บ้านวัดตะโหนดแหล่งชุมชนตัวอย่าง ไทยพุทธ มุสลิม อยู่ด้วยกันอย่างสันติ
หลังจากที่มีกระแสข่าวในโลกโซเซียลออกมาในขณะนี้ถึงกรณีของ มัสยิดวัดตะโหนด ได้ยึดที่ธรณีสงฆ์มาเป็นวัดหรือไม่ เกิดข้อสงสัยถึงกับหลายคนถึงมีอคติกับข่าวที่เสนอเพียงด้านเดียว http://winne.ws/n5403
หลังจากที่มีกระแสข่าวในโลกโซเซียลออกมาในขณะนี้ถึงกรณีของมัสยิดวัดตะโหนด ได้ยึดที่ธรณีสงฆ์มาเป็นวัดหรือไม่ เกิดข้อสงสัยถึงกับหลายคนถึงมีอคติกับข่าวที่เสนอเพียงด้านเดียวซึ่งไม่ได้ศึกษาข้อเท็จจริงให้ถ่องแท้วันนี้ทีมงานข่าวทั่วไทยจึงได้นำข้อเท็จจริงมาไขความกระจ่างกัน
คำว่า“วัดตะโหนด” หรือ “วัดโหนด” เป็นชื่อที่ใช้เรียกว่า “บ้านวัดตะโหนด” หรือ“บ้านวัดโหนด” หมู่ที่ ๑ ตำบลโมคลาน อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
ตามคำบอกเล่าจากผู้ที่เคยไปลงดูในพื้นที่ระบุ “มัสยิดวัดตะโหนด" เป็นมัสยิดมานานมากแล้ว ไม่ต่ำกว่า 200 ปี แล้วพื้นที่ตั้งมัสยิดปัจจุบันไม่ใช่ที่ตั้งวัดตะโหนดเดิม ซึ่งจากข้อมูลของกองพุทธศาสนสถาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติระบุ ตำแหน่งที่ตั้งมัสยิดวัดตะโหนด อยู่คนละตำแหน่งที่ดินวัดโหนด(ร้าง)ไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 250 เมตรโดยที่ตั้งวัดร้างปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นพื้นที่ให้เช่าเป็นบ้านคนร้านค้าไม่น้อยกว่า100 ปีแล้ว
คุณลุงคนในพื้นที่ ปัจจุบันอายุ 80 ก็เขาก็บอกว่า "เห็นอย่างนี้มาแต่เด็ก" ก็แปลได้ว่าพื้นที่ตรงนี้แม้คนยุคก่อนก็ไม่ทราบประวัติตรงนี้มากนักเพราะโตมาก็เป็นแบบที่เราเห็นปัจจุบัน ไม่ได้เกิดมาเมื่อ 10 หรือ 20 ปีที่ผ่านมาอย่างแน่นอน
นายกอบต.ผู้ใหญ่บ้าน โต๊ะอิหม่าม และผู้อาวุโสในหมู่บ้านที่นั่นเขายังบอกอีกว่าที่ชื่อ “บ้านวัดตะโหนด” เพราะอยากอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ว่าแถวนี้เคยเป็นวัด เขาพูดแบบปรารถนา ไม่อยากให้สูญหายไป
สำหรับบทกลอนที่เขียนขึ้นกล่าวสาธยายประวัติศาสตร์ของชุมชนบ้านวัดตะโหนด ซึ่งในเนื้อหาอาจตีความแยกเป็นสองทางนั้น ได้รับการยืนยันจากคนในพื้นที่ว่าบทกลอนดังกล่าวไม่ได้แต่งขึ้นในสมัยยุคสร้างชุมชนนี้ เป็นการเขียนขึ้นมาโดยผู้หวังดีท่านนึงเป็นลูกหลานในพื้นที่ อยากเขียนประวัติศาสตร์ ที่พอมีเค้าโครงทางประวัติศาสตร์บ้างแต่ไม่ได้ถูกต้องทั้งหมด เพราะกลอนนี้ถูกแต่งมาเมื่อ 20กว่าปีนี้เอง ซึ่งคนแต่งก็ได้เสียชีวิตไปแล้วและไม่ทราบว่ากลอนนี้ต่อมาจะกลายเป็นบทที่คนในยุคใหม่ตีความและวิพากษ์วิจารณ์เป็นสองทาง
โดยที่แท้จริงแล้วการอยู่ร่วมกันของชุมชนแห่งนี้ได้อยู่ร่วมกันโดยสันติมาตลอด 200 ปีทั้งไทยพุทธและอิสลาม ดั่งเรื่องนึง เช่นแม้ร้านชาวพุทธที่มีชาวมุสลิมมาช่วยในร้าน พอวันศุกร์ที่มีพิธีกรรมทางศาสนาเจ้าของร้านก็ให้ลูกน้องไปทำพิธีได้อย่างสะดวก ไม่มีการกีดกัน
การอยู่ร่วมกันของคนที่นี่ถือหลักให้ความเคารพและนับถือซึ่งกันและกันทำให้วันนี้ “บ้านวัดตะโหนด” เป็นชุมชนต้นแบบของความรักใคร่สามัคคีของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติบนผืนแผ่นดินด้านขวานทอง เมืองนครศรีธรรมราชแห่งนี้
สำหรับประวัติการตั้งถิ่นฐาน และชุมชนมุสลิมที่เข้ามาในจังหวัดนครศรีธรรมราช นาย มาโนชญ์ พัชนี ได้กล่าวไว้ไนบทความ “เรื่องชุมชนมาลายูในจังหวัดนครศรีธรรมราช”(สารนครศรีธรรมราช 2550 :82) โดยสรุปว่า“มุสลิมส่วนใหญ่ที่ตั้งถิ่นฐานในจังหวัดนครศรีธรรมราชมีเชื้อสายมาลายูอพยพมาจากหัวเมืองมาลายูแถบเมืองกะลันตันปัตตานีและ เคดาห์ หรือไทรบุรี ถูกต้อนมาจากหัวเมืองมาลายูปัตตานีไปตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ต่างๆทั้งในกรุงเทพฯและจังหวัดต่างๆในภาคกลาง ส่วนภาคใต้ก็มีจังหวัดสุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช
ด้วยผลมาจากการสงครามระหว่างสยามกับหัวเมืองมาลายู ในปี พ.ศ.2329- 2334 ในอดีตเกือบ 200 ปี เมื่อเมืองเคดาห์และเมืองไทรบุรี ถูกยึดครองโดยกองทัพไทยในปี พ.ศ.2364 และ 2382 หลังจากนั้น เมืองเคดาห์ถูกแบ่งเป็น4 หัวเมือง คือ เมืองเคดาห์หรือไทรบุรี กูบังบาซู เปอร์ลิส สตูล และนครศรีธรรมราช
จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นหัวเมืองเอกของภาคใต้ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเลยมีมุสลิมจากเมืองสตูล เปอร์ลิส และเคดาห์มาตั้งถิ่นฐาน และจากการบอกเล่าของผู้อาวุโสก่อนๆ ที่ได้รับการบอกเล่าสืบทอดกันมาว่ามุสลิมรุ่นแรกๆ ได้ตั้งถิ่นฐานแถบ บ้านหน้าเมือง ตลาดแขก ตาบลคลัง (ปัจจุบันอยู่ในเขตเทศบาลเมือง) ตำบลนาเคียน ตำบลปากพูน ตำบลท่าเรือ ตำบลปากพูน (ในเขตอาเภอเมือง) และบ้านโคกยาร่วง ตำบลโมคลาน บ้านกลาง ตำบลโพธิ์ทอง (ในเขตอาเภอท่าศาลา) เป็นข้อสังเกตว่าส่วนใหญ่มุสลิมได้ตั้งถิ่นฐานในภาคตะวันออกริมชายฝังทะเลอ่าวไทย และในเขตอาเภอเมือง แต่ต่อมาได้ทาการขยายถิ่นฐานไปยังพื้นที่ด้านในของจังหวัด เขตอาเภอร่อนพิบูลย์ ชะอวด บางขัน และทุ่งใหญ่ มีจานวนชุมชนทั้งหมด ถึง 118 ชุมชน”ซึ่งคำบอกเล่าก็ตรงกับข้อมูลประวัติศาสตร์ข้างต้น คนในชุมชนที่ว่า “บ้านวัดตะโหนด” ได้ย้ายถิ่นฐานมาจากรัฐเคดาห์สู่ตำบลท่าศาลา อันเป็นที่ตั้งของชุนชนปัจจุบัน
แหล่งข้อมูล :
ข่าวประชาสัมพันธ์ กองพุทธศาสนสถาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
มุสลิมในจังหวัดนครศรีธรรมราช
kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2010/9188/7/Chapter3.pdf
ตำนานบ้านวัดโหนด
วัดเอ่ยวัดโหนด
ก่อนมีโบสศาลามีท่าน้ำ
มีตลาดค้าขายสันทรายงาม
เป็นเขตความรุ่งเรืองเหมือนเมืองแมน
มีสำเภามากมายหลายเชื้อชาติ
ประวัติศาสตร์ก่อนเก่าเราหวงแหน
เหล่าแขกจีนเทศไทยในต่างแดน
มุ่งสู่เคว้นเสวฉัตรวัดโหนดเรา
บ้างมีเกลือใส่สำเภาเอามาค้า
แลกเสื้อผ้าพริกขี้หนูคนอยู่เขา
มีเครื่องปั้นแผ่นอิฐผลิตเตา
เป็นดินเผาเครื่องใช้ต่างลายคราม
มีเครื่องถมนิยมใส่ในนักซัตฯ
พรามถนัดลงรักและจักสาน
เลี้ยงวัวควายลากเกวียนมาเวียนลาน
เป็นตำนานเล่าขานแต่นานมา
พระยาราชครูผู้สร้างวัด
ถางพงซัดสร้างชาติศาสนา
ตรงเนินสูงสันทรายปลายธารา
หรดีศาลาริมท่าทราย
จากอุดรเฉียงขวาราวห้าเส้น
สร้างให้เป็นเจดีย์สี่สหาย
บรรจุอัฐิบรรพชนชั้นเจ้านาย
ให้กราบไหว้บนบานแต่นานมา
อาคเนย์เสนาสนะ
กุฏิพระเรียงรายอยู่ซ้ายขวา
สมณะโพ้นบุรีศรีลังกา
นิมนต์มาจำวัดที่จัดเตรียม
แขกมาเลย์ทัพใต้ปีไข้ห่า
ยกพลมาจากเมืองไซฯหมายพึ่งเสียม
พระยาราชครูจัดอย่างทัดเทียม
ให้จัดเตรียมต้นโตนดเป็นแนวเนา
เป็นตำนานล่มสลายหายนะ
สิ้นคนพระกัปกันสันทรายเก่า
เมื่อไข่ห่าพล่าผลานประหารเอา
จึงหล่อเตาหลอมใจใต้ต้นตาล
รวมทองคำใส่พานหน้าลานวัด
สิบสองนักษัตใส่ใจอาจหาญ
พระพายพัดตัดขั้วใจเสียงใบตาล
ดังประสานเสียงสวดปวดกมล
ใบเสมาฝังขอบที่รอบโบสถ์
ขุดฝังโขตนิมิตหล้อมิฉ้อฉล
ที่เหลือหล่อต่อตายหลายพันคน
ห่านิมิตห่าฝนใต้ต้นตาล
เหลือเพียงสันทรายทรากปากผู้เฒ่า
ที่บอกเล่าความผูกแก่ลูกหลาน
ตาลโตนดต้นเดียวยังเกี่ยวนาน
เป็นปรัชญาอาหารหวานกมล
สามัคคีต่อเตือนเหมือนใบโหนด
ละความโกรธร่วมทางกันกางฝน
แล้วสืบสานเป็นทะลายอีกหลายคน
พายุฝนถาซัดหยัดยืนนาน
แกร่งเหมือนต้นทนเหมือนลูกปลูกไว้บอก
วัดตะโหนดรู้ตลอดตามเล่าขาน
วัดที่ใจวัดอะไรใยวัดนาน
จะวัดตาลวัดโหนดหรือวัดใจ
วัดโหนด...วันนี้...ไม่มีวัด
แต่ที่วัดอยากรู้จะดูไหม
วัดความดีที่สุเหร่าเขาวัดใจ
มัสยิดหลังใหญ่วัดใครกัน
หรือกลับเก่าสุเหร่าหายกลายเป็นวัด
ภัยพิบัติเหี้ยมโหดโทษมหันต์
ให้สุเหร่าเป็นที่วัดนัดพบกัน
ล้างอาถรรพ์ตำนานผ่านบาลา บัง' นี