แต่ให้มีฤทธิ์อำนาจมากกว่าบุตรของนางกัทรุ
นางกัทรุคลอดบุตรออกมาเป็นไข่หนึ่งพันฟอง เมื่อเวลาผ่านไปห้าร้อยปี ก็บังเกิดเป็นนาคหนึ่งพันตัว ส่วนนางวินตา คลอดลูกเป็นไข่สองฟอง หลังจากเวลาผ่านไปเนิ่นนานไข่ก็ยังไม่ฟักเป็นตัว นางวินตาอดรนทนไม่ไหว จึงทุบไข่ใบแรกแตก ปรากฏเป็นบุตรชายของนางยังเติบโตไม่เต็มที่ กลายเป็นที่เทพมีเพียงครึ่งองค์ ไม่มีท่อนล่าง เนื่องจากเกิดก่อนกำหนดนามว่า อรุณเทพบุตร
พระอรุณโกรธนางวินตามาก ที่ทำให้ตนพิการ จึงสาปให้ต้องไปพบเหตุการณ์ที่ทำให้นางตกเป็นทาสนางกัทรุ ห้าร้อยปี แต่ก็บรรเทาคำสาปว่า หากนางวินตาสามารถทนรอไปอีกห้าร้อยปีจนไข่อีกฟองหนึ่งฟักเป็นตัว บุตรในไข่ใบที่สองจะช่วยนางให้พ้นคำสาป
ต่อมานางวินตา และนางกัทรุแข่งพนันทายสีม้าเทียมรถทรงของพระอาทิตย์ โดยมีข้อแม้ว่าหากผู้ใดแพ้ต้องยอมเป็นทาสของอีกฝ่ายหนึ่ง นางกัทรุใช้อุบายให้นาคผู้เป็นลูกเข้าไปแทรกอยู่ในรถขนม้า เพื่อให้สีเปลี่ยนไป นางวินตาจึงแพ้พนัน กลายเป็นทาสของนางกัทรุ
หลังจากนั้นอีกห้าร้อยปี ไข่ใบที่สองก็แตกออกมาเป็นบุตรผู้มีกำลังมหาศาล มีรัศมีทองสว่างไสวกว่าพระอาทิตย์นับร้อยเท่า มีศีรษะจงอยปาก และปีกเหมือนนกอินทรี แต่ร่างกายและแขนขาเหมือนมนุษย์มีนามว่า “เวนไตย” (แปลว่า เกิดจากนางวินตา)
พญาครุฑมีศีรษะจงอยปาก และปีกเหมือนนกอินทรี แต่ร่างกายและแขนขาเหมือนมนุษย์
มื่อพญาเวนไตยเติบโตขึ้น ทราบว่ามารดาตนต้องเป็นทาสของกัทรุเพราะแพ้อุบาย จึงขอไถ่ตัวนางวินตาจากเหล่านาค พวกนาคก็ยินยอม โดยมีข้อแม้ว่า พญาเวนไตยต้องไปเอาน้ำอมฤตที่พระอินทร์เก็บรักษาไว้บนสวรรค์มาให้พวกตน
พญาเวนไตยตกลง โดยก่อนออกเดินทางได้ขอพรจากมารดา ซึ่งนางวินตาบอกว่า ระหว่างทางหากหิว ให้กินเฉพาะคนป่าเถื่อน (นิษาท) และห้ามทำอันตรายพวกพราหมณ์โดยเด็ดขาด พญาเวนไตยก็รับคำมารดา
ในระหว่างทางเมื่อเกิดความหิวก็จับพวกนิษาทกินเป็นอาหารแต่ก็ไม่อิ่ม จึงไปจับเต่า (วิภาวสุ) และช้าง (สุประตึกะ) ซึ่งเดิมเป็นอสูรพี่น้อง แต่เกิดความโลภแย่งสมบัติกัน ต่างฝ่ายต่างสาปให้กลายเป็นเต่าและช้างที่มีขนาดใหญ่โตมาก พญาเวนไตยเอาปากคาบสัตว์ทั้งคู่บินไปเกาะกิ่งไทรที่มีความยาวถึงหนึ่งร้อยโยชน์ แต่กิ่งไทรทานน้ำหนักไม่ไหว หักลงมา พญาเวนไตยแลเห็นว่าบนกิ่งไทรมีพวกฤาษีแคระซึ่งเรียกว่า “พาลขิยะ” มีขนาดเท่านิ้วมือ จึงเอาเท้าจับกิ่งไทรบินพาไปวางไว้ที่เขาเหมกูฏ
พวกฤๅษีเห็นว่าพญานกตนนี้มีจิตใจงดงาม จึงให้ชื่อว่า “ครุฑ” (Garuda ภาษาเดิมอ่านว่า คะ-รุ-ทะ) แปลว่าผู้รับภาระอันหนัก ทั้งยังให้พรว่า ไม่ว่าจะทำสิ่งใดให้สำเร็จตามประสงค์ และให้มีพละกำลังมหาศาล ไม่มีผู้ใดต้านทานได้
พญาครุฑเป็นพาหนะของพระนารายณ์
จากนั้น พญาครุฑก็บินไปยังเทวโลก นำน้ำอมฤตออกมา พระวิษณุหรือพระนารายณ์เสด็จมาพบเข้าจึงจู่โจมเข้าหากัน แต่ต่างไม่สามารถเอาชนะกันได้ พระนารายณ์ทรงพอพระทัยจึงทรงให้พรตามที่พญาครุฑต้องการ พญาครุฑขอพรสองประการคือ ขอเป็นพาหนะให้พระวิษณุในเวลาเสด็จไปยังที่ต่างๆ แต่ในยามปกติขออยู่เหนือพระวิษณุ และขอให้มีความเป็นอมตะแม้จะไม่ได้ดื่มน้ำอมฤตก็ตาม พระวิษณุก็ทรงให้พรตามที่ขอ และยังทรงอนุญาตให้สามารถจับนาคกินเป็นอาหารได้ ยกเว้น “เศษะนาค” และ “นาควาสุกรี” ซึ่งเป็นผู้เคารพในพระองค์
ด้วยเหตุดังกล่าว พญาครุฑจึงเป็นเทพพาหนะของพระวิษณุ ในยามที่เสด็จไปยังที่ต่างๆ ส่วนในยามปกติพญาครุฑจะอยู่บนเสาธงนำขบวนของพระวิษณุ เรียกว่า “ครุฑธวัช”
พระอินทร์หรือท้าวอัมรินทร์เทวาธิราชผู้ปกครองภพดาวดึงส์
หลังสงครามครุฑยุดนา ครุฑมักจับนาคกินเป็นอาหาร
เมื่อพญาครุฑออกเดินทางต่อ ปรากฏว่าพระอินทร์ตามมาแย่งน้ำอมฤตคืน เกิดสู้รบกัน พระอินทร์สู้ไม่ได้ จึงทำสัญญาเป็นมิตรกัน พญาครุฑบอกให้พระอินทร์ตามไปเอาน้ำอมฤตคืนหลังจากที่ตนส่งน้ำอมฤตให้พวกนาคแล้ว
เมื่อพญาครุฑกลับมา ก็นำน้ำอมฤตไปไถ่ตัวมารดา แล้วออกอุบายให้พวกนาคไปชำระร่างกายก่อนดื่มน้ำอมฤต เมื่อพวกนาคหลงกล พระอินทร์ก็ฉวยเอาน้ำอมฤตกลับสวรรค์
ครุฑและพญานาคจึงเปิดฉากต่อสู้กัน แต่แล้วพญานาคก็ต้องพ่ายครุฑอยู่ร่ำไป จนเกิดเป็นตำนาน “ครุฑยุดนาค”มาจวบจนทุกวันนี้
ขอบคุณภาพและเนิ้อหาจาก
www.google. co.th