รำลึก " พระเจ้าอโศกมหาราช " พระมหากษัตริย์ที่สำคัญยิ่งต่อพระพุทธศาสนา

พระเจ้าอโศกมหาราช เคยมีนิสัยดุร้ายโหดเหี้ยม ก่อนนับถือพระพุทธศาสนาและเป็นเอกองค์ศาสนูปถัมภกที่สำคัญยิ่งพระองค์เป็นโอรสของพระเจ้าพินทุสาร และพระนางสิริธรรม ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 184 เมื่อพระชนมายุได้ 18 พรรษา ได้รับแต่งตั้งเป็นอุปราช เมืองอุชเชนี แคว้นอวันตี http://winne.ws/n955

2.1 หมื่น ผู้เข้าชม
รำลึก " พระเจ้าอโศกมหาราช " พระมหากษัตริย์ที่สำคัญยิ่งต่อพระพุทธศาสนา

พระเจ้าอโศกมหาราช เป็นโอรสของพระเจ้าพินทุสาร และพระนางสิริธรรม ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 184 เมื่อพระชนมายุได้ 18 พรรษา ได้รับแต่งตั้งเป็นอุปราช เมืองอุชเชนี แคว้นอวันตี

พระเจ้าอโศกมหาราช (เทวนาครี: अशोकः, อังกฤษ: Ashoka the Great; พ.ศ. 240 - พ.ศ. 312 ครองราชย์ พ.ศ. 270 - พ.ศ. 311) ทรงเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโมริยะ ผู้ปรีชาสามารถพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ ทรงปกครองแคว้นมคธ มีพระราชธานีชื่อว่า ปาฏลีบุตร (ปัจจุบันเรียกว่า ปัฏนะ Patna) เป็นพระโอรสของพระเจ้าพินทุสารแห่งราชวงศ์โมริยะ พระมารดานามว่า สิริธรรม พระเจ้าอโศกมีพระโอรส และธิดา 11 พระองค์

สมเด็จพระมหาจักรพรรดิอโศกมหาราช หรือพระเจ้าอโศกมหาราช เดิมเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่โหดร้าย ชอบการทำสงครามกับแว่นแคว้นต่าง ๆ จนได้รับสมญานามว่า จัณฑาโศกราช (พระเจ้าอโศกผู้โหดเหี้ยม) แต่หลังจากที่พระองค์หันมานับถือพระพุทธศาสนา

พระองค์ก็ทรงกลายเป็นองค์เอกอัครพุทธศาสนูปถัมภก์ ผู้อุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาให้มีความเจริญรุ่งเรืองและแผ่ขยายมากที่สุดในและจากพระราชกรณียกิจมากมายนานัปการที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญด้วยอย่างแท้จริง ทำให้ภายหลังทรงได้รับการขนานพระราชสมัญญานามว่า ธรรมาโศกราช (พระเจ้าอโศกผู้ทรงธรรม)

รำลึก " พระเจ้าอโศกมหาราช " พระมหากษัตริย์ที่สำคัญยิ่งต่อพระพุทธศาสนา

ก่อนที่จะเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนา มีความดุร้ายและโหดเหี้ยมเป็นอย่างยิ่ง ได้สั่งฆ่าขุนนางที่กระด้างกระเดื่อง จำนวน 500 ใครไม่เชื่อฟัง หรือ ขัดคำสั่งของพระองค์ให้ฆ่าเสีย ในคราวหนึ่ง นางสนมกำนัลไปหักกิ่งรานกิ่ง ดอกและต้นอโศกเล่น พระองค์ทรงกริ้วมาก จึงจับนางสนมกำนัลเหล่านั้นเผาทั้งเป็น ด้วยเหตุนี้จึงได้รับฉายาว่า จัณฑาโศก แปลว่า อโศกผู้ดุร้าย ต่อมาเมื่อไปรบที่แคว้นกาลิงคะ (ปัจจุบันอยู่รัฐโอริสสา) มีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก จึงเกิดความสลดสังเวชในบาปกรรม และตั้งใจแสวงหาสัจธรรมและพบนิโครธสามเณรที่มีกิริยามารยาทสงบเรียบร้อย จึงทรงนิมนต์พระนิโครธโปรดแสดงธรรม พระนิโครธก็แสดงธรรม จึงมีความเลื่อมใสในพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ต่อมาได้ฟังพระธรรมจากพระสมุทรเถระ ทรงส่งกระแสจิตตามพระธรรมเทศนาจนเข้าถึงพระรัตนตรัย พระองค์ทรงทำนุบำรุงพุทธศาสนา เช่น ทรงสร้างวัด วิหาร พระสถูป พระเจดีย์ หลักศิลาจารึก มหาวิทยาลัยนาลันทา ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่ผนวชขณะที่ยังทรงครองราชย์อยู่ และเลิกการแผ่อำนาจในการปกครอง มาใช้หลักพุทธธรรม (ธรรมราชา) ปกครอง นอกจากนี้ พระเจ้าอโศกมหาราชยังทรงส่งสมณทูตไปเผยแพร่ศาสนา โดยแบ่งเป็น 9 สาย สายที่ 8 มาเผยแพร่ที่ สุวรรณภูมิ โดยพระโสณะและพระอุตระเป็นสมณทูต และพระองค์เป็นผู้จัดการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 3 ณ วัดอโศการาม เมืองปาฏลีบุตร

ต่อมาก็โปรดเกล้าให้สร้างบ่อน้ำ ที่พักคนเดินทาง โรงพยาบาล และปลูกต้นไม้ เพื่อจัดสาธารณูปโภคและสาธารณะตามหลักพุทธธรรม ต่อจากนั้นก็เสด็จไปพบสังเวชนียสถาน 4 แห่ง เป็นคนแรก และทรงสถาปนาให้เป็นเป็นสถานที่สักการบูชาของพุทธศาสนิกชนในเวลาต่อมา นับว่าพระองค์เป็นอัครศาสนูปถัมภ์พระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง และต่อมาพระองค์ทรงได้สมญานามว่า ธรรมาโศก แปลว่า อโศกผู้ทรงธรรม ทรงครองราชย์ได้ 41 ปี

รำลึก " พระเจ้าอโศกมหาราช " พระมหากษัตริย์ที่สำคัญยิ่งต่อพระพุทธศาสนา

บุรพกรรมชีวิตหลังความตาย

กล่าวว่าด้วยเหตุอันที่พระเจ้าอโศกมหาราช เป็นใหญ่ในชมพูทวีป เพราะได้เคยถวายน้ำผึ้งแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า กล่าวว่าด้วยเหตุอันที่พระเจ้าอโศกผูกพันกับนิโครธสามเณรเมื่อแรกภพ เพราะเมื่ออดีตชาติที่เป็นพ่อค้าขายน้ำผุ้ง เป็นพี่น้องกัน รวมทั้งพระเจ้าเทวานัมปิยะติสสะ ที่ลังกาทวีป

หลังจากที่พระเจ้าอโศกมหาราชสิ้นพระชนม์ พระองค์ก็ได้ไปบังเกิดเป็นงูเหลือม เพราะก่อนพระองค์จะสวรรคต พระองค์ทรงพระดำริที่จะถวายพระราชทรัพย์ไว้ในพระพุทธศาสนา แต่มีขุนนางมาทัดทาน พระองค์จึงเกิดจิตโทสะ เมื่อสิ้นพระชนม์ จึงได้ไปเกิดในทุคติภูมิ ต่อมาเมื่อได้ฟังธรรมจากพระมหินทเถระ พระราชโอรสซึ่งบรรลุพระอรหันต์ หลังจากงูเหลือมซึ่งก็คือพระเจ้าอโศกมหาราชได้ตายแล้ว ก็ได้ไปบังเกิดในสวรรค์ ด้วยผลบุญที่พระองค์ทรงเคยทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างใหญ่หลวงนั่นเอง

ขอบคุณ ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี http://th.wikipedia.org/wike/

รำลึก " พระเจ้าอโศกมหาราช " พระมหากษัตริย์ที่สำคัญยิ่งต่อพระพุทธศาสนา

พระราชกรณียกิจของพระเจ้าอโศกมหาราช ในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา กล่าวเฉพาะที่สำคัญ ได้แก่ การทรงสร้างมหาวิหาร 84,000 แห่ง เป็นแหล่งที่พระภิกษุสงฆ์ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย บำเพ็ญสมณธรรม และสั่งสอนประชาชน ทรงอุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่ 3 และทรงส่งพรเถรานุเถระไปประกาศพระศาสนาในแว่นแคว้นต่าง ๆ เป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองแพร่หลายไปในประเทศต่าง ๆ และทำให้ประเทศทั้งหลายในเอเซียตะวันออกมีอารยธรรมเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน

ในด้านรัฐประศาสโนบาย ทรงถือหลักธรรมวิชัยมุ่งชนะจิตใจของประชาชน ด้วยการปกครองแผ่นดินโดยธรรม ยึดเอาประโยชน์สุขของประชาชนเป็นที่ตั้ง ส่งเสริมกิจการสาธารณูปการ ประชาสงเคราะห์ สวัสดิการสังคม และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอย่างกว้างขวาง ทำให้ชมพูทวีปในรัชสมัยของพระองค์เป็นบ่อเกิดสำคัญแห่งอารยธรรมที่แผ่ไพศาลมั่นคง พระนามของพระองค์ดำรงอยู่ยั่งยืนนานและอนุชนเรียกขานด้วยความเคารพเทิดทูน เหนือกว่าปวงมหาราชผู้ทรงเดชานุภาพพิชิตแว่นแคว้นทั้งหลายได้ด้วยชัยชนะในสงคราม

พระเจ้าอโศมหาราช.(online)http://www.watkhaophrakru.com/webboard/index.php?topic=736.0.วันที่ 16 ก.ย.56

แชร์