ย้อนชม...ธนบัตรในรัชสมัย"ในหลวง รัชกาลที่9"
ตั้งแต่เกิดมาเราก็อาจจะคุ้นภาพธนบัตรที่มีพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและพระมหากษัตริย์ในรัชกาลอื่นๆ แต่เชื่อว่ามีธนบัตรบางฉบับที่หลายๆ คนอาจไม่เคยคุ้นหรือผ่านตามาก่อน http://winne.ws/n9571
วันนี้จึงจะนำธนบัตรฉบับแรกๆ ในรัชสมัยที่ 9 มาให้ทุกคนได้ชมกัน โดยก่อนหน้าที่ระบบการเงินของไทยจะเป็นธนบัตร ได้นำมาใช้ร่วมกับเงินตราชนิดอื่นๆ ในระบบการเงินของประเทศไทยได้ใช้หอยเบี้ย ประกับ (ดินเผาที่มีตราประทับ) เงินพดด้วง ปี้กระเบื้อง และเหรียญกษาปณ์เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน และถูกเปลี่ยนมาเป็นหมาย อัฐิกระดาษ บัตรธนาคาร เงินกระดาษหลวง แล้วธนบัตรในปัจจุบันนั่นเอง
ธนบัตรฉบับนี้ มีรูปแบบคล้ายกับธนบัตรแบบ ๔ แต่เปลี่ยนพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์เป็น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (ร.9) ด้วยเหตุที่ธนบัตรแบบเก้า มีระยะเวลาการนำออกใช้นานกว่า ๒๐ ปี ประชาชนจึงคุ้นเคยกับสีของธนบัตรแต่ละชนิดราคาจนยากที่จะเปลี่ยนแปลงได้ จึงอาจกล่าวได้ว่า สีของธนบัตรแบบเก้า เป็นต้นแบบของการกำหนดสีของธนบัตรในปัจจุบัน
หลังจากนั้นรัฐบาลจึงได้เปลี่ยนแบบธนบัตรชนิดราคา 100 บาทใหม่ เนื่องจากถูกปลอมแปลงเป็นจำนวนมาก ซึ่งด้านหน้าเชิญพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเป็นภาพประธาน ส่วนด้านหลังเป็นภาพเรือสุพรรณหงส์ และกำหนดให้พิมพ์สอดสีหลายสีและพิมพ์เส้นนูนสีน้ำเงินเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งสี
เป็นธนบัตรแบบที่มีเอกลักษณ์ความเป็นไทยมากขึ้น ด้วยการนำลายไทย สถาปัตยกรรมไทย ซึ่งมีลักษณะโดดเด่นเป็นศิลปะประจำชาติมาเป็นองค์ประกอบสำคัญของธนบัตร นอกจากนี้ ยังมีลักษณะสำคัญคือ ภาพประกอบด้านหน้ามีความสัมพันธ์กับภาพประธานด้านหลัง
เป็นธนบัตรที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแผ่พระเกียรติคุณของสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าที่ได้รับการถวายพระราชสมัญญาภิไธย "มหาราช" จึงได้เชิญพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระมหากษัตริย์ที่ได้รับการเทิดพระเกียรติดังกล่าว มาเป็นภาพประธานด้านหลังของธนบัตร
ธนบัตรฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อร่วมเฉลิมฉลองงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี จึงนำภาพเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่สำคัญ ๆ นับแต่แรกสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวง และการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยมาเป็นภาพประธานด้านหลัง
ธนบัตรฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์แห่งพระราชวงศ์จักรี ที่ทรงพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ
ธนบัตรฉบับนี้ยังคงมีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์แห่งพระราชวงศ์จักรีที่ทรงพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ และเป็นแบบที่เริ่มปรับขนาดความกว้างของธนบัตรให้เท่ากันทุกชนิดราคา เพื่อความสะดวกในการพกพา
และธนบัตรปัจจุบัน เป็นธนบัตรที่ลักษณะคล้ายกับฉบับด้านบน และเป็นฉบับที่เราคุ้นตากันอยู่แล้ว มีจุดมุ่งหมายเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ ที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณูปการแก่ประเทศชาติ
ขอบคุณข้อมูลและภาพ : ธนาคารแห่งประเทศไทย